กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรัง รพ.สต.บ้านฉลุง ตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ ๒๕๖๔
รหัสโครงการ 64-L8409-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฉลุง
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 27,086.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฉลุง.
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.725,100.035place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 103 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานสาธารณสุขชุมชน ผู้ดูแลผู้ป่วยเป็นบุคคลที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่ให้บริการด้านสุขภาพร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในชุมชน ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน โดยรูปแบบการดำเนินงานด้านสาธารณสุขแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพ หากดำเนินการครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน จะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ แข็งแรง ซึ่งปัญหาของประชาชน นอกจากการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ แล้วนั้น กลุ่มที่ป่วยด้วยโรคเรื้องรังเช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นประชากรกลุ่มหนึ่งที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ภาวะของโรคเป็นมากขึ้นและเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจส่งผลต่อการเสียชีวิตได้ ในปัจจุบัน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุง มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังอยู่จำนวน 794 ราย โดยแยกเป็นผู้ป่วยที่รักษาที่โรงพยาบาลสตูล จำนวน 372 ราย รักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุง จำนวน 424 ราย ในจำนวนที่รักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุง มีผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนแล้ว จำนวน 25 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.9 และมีผู้ป่วยที่รับการรักษาไม่ต่อเนื่องจำนวน 92 ราย คิดเป็นร้อยละ 21.7 ในกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการติดตามเพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องต่อเนื่อง การให้ความรู้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วย ในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อให้สุขศึกษา กระตุ้นการปฏิบัติตัวตามคำแนะนำและให้ไปรับบริการตามนัด เป็นกิจกรรมที่จะช่วยให้แกนนำมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความมั่นใจในการที่จะช่วยดูแลประชาชนในกลุ่มดังกล่าว ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฉลุง จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อเป็นการให้ความรู้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วยให้สามารถดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 .เพื่อให้ผู้ดูแลเข้าใจบทบาท มีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างถูกต้องและเหมาะสม 2. เพื่อให้บริการเยี่ยมบ้านและให้คำแนะนำผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือญาติมีความรู้ในการปฏิบัติตัวและมารับบริการตามนัด

ผู้ดูแลที่ผ่านการอบรม สามารถตอบคำถามได้ถูกต้อง
ร้อยละ ๗๐

-ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนได้รับการเยี่ยมบ้าน
ร้อยละ ๑๐๐
-ผู้ป่วยมารับบริการตามนัด ร้อยละ90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขั้นเตรียมการ 1.1.ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ แก่คณะทำงานและผู้ดูแลผู้ป่วย เพื่อกำหนดแนวทางร่วมกัน 1.2 จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยเรื้อรังในเขตรับผิดชอบ
1.3 ประสานวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง 1.4 จักเตรียมสถานที่และกลุ่มเป้าหมาย 2.ขั้นดำเนินการ   กิจกรรมที่ 1
  2.1 แบ่งกลุ่ม ผู้ดูแลผู้ป่วย เป็น 2 รุ่น -รุ่นที่1 หมู่ที่ 1,2,3,12  จำนวน 52 คน และคณะทำงาน 5 คน รวม 57 คน -รุ่นที่2 หมู่ที่ 4,10,11,13  จำนวน 51 คน และคณะทำงาน 5 คน รวม 56 คน   2.2 รวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในเขตรับผิดชอบ   2.3 อบรมให้ความรู้ เรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง แนวทางและวิธีการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และความดันโลหิตที่เหมาะสม การเยี่ยมบ้านที่มีประสิทธิภาพ และการลงบันทึกแบบฟอร์มการเยี่ยมบ้าน   กิจกรรมที 2 2.3 ผู้ดูแลผู้ป่วย ที่ผ่านการอบรม ออกติดตามเยี่ยมผู้ป่วยเรื้อรังที่มีปัญหาไม่ซับซ้อน
2.4 เจ้าหน้าที่ร่วมกับผู้ดูแลผู้ป่วย ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยเรื้อรังที่มีปัญหาซับซ้อน
2.5 สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการพร้อมแบบรายงานผู้ที่เข้าร่วมโครงการ (ตามภาคผนวก) ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง 3.ขั้นประเมินผล ๓.๑ แบบประเมินความรู้ก่อนและหลังดำเนินโครงการ ๓.๒ แบบสรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ดูแลผู้ป่วย มีความรู้ ความมั่นใจ และทักษะในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน สามารถให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติในการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมโรคได้อย่างเหมาะสม       2. ผู้ป่วยโรคเรื้อได้รับบริการเยี่ยมบ้านที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน
    1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและญาติมีความรู้ในการปฏิบัติตัวและมารับบริการตามนัด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2564 09:57 น.