กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อาหารปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L3315-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานสาธารณสุขสำนักปลัดเทศบาลตำบลหนองพ้อ
วันที่อนุมัติ 5 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 49,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปาณิสรา รักปาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เขตพื้นที่เทศบาลตำบลหนองพ้อ เป็นเขตพื้นที่ที่มีการดำเนินงานด้านสุขาภิบาลอาหารมาโดยตลอดระยะเวลาหนึ่งแล้วซึ่งถือว่างานสุขาภิบาลอาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้บริโภคและผู้สัมผัสอาหาร รวมทั้งผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการดำรงชีวิตในเรื่องของการบริโภคอาหาร หากอาหารมีสารปนเปื้อนอันตราย หรือสารปนเปื้อนที่อนุญาตให้ใช้ในอาหารได้แต่อาจมีปริมารที่มากเกินกว่าที่กำหนดก็ย่อมเกิดพิษภัยกับผู้บริโภค ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดี การส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพชีวิตที่ดีไม่เจ็บป่วย เป็นสิ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องสนับสนุน ควบคุม ดูแล เฝ้าระวัง และป้องกัน ให้กับประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ดี ถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย มีคุณค่า มีประโยชน์และเพื่อการพัฒนาแผงลอย/ร้านอาหารให้ถูกต้องตามแบบแผนที่ตั้งไว้ การเฝ้าระวังทางสุขาภิบาลอาหาร จึงมีความสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อติดตามสถานการณ์ และทราบแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหาร ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนอาหารและนำไปสู่ความเสี่ยงของการเกิดโรค           ดังนั้น งานสาธารณสุข สำนักปลัด เทศบาลตำบลหนองพ้อ ได้เล็งเห็นความสำคัญเรื่องสุขาภิบาลอาหารเป็นอย่างมาก เพราะที่ผ่านมาก็ได้ดำเนินการมาโดยตลอดเป็นเวลานานและสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชน ผู้บริโภคและผู้สัมผัสอาหาร รวมทั้งผู้เกี่ยวข้อง รับรู้และเข้าใจหลักการอุปโภคและบริโภคอย่างถูกต้อง เหมาะสม และส่งผลให้สุขภาวะการบริโภคอาหารสะอาด ปลอดภัย ปราศจากโรคถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร รวมทั้งเรื่องสุขาภิบาลอาหารเป็นงานหนึ่งที่อยู่ในตัวชี้วัดของการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยจึงเห็นว่าเหมาะสมมากที่จะเสนอโครงการนี้เข้ากองทุนฯ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 400 49,750.00 0 0.00
1 ก.พ. 64 - 30 ส.ค. 64 อบรมให้ความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร 400 49,750.00 -
  1. การรวบรวมข้อมูล
    • การเก็บรวบรวมข้อมูลของสถานประกอบการร้านอาหาร แผงลอย จำหน่ายอาหาร โรงอาหารในโรงเรียน โดยใช้แบบฟอร์มการตรวจของสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย
  2. การเรียบเรียบข้อมูล
  3. การวิเคราะห์ข้อมูล
  4. การแปลผล
  5. การกระจายข่าวสาร • เผยแพร่ข้อมูล อบรมให้ความรู้ให้ผู้เกี่ยวข้องนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป   ๖. ลงพื้นที่ตรวจร้านอาหารพร้อมมอบป้ายและชุดประกอบการร้านอาหาร ปัจจัยในการเฝ้าระวังสุขาภิบาลอาหาร   ในการดำเนินการเฝ้าระวังสุขาภิบาลอาหาร ควรดำเนินการให้ครบปัจจัยที่มีผลต่อความสะอาดปลอดภัยของอาหาร ซึ่งสามารถแบ่งการดำเนินการได้ 3 ด้าน ดังนี้
  6. ด้านกายภาพ หมายถึง การเฝ้าระวังปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารของสถานประกอบการด้านอาหาร ได้แก่ ร้านอาหาร แผงลอย โรงอาหาร การเฝ้าระวังทางกายภาพรวมถึงสังเกตพฤติกรรมและสุขวิทยาผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหาร เพื่อลดความเสี่ยงในการปนเปื้อน
  7. ด้านเคมี หมายถึง การเฝ้าระวังการปนเปื้อนของสารเคมีในอาหารภาชนะและอุปกรณ์ที่สัมผัสอาหารในสถานประกอบการด้านอาหาร ได้แก่ ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหาร โดยเก็บข้อมูลจากผลการตรวจตัวอย่างอาหาร และภาชนะอุปกรณ์ทางด้านเคมี การเฝ้าระวังการปนเปื้อน
  8. ด้านชีวภาพ หมายถึง การเฝ้าระวังการปนเปื้อนของเชื้อโรคในอาหาร ภาชนะอุปกรณ์สัมผัสอาหาร มือผู้สัมผัสอาหารในสถานประกอบการด้านอาหาร
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อบรมให้ความรู้แนะนำติดตามพฤติกรรมสุขลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการสุขาภิบาลอาหารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  2. ผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขาภิบาลอาหาร และนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปรุง-สัมผัสอาหาร
  3. เฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพปลอดภัยของอาหารและสถานที่จำหน่ายอาหาร
  4. ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยจากสถานประกอบการร้านอาหาร แผงลอย ในพื้นที่ ๕. ร้านอาหาร แผงลอย ได้รับการตรวจคุณภาพที่ผ่านเกณฑ์พร้อมรับป้าย CFGT
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2564 13:49 น.