กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวิทยาลัยผู้สูงอายุเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะแบบองค์รวม ประจำปี 2564
รหัสโครงการ L336325643001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลบ้านนา
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 31 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 85,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประพันธ์ สังข์ติ้น
พี่เลี้ยงโครงการ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลบ้านนา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สังคมไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากร เนื่องจากโครงสร้างประชากรของไทยมีแนวโน้มก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2543 ประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุร้อยละ 9.38 หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2553 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 11.89 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 17.51 ในปี พ.ศ. 2563 (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข 2555) ทำให้ประเทศต้องมีรายจ่ายด้านสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น ครอบครัว ต้องรับภาระในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น ขณะที่ผู้สูงอายุเองเมื่อมีอายุยืนยาวขึ้นก็ยิ่งต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การดำรงชีพ รวมถึงความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ ความพิการหรือทุพพลภาพที่เพิ่มขึ้นตามอายุและก่อให้เกิดการพึ่งพาบุคคลอื่นมากขึ้น     จากการสำรวจปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุในตำบลบ้านนา พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังมุ่งเน้นการประกอบอาชีพเพื่อสรา้งรายได้ในการดำรงชีพ ส่วนใหญ่จึงละเลยไม่สนใจการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชน ทำให้มีปัจจัยความเสี่ยงเกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ ส่งผลกระทบมีจำนวนผู้พิการหรือทุพพลภาพในผู้สูงอายุและภาวะต้องพึ่งพาบุคคลอื่นเพิ่มมากขึ้นทุกปี เทศบาลตำบลบ้านนาและศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลบ้านนา มีความตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวมและการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนให้เป็นไปตามบริบทของตำบลบ้านนาที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังประสงค์ประกอบอาชีพเพื่อหารายได้ในการดำรงชีพควบคู่กับการมีสุขภาวะที่ดี จึงร่วมประชุมออกแบบกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้สูงอายุสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน พัฒนาผู้สูงอายุให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม สามารถปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลง เป็นพลังในการพัฒนาสังคมโดย ส่งเสริมการสร้างรายได้และการมีงานทำให้ผู้สูงอายุ ควบคู่กับการเพิ่มพูนความรู้ทักษะทั้งด้านวิชาการและการใช้สื่อการเรียนรู้สมัยใหม่ให้แก่ผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาพกายใจ สังคมเพื่อให้สามารถประกอบอาชีพ พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องและสามารถช่วยเหลือสังคมชุมชน รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำความรู้และประสบกาณ์ของผู้สูงอายุที่เป็นคลังสมองของชาติทั้งภาครัฐและเอกชน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้มีความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และประเทศ จึงได้จัดทำโครงการวิทยาลัยผู้สูงอายุสร้างเสริมสุขภาวะแบบองค์รวม จำนวน 3 สาขาวิชาขึ้น ประกอบด้วย สาขาวิชากลองยาวเพื่อสุขภาพ การบริบาลคนไข้ และเกษตรอินทรีย์เพื่อต่อยอดการดำเนินงานจากโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลบ้านนาที่ได้ก่อเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2560 เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ผู้สูงอายุได้นำความรู้และความสุขอันเป็นผลให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาวะแบบองค์รวมที่ดี สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากโรงเรียนหรือวิทยาลัยไปใช้ประโยชน์ในชุมชน โดยการเป็นแกนนำกลุ่มในการให้ความรู้และส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุวัยเดียวกัน ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตนเองและดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุขและสร้างรายได้ในโอกาสต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมพื้นบ้าน

เพิ่มขึ้นร้อยละ 60

50.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ความปลอดภัยในการทำเกษตรอินทรีย์และส่งเสริมให้คนในชุมชนหันมาใส่ใจการบริโภคอาหารปลอดสารเคมีเพื่อสุขภาพ

เพิ่มขึ้นร้อยละ 60

50.00
3 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเอง การดูแลสุขภาพ คุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ

เพิ่มขึ้นร้อยละ 40

40.00
4 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ

เพิ่มขึ้นร้อยละ 50

50.00
5 เพื่อเสริมสร้างสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม

เพิ่มขึ้นร้อยละ 70

50.00
6 เพื่อส่งเสริมการสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ

เพิ่มขึ้นร้อยละ 60

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 กิจกรรมที่ 2 การเรียนการสอน/อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจฝึกปฏิบัติและปฏิบัติจริงในหมวดวิชาทักษะวิชาชีพ จำนวน 3 สาขาวิชา กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 85,800.00 0 0.00
4 ก.พ. 64 - 22 ก.ค. 64 กิจกรรมการเรียนการสอน อบรมให้ความรู้ความเข้าใจ ฝึกปฏิบัติและปฏิบัติจริงในหมวดวิชาทักาณะวิชาชีพ จำนวน 3 ขาวิชา 50 85,800.00 -
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 0 0.00
4 ก.พ. 64 - 22 ก.ค. 64 กิจกรรมที่ 1 การเรียนการสอน/อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจในหมวดวิชาทักษะชีวิต เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค จำนวน 8 รายวิชา 0 0.00 -
  1. สำรวจปัญหาความต้องการของผู้สูงอายุในตำบลบ้านนา/จัดเตรียมข้อมูล
  2. ประชุมคณะกรรมการฯ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์สังคมผู้สูงอายุทุกมิติทั้งด้านสุขภาพกาย ใจ สังคม อารมณ์และเศรษฐกิจและการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตฯ ตำบลบ้านนา
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการ/รับสมัครผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ
  4. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบ้านนา
  5. ประเมินคัดกรอง/ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการ
  6. ดำเนินงานตามโครงการ โดยจัดกิจกรรมจำนวน 12 ครั้ง เป็นไปตามหลักสูตรที่แนบมาพร้อมโครงการฯ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - กรกฎาคม 2564 (พฤหัสบดีแรก กับพฤหัสบดีที่สามของเดือน)
  7. ประเมินผลโครงการ/ประเมินคัดกรอง/ตรวจสุขภาพผู้เข้าร่วมโครงการหลังจากการจัดโครงการ
  8. บันทึกผลและรายงานการดำเนินงานของโครงการต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านนาและที่ประชุมคณะกรรมการฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีสุขภาวะแบบองค์รวมที่ดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  2. เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2564 14:14 น.