กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรม รณรงค์ การกำจัดขยะเพื่อป้องกันไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 64-L2491-2-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านโคกสยา
วันที่อนุมัติ 27 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 1 มกราคม 2564
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวธนา ฟุ้งเฟื่อง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.404,101.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 210 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาขยะเป็นสิ่งของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตและอุปโภคซึ่งเสื่อมสภาพจนใช้การไม่ได้หรือไม่ต้องการใช้บางชนิดเป็นของแข็งหรือกากของเสีย มีผลเสียต่อสุขภาพ ทางกายจิตใจ เนื่องจากความสกปรกเป็น แหล่งเพาะเชื้อโรค ทำให้เกิดมลพิษ ขยะ ซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานของโรงเรียนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนเป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธ์ของพาหะนำโรคเช่น แมลงวัน แมลงสาบ ยุง ฯลฯ เป็นแหล่งกระจายเชื้อกลิ่นเหม็นก่อให้เกิดความรำคาญทำลายสุนทรียภาพด้านสิ่งแวดล้อมและเป็นแหล่งนำเชื้อโรค ไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้าง บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรคคือยุงลาย ลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัยในสวน ขยายพันธุ์โดยวางไขในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำชัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่า กองขยะที่มีน้ำขัง หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด จากปัญหาดังกล่าว ได้เห็นความสำคัญของขยะและป้องกันโรคไข้เลือดออก เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน ครู และชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่อง ขยะ และป้องกันโรคไข้เลือดออก นำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันและ เผยแพร่ความรู้ ต่อไป เพื่อให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้จึงเสนอโครงการอบรม รณรงค์ การกำจัดขยะเพื่อป้องกันไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน ครู และชุมชชน รู้จักแยกแยะ และกำจัดขยะอย่างถูกวิธี

ร้อยละนักเรียน ครู และชุมชน รู้จักแยกแยะ และกำจัดขยะอย่างถูกวิธี

0.00
2 เพื่อให้นักเรียน ครู และชุมชน รู้จักวิธีป้องกันไข้เลือดออกได้

ร้อยละนักเรียน ครู และชุมชน รู้จักวิธีป้องกันไข้เลือดออก

0.00
3 เพื่อให้นักเรียน ครู และชุมชน นำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน และเผยแพร่ความรู้ในชุมชนได้

ร้อยละนักเรียน ครู และชุมชน นำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันและเผยแพร่ความรู้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 200 30,000.00 0 0.00
1 - 31 มี.ค. 64 กิจกรรมเดินสำรวจ(เดินก่อนเข้าแถว 08.15น.) 0 0.00 -
6 มี.ค. 64 กิจกรรมจัดอบรม นักเรียน ครู ตัวแทนชุมชนในเรื่องการกำจัดขยะเพื่อป้องกันไข้เลือดออก รุ่นที่ 1 จำนวน 50 คน กิจกรรมแยกขยะลงถัง กิจกรรมเดินรณรงค์ 50 12,900.00 -
7 มี.ค. 64 กิจกรรมจัดอบรม นักเรียน ครู ตัวแทนชุมชนในเรื่องการกำจัดขยะเพื่อป้องกันไข้เลือดออก รุ่นที่ 1 จำนวน 50 คน กิจกรรมแยกขยะลงถัง กิจกรรมเดินรณรงค์ 50 5,700.00 -
13 มี.ค. 64 กิจกรรมจัดอบรม นักเรียน ครู ตัวแทนชุมชนในเรื่องการกำจัดขยะเพื่อป้องกันไข้เลือดออก รุ่นที่ 1 จำนวน 50 คน กิจกรรมแยกขยะลงถัง กิจกรรมเดินรณรงค์ 50 5,700.00 -
14 มี.ค. 64 กิจกรรมจัดอบรม นักเรียน ครู ตัวแทนชุมชนในเรื่องการกำจัดขยะเพื่อป้องกันไข้เลือดออก รุ่นที่ 1 จำนวน 50 คน กิจกรรมแยกขยะลงถัง กิจกรรมเดินรณรงค์ 50 5,700.00 -

1.ขั้นเตรียมการ (Plan) 1.1.ประชุมคณะครู ปรึกษาหารือ เขียนโครงการ 1.2.เสนอโครงการเพื่ออนุมัติโครงการ 1.3.ประชุมชี้แจงเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงาน 2. ขั้นปฏิบัติ (Do) โครงการอบรม รณรงค์ การกำจัดขยะเพื่อป้องกันไข้เลือดออกมีกิจกรรมดังนี้ 2.1 กิจกรรมจัดอบรม นักเรียน ครู ตัวแทนชุมชน ในเรื่องการกำจัดขยะเพื่อป้องกันไข้เลือดออกจำนวน 200 คน 2.2 กิจกรรมแยกขยะลงถังตามประเภทขยะ 2.3 กิจกรรมเดินรณรงค์ การกำจัดขยะเพื่อป้องกันไข้เลือดออก ให้กับชุมชน ใกล้โรงเรียน 2.4 กิจกรรมเดินสำรวจ (เดินก่อนเข้าแถว 08.15 น.) 3.ขั้นตรวจสอบและประเมิน (Check) 1. ชักถาม 2.ตอบแบบประเมิน ขั้นแก้ไขปรับปรุง (Action) 3.สรุปผลการดำเนินการ 1.ร้ายงานผลการดำเนินงาน 2.เสนอแนวทางแก้ไขปัญหา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียน ครู และ ชุมชน รู้จักแยกขยะ และกำจัดขยะอย่างถูกวิธี ร้อยละ 100 2.นักเรียน ครู และ ชุมชนรู้จักวิธีป้องกันไข้เลือดออก ร้อยละ 100 3.นักเรียน ครู และ ชุมชน นำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันและเผยแพร่ความรู้ร้อยละ 100

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2564 11:05 น.