กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประชาสัมพันธ์และบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน
รหัสโครงการ 60-l7884-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 23 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 431,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุรีย์โทบุรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 45000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ขยะมูลฝอย ภายในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ในปัจจุบันมีสถานที่ที่เป็นแหล่งผลิตขยะเช่น ตลาดสด สถานศึกษา สถานที่ราชการ และชุมชนที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล จำนวน 19 ชุมชนมีปริมาณขยะที่เกิดขึ้น ประมาณ 40 ตัน ต่อวัน การศึกษาองค์ประกอบขยะมูลฝอยพบว่าขยะที่มีปริมาณมากที่สุดคือขยะอินทรีย์ร้อยละ 65 ขยะรีไซเคิล ร้อยละ 21ขยะทั่วไปร้อยละ 12ขยะอันตรายและอื่น ๆ ร้อยละ 2ปัจจุบันการบริหารจัดการขยะของเทศบาล คือ มีการจัดเก็บขยะมูลฝอยในถนนทุกสาย สถานที่ราชการ สถานศึกษา เป็นประจำทุกวันมีการวางถังขยะ จำนวน459ถัง มีจุดทิ้งวัสดุประเภทกิ่งไม้ วัสดุก่อสร้าง จำนวน 27 จุดมีการกำหนดการจัดเก็บขยะประเภทต่าง ๆสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น คือ มีขยะล้นถัง มีการทิ้งขยะไม่เป็นเวลา มีประชาชนจากนอกเขตเทศบาลนำขยะมาทิ้งหลังจากรถจัดเก็บไปแล้ว มีการทิ้งขยะในจุดห้ามทิ้งทิ้งขยะรวมกันทุกประเภท ทิ้งวัสดุต่าง ๆ เช่น กิ่งไม้ เศษวัสดุจากการก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ชำรุดไม่เป็นที่เป็นทาง และไม่ตรงกับวัน เวลา ที่เทศบาลไปจัดเก็บ สาเหตุเนื่องจาก
1.ประชาชนยังขาดความรู้ความร่วมมือ และความรับผิดชอบต่อการบริหารจัดการขยะ และ มีความเข้าใจว่าการบริหารจัดการขยะต้องเป็นหน้าที่ของเทศบาล ในการดำเนินงาน 2.เทศบาลเมืองปัตตานี ประชาสัมพันธ์ เรื่อง การบริหารจัดการขยะแต่ละประเภทไม่ทั่วถึง เช่นวัน เวลา ที่จัดเก็บกิ่งไม้ เก็บเศษวัสดุ ในจุดต่าง ๆการจัดการขยะอันตราย 3.เทศบาลเมืองปัตตานีขาดอุปกรณ์ ที่สนับสนุน และสร้างแรงจูงใจให้ประชาชน มีการคัดแยกขยะ และดูแลรักษาความสะอาดสถานที่สาธารณะ เช่น ถนนในชุมชน เช่น ประชาชนไม่มีจุดรวบรวมขยะอันตราย อุปกรณ์ในการดูแลรักษาความสะอาดพื้นที่สาธารณะไม่เพียงพอ 4. เทศบาลยังไม่มีการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ ที่เป็นภาษายาวี หรือภาษาท้องถิ่น ซึ่งมีประชาชนส่วนหนึ่งที่อ่านภาษาไทยไม่ออก
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการจัดการขยะต้นทาง จึงได้พยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยจัดทำแผนการจัดเก็บขยะแต่ละประเภท และดำเนินการตามแผน ส่งเสริมความรู้การจัดการขยะมูลฝอยให้กับประชาชน อำนวยความสะดวกในการให้บริการจัดเก็บขยะประเภทต่าง ๆ แต่เนื่องจากมีความจำกัดในการจัดตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ไม่เพียงพอ จึงได้จัดทำโครงการประชาสัมพันธ์และบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เพื่อขอรับงบประมาณจากเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองปัตตานี เพื่อพัฒนางานดังกล่าวให้มีความครอบคลุมเป้าหมายทั้งการสร้างความรับรู้ของประชาชน และประชาสัมพันธ์เต็มพื้นที่ เกิดการมีส่วนร่วม และประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1เพื่อจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ในการจัดการขยะมูลฝอยทุกประเภท แสดงวัน เวลาในการจัดเก็บ

จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ติดตามจุดต่าง ๆ ตามเป้าหมายร้อยละ 100 เพื่อให้ประชาชนรับรู้การบริหารจัดการขยะให้ความร่วมมือปฏิบัติตาม

2 2 เพื่อจัดทำภาชนะรองรับขยะอันตรายชุมชน

สถานที่ราชการและชุมชนตามเป้าหมายมีการคัดแยกขยะอันตราย ร้อยละ 80เพื่อเทศบาล จะได้เก็บรวบรวม และนำส่งไปกำจัดอย่างถูกวิธี

3 3.เพื่อจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ สนับสนุนให้ชุมชนดูแลรักษาความสะอาดพื้นที่สาธารณะในชุมชนของตนเอง

ชุมชนมีอุปกรณ์ในการดูแลรักษาความสะอาดในการดูแลสถานที่สาธารณะในชุมชนของตนเองอย่างเพียงพอร้อยละ 100

4 4.จัดซื้อถุงสำหรับคัดแยกขยะ ให้กับชุมชนนำร่องแบบมีเงื่อนไข

ชุมชนมีแรงจูงใจในการคัดแยกขยะ ประเภทต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าและนำมาใช้ประโยชน์

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 . สำรวจพื้นที่ในการจัดทำกิจกรรม เช่น บริเวณติดตั้งป้ายบริเวณจุดรวบรวมขยะอันตราย ฯลฯ 2.ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตามกลุ่มเป้าหมายรับทราบ และกำหนดแนวทางปฏิบัติ 3. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์การจัดเก็บขยะ การคัดแยกขยะ 4. จัดทำภาชนะรองรับขยะอันตราย วางตามจุดต่าง ๆ เช่นสถานที่ราชการ สถานศึกษา ชุมชน โดยมีผู้ดูแลรับผิดชอบ 5. แจกถุงคัดแยกขยะประเภทต่าง ๆ ให้กับชุมชนนำร่อง โดยมีเงื่อนไข ต้องนำขยะรีไซเคิล หรือ ขยะอันตรายมาแลก
6. จัดประชุมชี้แจงตัวแทนชุมชน เพื่อให้รับรู้เกี่ยวกับกิจกรรม ที่ต้องดำเนินการโดยมีส่วนร่วม 7. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยกับเทศบาลเมืองปัตตานีมากขึ้น
  2. เทศบาลเมืองปัตตานีมีวัสดุอุปกรณ์ อย่างเพียงพอ ในการสนับสนุนให้ชุมชนดูแลรักษาความสะอาดชุมชน ของตนเอง 3.ผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย และ สภาพแวดล้อม จากปัญหาขยะมูลฝอยลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2560 09:36 น.