กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพใส่ใจโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ผสมผสาน
รหัสโครงการ 64-L3321-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 4,326.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประดับวุฒิ ณ นิโรจน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2564 31 ส.ค. 2564 4,326.00
รวมงบประมาณ 4,326.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคข้อเข่าเสื่อมพบได้ในผู้สูงอายุ มีสาเหตุหลักคือความเสื่อมตามอายุการใช้งาน มีอาการปวดเข่าอาจมีเสียงในข้อ ข้อเข่าอาจจะโก่งด้านนอกหรือด้านใน ทำให้ขาสั้นลง เดินลำบากและมีอาการปวดเวลาเดิน ผู้ป่วยจะไม่สามารถเหยียดหรืองอขาได้สุดเหมือนเดิม เนื่องจากมีการยึดติดภายในข้อ ไม่สามารถรักษาให้เหมือนเดิม ดังนั้น การรักษาข้อเข่าเสื่อมจึงมีจุดประสงค์เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด ป้องกันข้อติด ป้องกันข้อโก่งงอ เป็นต้น การรักษาด้วยยาเป็นเพียงการบรรเทาอาการ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น และการกินยามากๆ จะทำให้มีผลข้างเคียงต่อกระเพาะอาหาร ตับ หัวใจ และไต ซึ่งส่วนใหญ่แพทย์จะสั่งจ่ายยาให้กับผู้ป่วยโรคข้อเพื่อรักษาตามอาการเท่านั้น เช่น การจ่ายยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ เป็นต้น ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ป่วยบางกลุ่มจะพึ่งยาเพียงอย่างเดียว โดยไม่พยายามปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตของตัวเอง ซึ่งในความเป็นจริงการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในการรักษาโรคข้อเสื่อม ส่วนการผ่าตัดนั้นจะมีทั้งผลดีและผลเสีย ซึ่งผลเสียก็คือผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหลังผ่าตัด และมีโอกาสเสียชีวิตจากการติดเชื้อได้วิธีที่ดีที่สุดคือ การดูแลตัวเองให้ดีก่อนที่จะป่วยเป็นโรคข้อเสื่อม แต่หากเป็นโรคข้อเสื่อมแล้วก็จะต้องมีการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตของตัวเอง ด้วยวิธีการลดความอ้วน ลดการใช้งานข้อ รวมถึงการหมั่นบริหารกล้ามเนื้อบริเวณรอบข้อ ซึ่งวิธีการเหล่านี้คือวิธีการแก้ไขปัญหาข้อเสื่อมที่ปลอดภัย และไม่เสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียง หรือภาวะแทรกซ้อนได้ในที่สุด
ดังนั้นเพื่อสนับสนุนโยบายของรัฐบาลและตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและเพื่อพัฒนาระบบบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคทางแพทย์แผนไทยให้อยู่ในระดับที่ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพ ใส่ใจโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน เพื่อให้ประชาชนได้มีทางเลือกในรักษามากขึ้น แบบครบวงจร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ และเพื่อความสะดวกในการเข้าถึงของผู้รับบริการมากยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1เพิ่มร้อยละของผู้ป่วยนอกได้รับบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

1 ร้อยละของผู้ป่วยนอกได้รับบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเพิ่มขึ้น

0.00
2 1เพิ่มร้อยละของผู้ป่วยนอกได้รับบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก .2 เพื่อให้อาการปวดเข่าลดลง อย่างน้อย 1 ระดับ

1 ประเมินผลจากตัวชี้วัด ร้อยละของผู้ป่วยนอกได้รับบริการแพทย์แผนไทยและแพทย์ ทางเลือก 2.แบบประเมินผลอาการปวดเข่าของผู้ป่วย

50.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 4,326.00 0 0.00
1 ต.ค. 63 - 31 ต.ค. 64 กิจกรรมพอกเข่า 0 4,326.00 -

พอกเข่าด้วยสมุนไพร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ร้อยละของผู้ป่วยนอกได้รับบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเพิ่มขึ้น .2 อาการปวดเข่าลดลงอย่างน้อย 1 ระดับ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2564 11:22 น.