กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กอ้วน โรงเรียนศรีสว่างวงศ์ ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่ 3/64 เมื่อวันที่ 28-29 มกราคม 2564
รหัสโครงการ 64-L7258-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนศรีสว่างวงศ์
วันที่อนุมัติ 28 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 66,830.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิวัฒน์ไชย สุนทรวิภาต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจและสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทำให้วิถีชีวิตของคนไทยเต็มไปด้วยความรีบเร่ง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มีผลกระทบต่อแบบแผนการบริโภคอาหารของครอบครัว และเด็กวัยเรียนเป็นอย่างมาก การบริโภค อาหารต้องอาศัยความรวดเร็วเพื่อความสะดวกต่อการดำรงชีพ ทำให้เกิดการบริโภคอาหารจานด่วน อาหารสำเร็จรูป เข้ามา มีบทบาทโดยเฉพาะกับเด็กวัยเรียน ซึ่งอาหารประเภทนี้ส่วนใหญ่ จะมีแป้ง น้ำตาล ไขมันสูง ประกอบกับความเจริญก้าวหน้า ของเทคโนโลยีที่ทันสมัย และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งการติดเกมทำให้เด็กวัยเรียนมีการเคลื่อนไหวและออกกำลัง กายน้อยลง องค์ประกอบเหล่านี้ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคอ้วน อันตรายของการเกิดโรคอ้วนในเด็กกำลังเป็นปัญหาสำคัญ ในประเทศไทย จากข้อมูลระบบ Health Data Center (HDC) ของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ปี 2562 เด็กวัยเรียนมีภาวะ เริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ 12.5 และปี 2563 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 13.48 เด็กวัยเรียนที่มีภาวะอ้วนมีโอกาสเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ ได้มากกว่าปกติ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบ ขาโก่ง รวมทั้งสมาธิสั้น นอกจากนี้ในกรณีที่เด็กที่ป่วยด้วยโรคอ้วนขั้นรุนแรง มีผลกระทบต่อทางเดินทายใจ ทำให้เกิดการคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คือทำให้ เกิดกลุ่มอาการ Pichwikian syndrome ส่งผลขัดขวางต่อการเรียนหนังสือ ทำให้ง่วงนอนทุกครั้งที่นั่งเรียน เนื่องจากโรงเรียนศรีสว่างวงศ์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบว่า สถานการณ์แนวโน้มของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะอ้วน และ เริ่มอ้วนของเด็กนักเรียนในปีการศึกษา 2562 ร้อยละ 21.04 และโรงเรียนได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน หลักประกันสุขภาพเทศบาลนครหาดใหญ่ ในการจัดโครงการ "โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กอ้วน” และจากการซึ่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่ 1-6 ประจำการศึกษา 2563 พบว่ายังมีนักเรียน ที่ภาวะโภชนาการเริ่มอ้วนและอ้วน คิดเป็นร้อยละ 12.26 ซึ่งยังสูงกว่าเป้าหมายของกระทรวงสาธารณะสุขที่กำหนดตัวชี้วัด เด็กวัยเรียนมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนไม่เกินร้อยละ 10 กิจกรรมการออกกำลังกายด้วยการเล่น ฮูลาฮูป เป็นการออกกำลังกายที่เน้นการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อบริเวณ หน้าท้องและเอว ช่วยให้การลดไขมันหน้าท้องเห็นผลได้เร็วขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องมีความสม่ำเสมอ และทำควบคู่ไปกับการทาน อาหารประเภทผักผลไม้ ก็จะทำให้การลดหน้าท้องเห็นผลได้เร็วยิ่งขึ้น และทำให้เด็กสนุกสนานมีแรงจูงใจมากยิ่งขึ้น โรเรียนศรีสว่างวงศ์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีความตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาภาวะอ้วน และ เริ่มอ้วนในเด็กนักเรียน จึงได้จัดโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กอ้วน เพื่อให้เด็กนักเรียนมีพฤติกรรสุขภาพและการดูแลสุขภาพ กรบริโภคอาหาร และการออกำลังกายที่เหมาะสมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้ผ่านการคัดกรองภาวะโภชนาการ

ร้อยละ 100 ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่1-6 ทุกคนได้ผ่านการคัดกรอง (โดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง)

0.00
2 เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจด้านการบริโภคอาหาร และมีทักษะในการออกกำลังกาย เพื่อลดน้ำหนักที่ถูกต้อง

ร้อยละ 90 ของนักเรียนและผู้ปกครองของนักเรียนที่มี ภาวะเสี่ยง ได้รับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

0.00
3 เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องให้กับนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์โดยใช้กิจกรรมฮูลาฮูป

ร้อยละ 100 ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่1-6 ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ ได้ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง

0.00
4 นักเรียนที่มีภาวะอ้วนและเริ่มอ้วนมีภาวะโภชนาการที่ลดลง หรือมีน้ำหนักลดลง

ร้อยละ 30 ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีภาวะเริ่มอ้วนไม่เกินเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
13 ก.พ. 64 - 31 ส.ค. 64 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกิณฑ์ 230 32,580.00 32,580.00
13 ก.พ. 64 - 31 ส.ค. 64 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 0 450.00 450.00
13 ก.พ. 64 - 31 ส.ค. 64 กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงาน 0 200.00 200.00
13 ก.พ. 64 - 31 ส.ค. 64 กิจกรรมออกกำลังกายต่อเนื่อง 115 3,600.00 3,600.00
13 ก.พ. 64 - 31 ส.ค. 64 กิจกรรมซื้อวัสดุและครุภัณฑ์ 0 30,000.00 30,000.00
รวม 345 66,830.00 5 66,830.00
  1. ขั้นวางแผน 1.1 ประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหา และรูปแบบวิธีการดำเนินโครงการ 1.2 แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามแผนงาน/โครงการ 1.3 จัดทำโครงการเพื่อขออนุติต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครหาดใหญ่
  2. ขั้นดำเนินการตามแผน 2.1 คัดกรองนักเรียน โดยการซึ่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง เทียบเกณฑ์การเจริญเติบโตตามเกณฑ์กรมอนามัย 22 จัดทำข้อมูลนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ เพื่อเตรียมความพร้อมและให้ความรู้ในการเข้าร่วมโครงการ 23 จัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนและผู้ปกครองที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ 24 จัดกิจกรรมออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องให้แก่นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ เป็นเวลา 7 เดือน โดยใช้กิจกรรม "ฮูลาฮูป"
  3. ขั้นติดตาม/ประเมินผล 3.1 ติดตามผลด้วยการชั่งน้ำหนัก -วัดส่วนสูง เดือนละ 1 ครั้ง 32 ติดตามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และดูการเปลี่ยนแปลงค่าน้ำหนักตัวเปรียบเทียบก่อน -หลังดำเนินการ 3.3 มอบรางวัลให้กับนักเรียนที่มีผลการลดน้ำหนักได้ประสบความสำเร็จ 3.4 ประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
  4. สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน 4.1 จัดทำแบบสรุปรายงานการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนประกันสุขภาพเทศบาลนครหาดใหญ่
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดปัญหาภาวะพร่องโภชนาการอ้วน ของนักเรียนโรงเรียนศรีสว่างวงศ์
  2. นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่เหมาะสมตามวัยเพิ่มมากขึ้น
  3. นักเรียนต้นแบบในโรงเรียนสามารถขยายความรู้ด้านโภชนาการ พฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง การออกกำลังกาย พิชิตอ้วนไปสู่บุคคลในครอบครัว และชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2564 13:06 น.