กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพจิตแจ่มใส ห่างไกลโรคซึมเศร้า
รหัสโครงการ 4-L4151-1-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อบต.ละแอ
วันที่อนุมัติ 3 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 18,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสะมะแอ ยาแม
พี่เลี้ยงโครงการ นางปาสีซ๊ะ วงค์สันติศาสน์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละแอ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.466,101.186place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 18,300.00
รวมงบประมาณ 18,300.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ภาวะโรคซึมเศร้าในกลุ่มเสี่ยง
95.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคซึมเศร้า มีสาเหตุหลักเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง และสาเหตุอื่นๆ จากสภาพสังคมและการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต สังคมมีความเป็นเมือง ครอบครัวขยายเป็นครอบเดี่ยว จากเกษตรกรรมกลายเป็นอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการแข่งขันสูง ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล จนพัฒนาไปสู่ภาวะซึมเศร้าและคิดทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตายได้ เช่น ปัญหาทางสังคมเศรษฐกิจตกต่ำในกลุ่มวัยแรงงาน ปัญหาการเรียน          ความรัก ความสัมพันธ์กับเพื่อน การยอมรับจากเพื่อนในกลุ่มเด็กและเยาวชน เป็นต้น
ปัจจุบันโรคซึมเศร้า (depression) จึงกลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากสังคมโลกมากที่สุดประเด็นหนึ่ง จากการประเมินขององค์การอนามัยโลกวิเคราะห์ว่าในปี 2563 โรคซึมเศร้า จะทำให้เกิดการสูญเสียด้านสุขภาพแก่คนทั่วโลกสูงเป็นอันดับ 2 รองจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ส่วนการศึกษาในไทยปี 2557 พบว่าโรคซึมเศร้าก่อให้เกิดความสูญเสียจากภาวะบกพร่องทางสุขภาพสูงที่สุดในเพศหญิงถึงร้อยละ 12.4 ซึ่งสูงกว่าโรคทางกายทุกโรคมีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนอีกว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพิ่มความเสี่ยงของการ ฆ่าตัวตายมากกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า ในการศึกษาผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จพบว่า ร้อยละ 90 มีปัญหาสุขภาพจิตอย่างใดอย่างหนึ่งในขณะกระทำการและส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้านั่นเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจโรคซึมเศร้า

เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจโรคซึมเศร้าในกลุ่มเสี่ยง

95.00 95.00
2 2. เพื่อให้เยาวชนและประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถรับมือและจัดการความเครียด วิตกกังวลได้

เด็กเยาวชน และประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวโรคซึมเศร้าร้อยละ 95

95.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 560 18,300.00 0 0.00
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 1 สำรวจคัดกรองผู้มีภาวะซึมเศร้าและโรคซึมเศร้า 500 1,000.00 -
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 2 จัดอบรมให้ความรู้เสริมสร้างทักษะชีวิต 60 17,300.00 -

1.1 สำรวจคัดกรองผู้มีภาวะซึมเศร้าและโรคซึมเศร้า

1.2 จัดอบรมให้ความรู้เสริมสร้างทักษะชีวิต

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เยาวชนและประชาชน รู้จักและรู้เท่าทันโรคซึมเศร้า
  2. เยาวชนและประชาชน มีทักษะทางกายและใจในการรู้เท่าทันอารมณ์ความรู้สึกตนเอง (ทักษะชีวิต)
  3. เยาวชนและประชาชนสามารถรับมือและจัดการความเครียด วิตกกังวลได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2564 13:57 น.