กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกำจัดขยะเพื่อปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 64-L2491-2-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านค่าย
วันที่อนุมัติ 27 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 31,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอมร นาคปก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.404,101.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 213 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่มีรุนแรงมากขึ้นทุกวัน ส่วนหนึ่งมาจากขยะมูลฝอย ซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานของโรงเรียนอันก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน เช่น เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพาหะนำโรค เช่น แมลงวัน แมลงสาบ ยุง ฯลฯ ซึ่งได้แพร่กระจายเชื้อโรค ส่งกลิ่นเหม็นก่อให้เกิดความรำคาญและทำลายสุนทรียภาพทางด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดสภาพไม่น่าดู สกปรก น่ารังเกียจ ขยะจะส่งกลิ่นรบกวนเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคและส่งผล กระทบต่อสุขภาพของนักเรียน ตลอดจนครูและบุคลากรในโรงเรียน นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดโรคติดต่อ โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกซึ่งเป็นโรคติดต่อที่กำลังระบาดและแพร่เชื้ออย่างรุนแรงของประเทศ การป้องกันโรคไข้เลือดออกสามารถทำได้โดยการรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในสถานศึกษา ซึ่งจำเป็นต้องกระทำอย่างต่อเนื่องและจริงจังครอบคลุมทุกอาคารเรียน เพื่อตัดวงจรการแพร่ระบาดเชื้อโรคไข้เลือดออกและจะต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว โดยมีเป้าหมายคือการร่วมมือกำจัดขยะและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค ดังนั้นทางโรงเรียนควรหาวิธีการที่ให้นักเรียนมองเห็นถึงคุณค่าของขยะและมีส่วนร่วมเพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดี เห็นความสำคัญ ในการประหยัดพลังงาน โดยการนำของเสียกลับมาใช้หม่หรือรีไซเคิล ซึ่งจะทำให้สามารถลดปริมาณขยะ ลดมลพิษให้กับสภาพสิ่งแวดล้อมได้ ที่สำคัญจะช่วยจรรโลงให้โลกใบนี้มีความสดใสน่าอยู่ไปอีกนาน จากปัญหาดังกล่าว ทำให้เห็นความสำคัญของขยะและการป้องกันไข้เลือดออก โดยมีความเห็นร่วมกันที่จะให้ครูและบุคลากรในโรงเรียน รวมทั้งนักเรียนช่วยกันปรับปรุงสภาพแวดล้อม มีการเก็บและคัดแยกขยะ เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องในโรงเรียนและชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคไข้เลือดออก การมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน และการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ เพื่อให้การดำเนินงานควบคุมโรคและป้องกันโรคไข้เลือดออกประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ทางโรงเรียนจึงได้เสนอโครงการกำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคไข้เลือดออกขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปลูกจิตสำนึกให้นักเรียนมีคความรู้ความเข้าใจในการจัดเก็บขยะและการคัดแยกขยะได้ถูกวิธี

นักเรียนมีจิตสำนึกและความรู้ความเข้าใจในการจัดเก็บขยะและการคัดแยกขยะได้อย่างถูกวิธีร้อยละ80

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงในโรงเรียน

นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงในโรงเรียน ร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อลดอัตราการป่วยจากโรคไข้เลือดอก

อัตราการป่วยจากโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ 80

0.00
4 เพื่อให้บริเวณโรงเรียนมีความสะอาด ร่มรื่น สวยงาม

บริเวณโรงเรียนมีความสะอาด ร่มรื่น สวยงาม ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขั้นเตรียม (PLAN) 1.1. ประชุมวางแผน เสนอโครงการ 1.2. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ 2.ขั้นดำเนินการ (DO) 2.1. ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่ออบรมให้ความรู้แก่นักเรียนเกี่ยวกับการคัดแยกประเภทขยะที่ถูกต้องและการนำขยะไปใช้ให้เกิดประโยชน์ 2.2. กิจกรรมสาธิตการคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง 2.3. จัดซื้อถังขยะ เพื่อประเมินผลนักเรียนในการแยกประเภทขยะ โดยจัดตั้งไว้ในบริเวณโรงเรียน 2.4. จัดอบรมนักเรียนเกี่ยวกับการควบคุมโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน 2.5. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ควบคุมโรคไข้เลือดออก(แผ่นพับ) แจกจ่ายให้นักเรียน 2.6. ครูและนักเรียนร่วมกันรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุง โดยช่วยกันสำรวจภาชนะต่าง ๆ ในบริเวณโรงเรียนและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 3.ขั้นตรวจสอบและประเมิน (CHECK) 3.1. ประเมินผลการปฏิบัติงาน 3.2. สรุปผลการปฏิบัติงาน 4.ขั้นแก้ไขและปรับปรุง (ACTION) 4.1. รายงานผลการดำเนินงาน 4.2. วิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่น สวยงาม ปลอดจากขยะ และมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
  2. นักเรียนมีความ รู้และมีจิตสำนึก สามารถแยกประเภทขยะได้
  3. นักเรียนมีความรู้ และมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน
  4. โรงเรียนมีการรณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2564 14:19 น.