กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร้านขายของชำปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค
รหัสโครงการ 64-L2491-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.กะลุวอเหนือ
วันที่อนุมัติ 27 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,370.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูซีลา เปาะเต๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.404,101.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทันสมัย การโฆษณาชวนเชื่อต่างๆเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว ผู้บริโภคจึงมีความสะดวกในการชื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ โดยเฉพาะการเลือกชื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพจากร้านชำ โดยในพื้นที่ตำบลกะลุวอเหนือ มีสถานประกอบการต่างๆ เช่น ร้านแผงลอย  ร้านขายของชำ เป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ได้แก่ อาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้น และยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่น ยาผสมสารสเตียรอยด์ เครื่องสำอางมีสารอันตราย อาหารมีสารปนเปื้อน ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค จากการสำรวจร้านขายของชำในพื้นที่ตำบลกะลุวอเหนือ พบว่า ยังมีการจำหน่ายเครื่องอุปโภคบริโภคบางชนิดที่ไม่มีคุณภาพ ไม่มีอย. ผลิตภัณฑ์อาหารที่ห้ามจำหน่าย เครื่องสำอางที่ห้ามจำหน่าย ให้กับประชาชนในชุมชน และยังจำหน่ายยาบางชนิดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านชำ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือก ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอาง ที่มีคุณภาพ ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านชำ และจำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชนได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอเหนือ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของงานคุ้มครองผู้บริโภค จึงได้จัดทำโครงการร้านขายของชำปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบกิจการร้านขายของชำจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอาง และยา ได้ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐาน ส่งผลให้ประชาชนมีความปลอดภัยและเป็นการเฝ้าระวังเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้บริโภค ร้านขายของชำได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพ ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ อาหาร เครื่องสำอาง ที่มีคุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชนได้

ผู้ประกอบการสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ อาหาร เครื่องสำอาง ที่มีคุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชนได้

0.00
2 เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความรู้เรื่องประเภทของยา แต่ละชนิด และสามารถเลือกจำหน่ายเฉพาะยาสามัญประจำบ้านได้

ผู้ประกอบการมีความรู้เรื่องประเภทของยา แต่ละชนิด และสามารถเลือกจำหน่ายเฉพาะยาสามัญประจำบ้านได้

0.00
3 เพื่อพัฒนาเครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภค ที่สามารถให้ความรู้ และคำแนะนำในการเลือกใช้ ผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ประชาชน และผู้ประกอบการได้

เครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภค สามารถให้ความรู้ และคำแนะนำในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ประชาชน และผู้ประกอบการได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. ประสานงานกับบุคคล หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง
  3. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ เรื่องอาหาร ยา เครื่องสำอาง แก่ผู้ประกอบการ และเครือข่าย
    อสม. คุ้มครองผู้บริโภคตามเกณฑ์มาตรฐานร้านชำ
  4. ประชาสัมพันธ์ และขอความร่วมมือร้านขายของชำในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆอย่างเหมาะสม และมีมาตรฐาน
  5. เครือข่าย อสม.คุ้มครองผู้บริโภค ออกประเมินเบื้องต้น ให้คำแนะนำ ร้านขายของชำตามเกณฑ์มาตรฐาน
  6. ผู้รับผิดชอบงานคุ้มครองฯ รพ.สต.กะลุวอเหนือ ออกตรวจประเมินร้านขายของชำตามเกณฑ์มาตรฐาน
  7. สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ประกอบการสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ อาหาร เครื่องสำอาง ที่มีคุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชนได้ 2. ผู้ประกอบการมีความรู้เรื่องประเภทของยา แต่ละชนิด และสามารถเลือกจำหน่ายเฉพาะยาสามัญประจำบ้านได้ 3. เครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภค สามารถให้ความรู้ และคำแนะนำในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ประชาชน และผู้ประกอบการได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2564 15:37 น.