กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเลิกบุหรี่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอเหนือ
รหัสโครงการ 64-L2491-1-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.กะลุวอเหนือ
วันที่อนุมัติ 27 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,540.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูซีลา เปาะเต๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.404,101.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บุหรี่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเสียชีวิตที่สำคัญ ซึ่งองค์การอนามัยโลกรายงานว่าประชากรโลกเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละ 4 ล้านคน โดยบุหรี่/ยาสูบ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นโลหิตในสมองแตกหรือตีบ ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) ที่ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย การบำบัดผู้สูบบุหรี่/ยาสูบเพื่อให้เลิกสูบบุหรี่/ยาสูบและการป้องกันการสูบบุหรี่/ยาสูบในผู้ที่ยังไม่สูบบุหรี่ จึงเป็นการลดการเกิดโรคที่สำคัญดังกล่าว และเป็นการลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการเป็นโรคที่มีสาเหตุจากการสูบบุหรี่/ยาสูบ จากสถิติพบว่าอัตราการสูบบุหรี่ปัจจุบันของประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ประชากรกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอเหนือ พบว่ามีอัตราการสูบบุหรี่/ยาสูบถึงร้อยละ 21.85 จากประชากร 6,149 คน (ข้อมูล HDC) พบว่าการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุทำให้ป่วยเป็นโรคเรื้อรังได้ง่าย กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวควรได้รับการบำบัดรักษาโดยการให้คำปรึกษาเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมและการบำบัดด้วยยา พยาบาลเป็นบุคลากรทีมสุขภาพที่มีบทบาทในการให้คำปรึกษาเพื่อบำบัดผู้สูบบุหรี่/ยาสูบให้เลิกสูบ แต่พบว่าผู้สูบมีจำนวนน้อยที่เข้าถึงระบบบริการเลิกของคลินิกเลิกบุหรี่/ยาสูบ อาจเนื่องจากปัญหาที่ระบบการคัดกรองและการส่งต่อผู้ป่วยของแต่ละพื้นที่มาที่คลินิกเลิกบุหรี่/ยาสูบ ประกอบกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบคลินิกเลิกยาสูบมีภาระงานอื่นๆร่วมด้วยจึงทำให้บางครั้งผู้มารับบริการมาแล้วไม่พบผู้ให้บริการ จึงต้องเดินทางกลับ ทำให้เสียเวลาและรู้สึกว่าการเข้าถึงบริการคลินิกเลิกบุหรี่ยุ่งยากเลยไม่อยากมารับบริการ แม้ทางทางคลินิกเลิกบุหรี่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอเหนือนัดให้มารับบริการในครั้งต่อไป ในการนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอเหนือ ตระหนักถึงความสำคัญของการลดปัจจัยเสี่ยงหรือสาเหตุจากการสูบบุหรี่ในกลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในคลินิกโรคเรื้อรัง ซึ่งมีจำนวนมาก จึงได้จัดโครงการพัฒนาระบบบริการ ลดละเลิกบุหรี่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาสขึ้น เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ป่วย ลดละเลิกการบริโภคยาสูบ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสงูและผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ติดบุหรี่ มีความรู้ ความเข้าใจ รวมทั้งตระหนักถึงโทษภัยของบุหรี่

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ติดบุหรี่ มีความรู้ ความเข้าใจรวมทั้งตระหนักถึงโทษภัยของบุหรี่มากขึ้น

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่สูบบุหรี่ ได้รับการบำบัดรักษา การเลิกบุหรี่โดยใช้สมุนไพร

-จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ติดบุหรี่ เข้าร่วมโครงการ ปรับพฤติกรรมและจัดการตนเอง ลด ละ เลิกบุหรี่ โดยใช้สมุนไพรและการนวดกดจุดฝ่าเท้า -ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ติดบุหรี่ที่เข้ารับการบำบัดรักษา สามารถลดละเลิกบุหรี่ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ซักประวัติผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารับบริการที่คลินิก พบผู้ที่บริโภคบุหรี่ คัดผู้ที่สนใจต้องการเลิกบุหรี่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 คน
  2. จัดทำแผนเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการ
  3. ประสานงานกับบุคคล หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง
  4. จัดตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินโครงการ
  5. ประชุมชี้แจงโครงการแก่กลุ่มเป้าหมาย
  6. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยและโทษของบุหรี่ ประโยชน์และวิธีใช้สมุนไพรและการนวดกดจุดเท้า เพื่อลดละเลิกบุหรี่ แก่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่บริโภคบุหรี่ จำนวน 30 คน และอสม.ที่เป็นคณะทำงาน/คณะติดตามการช่วยเลิกบุหรี่ จำนวน 14 คน
  7. รับสมัครผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่บริโภคบุหรี่ที่ต้องการลดละเลิกบุหรี่เข้ารับการบำบัด
  8. ติดตามหลังการบำบัดเลิกยาสูบ เป็นระยะเวลา 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน โดยอสม.ที่เป็นคณะทำงาน
  9. ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
  10. สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ติดบุหรี่ มีความรู้ ความเข้าใจรวมทั้งงตระหนัก ถึงโทษภัยของบุหรี่มากขึ้น
  2. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ติดบุหรี่ที่เข้ารับการบำบัดรักษา สามารถลดละเลิกบุหรี่ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
  3. จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ติดบุหรี่ เข้าร่วมโครงการ ปรับพฤติกรรมและจัดการตนเอง ลด ละ เลิกบุหรี่ โดยใช้สมุนไพรและการนวดกดจุดฝ่าเท้า
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2564 10:21 น.