กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแสงแห่งความหวัง สร้างพลังใจผู้ป่วยระยะสุดท้าย ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L2491-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.กะลุวอเหนือ
วันที่อนุมัติ 27 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยาวียะห์ แซมานิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.404,101.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ด้านสุขภาพของประเทศไทยมีการพัฒนาไปอย่างก้าวไกล การเปลี่ยนแปลงของโรคที่เป็นปัญหาและเป็น สาเหตุการตายในทศวรรษนี้แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับในหลายทศวรรษก่อน ปัจจุบันสาเหตุการป่วยร้อยละ ๗๑ มีสาเหตุมาจากโรคไม่ ติดต่อ (Global Health Observatory, WHO) สาเหตุการตายเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากมีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น การตายอันดับต้นของ ประเทศไทยคือ โรคมะเร็ง โรคเอดส์ อุบัติเหตุ และโรคหัวใจ ซึ่งโรคเหล่านี้ เมื่อโรคเข้าสู่ระยะท้าย ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะทนทุกข์ทรมานจากการรักษา ที่ไม่ก่อเกิดประโยชน์ รวมถึงได้รับการรักษาที่มุ่งยื้อชีวิตแม้อยู่ในสภาพที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ รวมถึงการตัดสินใจเลือก ทางเลือกของการรักษาต่างๆที่มักกระทำโดยครอบครัวโดยผู้ป่วยไม่มีส่วนร่วม ซึ่งบางครั้งการรักษาดังกล่าวอาจไม่ใช่แนวทางที่ ผู้ป่วยต้องการ palliative care เป็นทางเลือกที่จะช่วยให้ผู้ป่วยไม่ทุกข์ทรมานเมื่อโรคเข้าสู่ระยะท้าย โดยจุดมุ่งหมายของ palliative care คือการดูแลผู้ป่วยและครอบครัว ในผู้ป่วยที่โรครักษาไม่ได้หรือรักษาลำบาก หลักการของ palliative care คือ การยอมรับในเวลาที่เหลืออยู่โดยไม่ไปยืดหรือเร่งเวลาที่เหลือ แต่ดูแลให้ผู้ป่วยมีสมรรถนะและคุณภาพชีวิตดีที่สุดในเวลาที่เหลืออยู่ โดยการจัดการอาการที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอาการปวดและอาการไม่สุขสบายอื่นๆ การดูแลประคับประคองด้านจิตใจ สังคม และด้านจิตวิญญาณ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative care) เป็นรูปแบบการดูแลสุขภาพแบบ องค์รวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ สําหรับผู้ที่ป่วยด้วยโรคที่คุกคามต่อชีวิต ซึ่งไม่สามารถ รักษาให้หายขาดได้เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญกับความเจ็บป่วย ผ่านกระบวนการป้องกันและบรรเทาความ ทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวด ซึ่งมิใช่เป็นเพียงอาการของความผิดปกติทางร่างกายเท่านั้น แต่เป็นผลลัพธ์ที่ เกิดจากสภาวะทางด้านจิตใจของผู้ป่วยด้วย รวมทั้งการให้คําแนะนําต่อญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วย ในการ เตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสภาพความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
จากข้อมูลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอเหนือ ในปี ๒๕๖๓ พบว่ามีผู้ป่วยระยะสุดท้าย จำนวน ๑o ราย ป่วยด้วยโรคมะเร็ง จำนวน ๒ คน โรคไตระยะสุดท้ายจำนวน ๘ คน ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานเกิดความเจ็บปวดจากโรคและมีแผล อาการหอบเหนื่อยเป็นต้น และผู้ป่วยมีความต้องการเสียชีวิตอย่างสงบที่บ้าน ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอเหนือได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว ว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลประคับประคองอย่างเป็นองค์รวม ที่บ้านอย่างเหมาะสมลดความทุกข์ทรมานที่จะเกิดขึ้น และเป็นการดูแลผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิตตามหลักศาสนาของแต่ละบุคคลเพื่อการจากไปอย่างสงบ ครอบครัวสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองต่อเนื่องที่บ้าน โดยชุมชนมีส่วนร่วมอย่างไร้รอยต่อร้อยละ ๑oo

ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้รับการดูแลประคับประคองที่บ้านโดยชุมชนมีส่วนร่วม

0.00
2 เพื่อลดความทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยระยะสุดท้าย และพร้อมเผชิญความตายอย่างสงบ สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้รับการจัดการความปวด และมีความทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยลดลง

0.00
3 เพื่อให้เครือข่าย ”แสงแห่งชีวิต”มีความรู้และทักษะในการดูแลระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative care)

มีเครือข่ายดูแลระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative care) ในชุมชน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน และจัดทำโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ตำบลกะลุวอเหนือ ๒. ประชุมคณะกรรมการ/อนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกะลุวอเหนือเพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการฯ
๓.อบรมเชิงปฏิบัติการ”เครือข่ายแสงแห่งชีวิต”แก่เจ้าหน้าที่และผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตำบลกะลุวอเหนือโดยการให้ความรู้และทักษะการดูแลด้านร่างกาย และด้านจิตใจผู้ป่วยประคับประคองดูแลตามอาการใช้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ๔.กำหนดแนวทางและวางแผนการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ๕.เยี่ยมผู้ป่วยระยะสุดท้ายต่อเนื่องที่บ้าน   ๕.๑ ประสานทีม Palliative Care ของโรงพยาบาลลงดูแลผู้ป่วยที่บ้านพร้อมทีมสหสาขาวิชาชีพและช่วยแก้ไขปัญหาของผู้ป่วย   ๕.๒ จัดให้มีพิธีกรรมทางศาสนาเช่น อ่านยาซีน เพื่อเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้ป่วย ตามบริบทของศาสนานั้นๆ   ๕.๓ประสานทีมและสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และเพื่อให้ผู้ป่วยและญาติยืมไปใช้ที่บ้าน เช่น ชุดให้ออกซิเจน ,เตียงผู้ป่วย , ที่นอนลม เป็นต้น ๖. ประเมินและปรับเปลี่ยนแผนการดูแลตามเหมาะสมตามสภาพปัญหาของผู้ป่วย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้รับการดูแลประคับประคองที่บ้านโดยชุมชนมีส่วนร่วม ๒.ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้รับการจัดการความปวด และมีความทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยลดลง ๓.มีเครือข่ายดูแลระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative care) ในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2564 10:32 น.