กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารเช้า เพื่อน้อง อิ่มท้อง สมองแจ่มใส ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเปียะ
รหัสโครงการ 64-L8421-03-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเปียะ
วันที่อนุมัติ 10 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 เมษายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 29,595.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปารีด๊ะห์ ลาเตะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวธัญลักษณ์ มโนกิตติพันธ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดาโต๊ะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.717,101.244place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาโรงเรียน
35.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาชาติที่สําคัญคือการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ตลอดจนมีความสามารถในการเรียนรู้ เพื่อให้มีศักยภาพสูงสุดอันเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน อันดับแรกของการพัฒนาคน คือการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัย เพราะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ตลอดจนคุณธรรมและจริยธรรมของเด็ก อาหารนับว่าเป็นปัจจัยที่สําคัญในการ ดํารงชีวิตของมนุษย์โดยเฉพาะเด็ก เป็นช่วงที่สมองของเด็กมีการเติบโตมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ หากพ่อแม่สร้าง สิ่งแวดล้อมต่างๆให้เหมาะสม สมองของเขาก็จะเติบโตมากกว่าช่วงวัยอื่นๆหากพ่อแม่สร้างสิ่งแวดล้อมต่างๆ ให้เหมาะสม สมองของเขาก็จะเติบโตและพัฒนาได้อย่างเต็มที่ ความสมบูรณ์ของคนเราเมื่อเติบโต ถ้าเด็กได้ ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็จะทําให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีอุปสรรคต่อการเรียนรู้ และการ เจริญเติบโตของร่างกายเมื่อท้องอิ่ม จิตใจก็แจ่มใส เบ่งบาน พร้อมเปิดรับกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อาหารเช้าจึง สําคัญจากผลงานวิจัยตีพิมพ์ออกมามากมายเกี่ยวกับประโยชน์ของการทานอาหารเช้าที่ส่งผลดีต่อตั้งสุขภาพ กาย สุขภาพจิต และพลังสมองของเด็กๆ เพราะการที่เด็กนักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าอย่างเพียงพอและมี คุณภาพเป็นประจํา จะมีสมาธิ และสามารถทํากิจกรรมต่างๆ ได้ดีกว่าเด็กที่ไม่กินอาหารเช้า และจําทําให้เป็น เด็กฉลาดและเก่งขึ้น ดังนั้นอาหารมื้อเช้าจึงเป็นอาหารมื้อแรกของวันที่สมควรได้รับแต่ด้วยปัจจุบันการใช้ชีวิต ที่เร่งรีบของผู้ปกครองและเด็กนักเรียน ทําให้อาหารเช้ากลับกลายเป็นอาหารมื้อที่ถูกละเลยมากที่สุด เนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่รีบไปทํางาน มื้อเช้าของเด็กๆคือขนม จากร้านในหมู่บ้าน ซึ่งไม่มีประโยชน์ และ ไม่เหมาะสมสําหรับเด็กวัยกําลังเจริญเติบโต ทําให้มีเด็กมีปัญหาเรื่องภาวะโภชนาการที่ไม่สมวัย เนื่องจากขาด อาหารสําคัญมื้อแรก จากปัญหาดังกล่าวศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเปียะ จึงจัดทําโครงการอาหารเช้าเพื่อน้อง อิ่มท้องสมอง แจ่มใส เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบทุกหมู่ เพื่อสุขภาพและร่างกายเจริญเติบโต สมวัย มีสมาชิกเกิดความพร้อมในการเรียนรู้ สู่การเป็นเด็กที่มีสติปัญญาฉลาดสมวัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาโรงเรียน

ร้อยละของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาโรงเรียน ลดลง

35.00 30.00
2 1.เพื่อให้เด็กนักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ที่ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่

 

35.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ทําการชั่งน้ําหนักเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้งหมด ๗๑ คนได้รับการชั่งน้ําหนักครบทุกคน เด็กที่ น้ําหนักตามเกณฑ์ จํานวน ๓๖ คน เด็กที่มน้ําหนักต่ํากว่าเกณฑ์ทั้งหมด ๓๕ คน ๒. ประชุมคณะทํางาน
๓. เขียนโครงการเพื่อขอรับการอนุมัติงบประมาณ
๔. ดําเนินการตามโครงการ ระหว่างดําเนินโครงการ
๕. จัดทําอาหารเช้าเพื่อน้องอิ่มท้องสมองแจ่มใส ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ (วันทําการ)
๖. ประเมินน้ําหนักและส่วนสูงของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เข้าร่วมโครงการ
๗. ประเมินพัฒนาการของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เข้าร่วมโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีน้ําหนักต่ํากว่าเกณฑ์ ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทาง สารอาหารร้อยละ ๑๐๐
๒. นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีน้ําหนักต่ํากว่าเกณฑ์ มี น้ําหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์ มาตรฐาน ร้อย ละ ๙๐
๓. นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีน้ําหนักต่ํากว่าเกณฑ์ มีพัฒนาการสมวัยร้อยละ ๙๐
๔. นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีน้ําหนักต่ํากว่าเกณฑ์ ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสุข นิสัยในการรับประทานอาหารอย่างถูกต้องร้อยละ ๙๐

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2564 13:20 น.