ชุมชนใส่ใจพ้นภัยวัณโรค ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่ 3/64 เมื่อวันที่ 28-29 มกราคม 2564
ชื่อโครงการ | ชุมชนใส่ใจพ้นภัยวัณโรค ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่ 3/64 เมื่อวันที่ 28-29 มกราคม 2564 |
รหัสโครงการ | 64-L7258-1-16 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์บริการสารรณสุขโพธิพงษา บุญมณี อินทรัศมี(ชุมชน คลองเตย) |
วันที่อนุมัติ | 29 มกราคม 2564 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2564 - 15 กันยายน 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 9,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางวไลพร จันทรมณี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.01,100.474place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
วัณโรคเกิดได้ในทุกอวัยวะของร่างกายส่วนใหญ่มักเกิดที่ปอดพบร้อยละ๘๐ ส่วนวัณโรคนอกปอดเป็นผลมา จากการแพร่กระจายของการติดเชื้อไปยังอวัยวะอื่นๆได้แก่เยื่อหุ้มปอด ต่อมน้ำเหลือง กระดูกสันหลัง ข้อต่อ ช่องท้อง ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบสืบพันธ์ ระบบประสาท เชื้อวัณโรคจะแพร่กระจายจากปอด หลอดลมหรือกล่องเสียงเมื่อ ผู้ป่วยไอ จม พูดดังๆ ตะโกน หัวเราะหรือร้องเพลง เชื้อเหล่านี้จะอยู่ในละอองฝอยของเสมหะออกมาสู่อากาศซึ่ง สามารถติดต่อโดยสูดหายใจเอาละอองฝอยที่มีเชื้อวัณโรค วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยโดย พ.ศ.2558 องค์การอนามัยโลกจัดให้ประเทศไทย เป็น ๑ ใน ๑๔ ประเทศที่มีปัญหาวัณโรครุนแรงระดับโลก ทั้งวัณโรคทั่วไป วัณโรคและเอดส์ วัณโรคดื้อยาหลายขนาน นอกจากนี้การสำรวจความชุกของวัณโรคพบว่า ผู้ป่วยวัณโรคร้อยละ 60 เป็นกลุ่มที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย ไม่ถึงเกณฑ์สงสัยว่าป่วย ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะวินิจฉัยได้ต้องปรับปรุงแนวทางการตรวจคัดกรองอาการให้มีความไวมากขึ้น หรือใช้การเอ็กซเรย์ปอดเป็นวิธีการคัดกรองหลัก พบวัณโรคในเพศชายมากกว่าเพศหญิงเป็นสองเท่าเนื่องจากปัจจัยเสี่ยง ของการสูบบุหรี่รวมทั้งผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการป่วยสูง ประเทศไทยมีอัตราป่วยวัณโรครายใหม่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก1.3 เท่ามีผู้ป่วยที่ตรวจพบและรายงานร้อยละ ๕๙ ของที่คาดประมาณเท่านั้น ซึ่งสะท้อนถึงการที่ผู้ป่วยส่วนหนึ่งเข้าถึงการ รักษาล่าช้าหรือเข้าไม่ถึง ทำให้แพร่กระจายเชื้อในชุมชนซึ่งแผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔ มี เป้าประสงค์เร่งรัดค้นหาผู้ติดเชื้อวัณโรคให้ครอบคลุมโดยการคัดกรองในกลุ่มเสี่ยงเป้าหมายร้อยละ๑๐๐ ลดการเสียชีวิต ในผู้ป่วยวัณโรคคือลดอัตราการตายลร้อยละ50 รวมทั้งพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อการป้องกันดูแลรักษาและควบคุม วัณโรคและสร้างความยั่งยืนในการดำเนินงานป้องกันดูแลรักษาและควบคุมวัณโรค จากการสำรวจพื้นที่ในชุมชนที่รับผิดชอบของศูนย์บริการสารรณสุขโพธิพงษา บุญมณี อินทรัศมี(ชุมชน คลองเตย) พบว่ามีกลุ่มสี่ยงต่อการเกิดโรควัณโรคได้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้สูงอายุที่มีโรคร่วม ผู้สัมผัสผู้ป่วย และมีผู้ป่วย วัณโรคดื้อยาซึ่งมีโอกาสแพร่เชื้อในชุมชนเพิ่มมากขึ้นจึงได้จัดทำโครงการชุมชนใส่ใจพันภัยวัณโรคประจำปี 2564 เพื่อ ควบคุมป้องกันการแพระบาดของโรคในชุมชน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในชุมชนและส่งต่อเพื่อรับการตรวจยืนยันและรักษาพร้อมทั้ง ป้องกันภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคในผู้สัมผัสผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและในเด็กอายุต่ำกว่า๕ ปีซึ่งอยู่ร่วมบ้านกับผู้ป่วย วัณโรค ต้องได้รับการส่งต่อเพื่อรับการตรวจยืนยันเพื่อให้ได้รับการรักษาวัณโรคระยะแฝงตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ค้นหาผู้ติดเชื้อวัณโรคได้ครอบคลุมโดยกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองผู้ป่วยสงสัยเป็นวัณโรค ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการตรวจยืนยันและรักษาร้อยละ๑๐๐ |
0.00 | |
2 | เพื่อลดอัตราการป่วยลดการแพร่กระจายของโรคและการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรคโดยส่งเสริมผู้ป่วย วัณโรคให้ได้รับการรักษาอย่างสม่ำเสมอครบถ้วนตามแผนการรักษาของแพทย์ ผู้ป่วยวัณโรคทุกรายได้รับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ ครบถ้วนตามแผนการรักษาของแพทย์ลดอัตราการตายของผู้ป่วย วัณโรคในชุมชนได้ร้อยละ 50 |
0.00 | |
3 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายทุกคน อสม.และผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรคมีความรู้ความเข้าใจสามารถปฏิบัติตนในการป้องกันโรค อสม. ผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรคและประชาชนกลุ่มเป้าหมายประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจ สามารถปฏิบัติตน ในการป้องกันโรคและดูแลผู้ป่วยวัณโรคได้ถูกต้องร้อยละ๘๐ |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในชุมชนและส่งต่อเพื่อรับการตรวจยืนยันและรักษาพร้อมทั้ง ป้องกันภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคในผู้สัมผัสผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและในเด็กอายุต่ำกว่า๕ ปีซึ่งอยู่ร่วมบ้านกับผู้ป่วย วัณโรค ต้องได้รับการส่งต่อเพื่อรับการตรวจยืนยันเพื่อให้ได้รับการรักษาวัณโรคระยะแฝงตั้งแต่ระยะเริ่มแรก |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อลดอัตราการป่วยลดการแพร่กระจายของโรคและการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรคโดยส่งเสริมผู้ป่วย วัณโรคให้ได้รับการรักษาอย่างสม่ำเสมอครบถ้วนตามแผนการรักษาของแพทย์ |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายทุกคน อสม.และผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรคมีความรู้ความเข้าใจสามารถปฏิบัติตนในการป้องกันโรค |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
๑. ประสนงานกับ อสม.ในชุมชนเพื่อสำรวจปัญหาและหากลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการชุมชนใส่ใจพ้นภัยวัณโรค ๒. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนดำเนินการ ๓. ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องวางแผนจัดทำโครงการชุมชนใส่ใจพ้นภัยวัณโรค ๔. กำหนดแนวทางและเป้าหมายการดำเนินงานโครงการ และการรายงานผลการดำเนินงาน ๕. ประชาสัมพันธ์โครงการ 6. กิจกรรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเรื่องวัณโรคและพัฒนาศักยภาพการเป็นพี่เลี้ยง(DOT)ให้แก่อสม.และผู้ดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยยินดีให้ความร่วมมือในการรักษา ๗. กิจกรรมตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงและค้นหาผู้ป่วยสงสัยเป็นวัณโรคในชุมชน ๘. ผลตรวจคัดกรองถ้ามีภาวะเสี่ยงและผู้ป่วยสงสัยเป็นวัณโรคส่งต่อเพื่อรับการตรวจยืนยันและรักษาโดยพบแพทย์ 9. กิจกรรมสนับสนุนและให้กรดูแลรักษาโดยผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางมีผู้จัดการผู้ป่วยรายบุคคลหรือมีพี่เลี้ยงดูแลการกินยา และประสานความช่วยเหลือที่สอดคล้องกับความต้องการที่จำเป็นของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาจนครบกำหนด 10.เยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรคทุกรายพร้อมให้คำปรึกษาที่สอดคล้องกับสภาพของผู้ป่วยแต่ละรายที่เกี่ยวข้องกับการให้ ความร่วมมือในการรักษา อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค รวมทั้งการ สนับสนุนด้านจิตใจและสังคม ๑๑.ติดตามและประเมินผลโครงการและกิจกรรม ๑๒.สรุปโครงการ
- กลุ่มเสี่ยงและผู้ติดเชื้อวัณโรครวมทั้งประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรองค้นหาพบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงวัณโรค โรครายใหม่ ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการตรวจยืนยันและรักษาอย่างมีประสิทธิภาพครอบคลุมร้อยละ ๑๐๐ ๒ ผู้ป่วยวัณโรคทุกรายได้รับการรักษาอย่างสม่ำเสมอครบถ้วนตามแผนการรักษาของแพทย์ลดอัตราการป่วย การ แพร่กระจายของโรคและเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรค โดยลดอัตราการตายลงร้อยละ 50 ๓. ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย อสม.และผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรคทุกราย มีความรู้ความเข้าใจสามารถปฏิบัติตนในการป้องกัน โรคและดูแลผู้ป่วยวัณโรคได้ถูกต้อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2564 13:46 น.