กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L2491-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.กะลุวอเหนือ
วันที่อนุมัติ 27 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 131,640.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดารณี นามะกุณา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.404,101.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 116 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในช่วงฤดูฝนมักมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมากในทุกภาคของประเทศไทย สาเหตุของการเกิดโรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี่(Dengue) เชื้อไวรัสชิคุนกุนย่า(Chikungunya) เป็นสาเหตุของโรคซึ่งปัจจุบันจากการตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการพบว่าเชื้อไวรัสเด็งกี่มี 4 ชนิดเชื้อดังกล่าวสามารถทำให้เลือดออกรุนแรงได้ ดังนั้นเมื่อเชื้อตัวใดตัวหนึ่งเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานต่อเชื้อตัวนั้นอย่างถาวรและยังต่อต้านข้ามไปเชื้ออื่นๆอีก 3 ชนิดแต่อยู่ไม่ถาวร โดยทั่วไปอยู่ได้นาน 6-12 เดือน หลังระยะนี้แล้ว คนที่เคยติดเชื้อเด็งกี่ชนิดหนึ่ง อาจติดเชื้อเด็งกี่ชนิดอื่นต่างจากครั้งแรกก็ได้ถือเป็นการติดเชื้อครั้งที่สอง การติดเชื้อซ้ำๆเชื่อกันว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออกถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญมากเพราะมีผู้ป่วยป่วยและตายจำนวนมากในแต่ละปีเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะ การระบาดตลอดปีและพบมากในช่วงฤดูฝน ยุงลายชอบวางไข่ในแหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น จากสถิติปี 2562 ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอเหนือ ซึ่งประกอบด้วยบ้านบางมะนาว บ้านค่าย บ้านเปล บ้านพิกุลทอง บ้านปูลากาป๊ะ บ้านคีรี และบ้านบูกิตอ่าวมะนาว  พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 30 ราย
จากการเก็บรวบรวมข้อมูลของเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอเหนือ โดยการสำรวจค่า BI CI และ HI พบว่าทั้ง 7 หมู่บ้าน ยังมีปัญหาอยู่มาก ปัญหาที่เราต้องเร่งแก้ปัญหาคือ โรคไข้เลือดออก เพราะจากการสำรวจดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายยังพบว่ามีความชุกของลูกน้ำในเกณฑ์ที่สูงคือค่า HI เท่ากับ 62.86 เพราะประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสนใจในการป้องกัน คิดว่าการป้องกันโรคเป็นหน้าที่ของฝ่ายสาธารณสุข ดังนั้นกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกะลุวอเหนือร่วมกับเทศบาลตำบลกะลุวอเหนือและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอเหนือ จึงตระหนักถึงสาเหตุของปัญหา หากไม่มีการควบคุมกำจัดลูกน้ำยุงลายให้ถูกต้องทันทีจะมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน จนอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของประชาชนเพิ่มจำนวนขึ้นอีกก็เป็นได้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่เราจะต้องป้องกันและรณรงค์ให้ทุกคนตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยวิธีกำจัดลูกน้ำยุงลาย และกำจัดยุงตัวแก่ทั้งวิธีกายภาพ  และชีวภาพและทางเคมีในบ้าน  ศพด.และโรงเรียน ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดไข้เลือดออกก็จะลดน้อยลงด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะของโรคติดต่อนำโดยแมลง

-กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สามารถควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ -ร้อยละของค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้านตามเกณฑ์ที่กำหนด(HI ≤ ๑๐)

0.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอเหนือ

อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอเหนือ ลดลงจากปี ๒๕63 มากกว่า ร้อยละ 10

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำและเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกะลุวอเหนือ
  2. สำรวจลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายโดยอสม.เพื่อควบคุม/ป้องกันโรคไข้เลือดออกทั้ง 7 หมู่บ้าน
  3. สุ่มประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายโดยทีมประเมินหลังการดำเนินการสำรวจและทำลายแหล่งลูกน้ำยุงลายโดย อสม.ทั้ง 7 หมู่บ้าน ทั้งหมด 6 ครั้ง/หมู่บ้าน
  4. จัดเตรียมน้ำยาพ่นยุง/ทรายอะเบท เพื่อรณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
  5. พ่นละอองฝอยเพื่อควบคุม/ป้องกันโรคไข้เลือดออกทั้ง 7 หมู่บ้านๆละ 6 ครั้ง
  6. พ่นละอองฝอยเพื่อควบคุม/ป้องกันโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนทั้ง 5 โรงๆละ 2 ครั้ง และในศพด. 2 ศูนย์ๆละ 2 ครั้ง
  7. ดำเนินการตามแผนงานที่กำหนด
  8. ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
  9. สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สามารถควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกได้
  2. ร้อยละของตำบล มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้านตามเกณฑ์ที่กำหนด(HI ≤ ๑๐)
  3. อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอเหนือ ลดลงจากปี ๒๕63
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2564 14:39 น.