กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

ตรวจเท้าผู้ป่วยเบาหวาน ศูนย์บริการสาธารณสุขนพสุวรรณ ชุมชนอู่ท.ส. ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่ 3/64 เมื่อวันที่ 28-29 มกราคม 2564

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ตรวจเท้าผู้ป่วยเบาหวาน ศูนย์บริการสาธารณสุขนพสุวรรณ ชุมชนอู่ท.ส. ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่ 3/64 เมื่อวันที่ 28-29 มกราคม 2564
รหัสโครงการ 64-L7258-1-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขนพสุวรรณ ชุมชนอู่ท.ส.
วันที่อนุมัติ 29 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 15 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอารยา สุวรรณนิตย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานเป็นโคเรื้อรังที่รักษาไม่หายและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี กลายเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ของประเทศไทย โดมีปัจจัยสนับสนุนด้านพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย มีภาวะเครียดประกอบ กับมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ช่วยให้คนมีชีวิตยืนยาวขึ้น ซึ่งองค์กรอนามัยโลกได้ประมาณว่าจะมีผู้ป่วย โรคเบาหวานเพิ่มขึ้นเป็น ๓๐๐ ล้านคนในปี ค ศ. 2025 สำหรับประเทศไทยและประเทศทางแถบเอเชียพบว่าผู้ป่วยเบาหวาน ร้อยละ ๙๙ เป็นเบาหวานชนิดที่ ๒ และหากผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อน ต่างๆ ได้ง่าย เช่นโรคหัวใจและหลอดเลือด หรืออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต และเท้า ถ้าหากมีอาการปลายประสาทเท้า เสื่อมทำให้เกิดแผลที่เท้าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เรื้อรัง และนำไปสู่การติดเชื้อที่รุนแรง อาจทำให้เกิดการสูญเสียเท้าได้ ซึ่งส่งผล กระทบต่อภาพลักษณ์และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว สถานการณ์ข้อมูลสุขภาพของศูนย์บริการสาธารณสุขนพสุวรรณ ชุมชนอู่ท.ส. พบว่าประชาชนมีแนวโน้ม เป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น และพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานมีพฤติกรมการดูแลเท้าไม่เหมาะสม ในเรื่องการรักษาความสะอาดและ ไม่ได้ตรวจเท้าหาความผิดปกติ ไม่ได้บริหารเท้า ศูนย์บริการสาธารณสุขนพสุวรรณ ชุมชนอู่ท.ส. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันไม่ให้เกิดแผลที่เทในผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้และพฤติกรรมการดูแลเท้าที่เหมาะสม จึงได้จัดทำ โครงการตรวจเท้าผู้ป่วยเบาหวานประจำปี 2564

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ในการบริหารเท้าและนวดเท้า

ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ในการบริหารเท้าและนวดเท้า

0.00
2 เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการถูกตัดเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมดูแลเท้าที่ถูกต้องเหมาะสม

0.00
3 เพื่อตรวจสุขภาพเท้าผู้ป่วยเบาหวานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

ผู้ป่วยเบาหวานได้รับกาตรวจสุขภาพเท้าร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 40 9,150.00 3 9,150.00
1 พ.ค. 64 - 30 มิ.ย. 64 กิจกรรมตรวจประเมินสุขภาพเท้า (ค่าชุดตรวจเท้าผู้ป่วยเบาหวาน) 40 7,600.00 7,600.00
1 พ.ค. 64 - 30 มิ.ย. 64 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน 0 1,250.00 1,250.00
1 พ.ค. 64 - 30 มิ.ย. 64 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ (จัดทำป้ายไวนิล) 0 300.00 300.00

๑. ศูนย์บริการสาธารณสุขนพสุวรรณ ชุมชนอู่ท.ส.ประสานงานกับเครือข่ายหน่วยบริการและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ๒. จัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครหาดใหญ่ จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน ๔. จัดประชุม อสม. และเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุขนพสุวรรณ ชุมชนอู่ท.ส. ๕. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ การให้บริหารเท้า นวดเท้า และการดูแลเท้าแก่ผู้ป่วยเบาหวาน ๖. ตรวจและประเมินสุขภาพเท้าผู้ป่วยเบาหวานและบันทึกผลการตรวจสุขภาพในแบบฟอร์มการตรวจพร้อมให้สุขศึกษา รายบุคคล ๗ เมื่อผลการตรวจประเมินสุขภาพเท้าผู้ป่วยเบาหวานมีความผิดปกติ ส่งพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไป ๘. สรุปและประเมินโครงการเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ป่วยเบาหวานได้รับความรู้ในการดูแลเท้าการนวดเท้า และมีความตระหนักถึงความสำคัญการดูแลเท้าได้ดีด้วยตนเอง ๒.ผู้ป่วยเบาหวานได้รับกรตรวจประเมินสุขภาพเท้าและเมื่อผลการตรวจผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง ต่อไป 3. ผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมการดูแลเท้าที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2564 15:00 น.