กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ "บ้านเริ่ม หมู่บ้าน/ชุมชนร่วมป้องกันเด็กจมน้ำ"
รหัสโครงการ 017
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหูแร่
วันที่อนุมัติ 29 มิถุนายน 2017
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2017 - 30 กันยายน 2017
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 32,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 81 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 119 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การจมน้ำเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กไทยเสียชีวิตสูงเป็นอันดับหนึ่งมาตลอด โดยในปี 2559 มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จมน้ำเสียชีวิต 699 คน นอกจากนี้ ยังพบว่าเด็กอายุ 5-9 ปี มีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าในทุกกลุ่มอายุ โดยช่วงปิดเรียนภาคฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม พบเด็กจมน้ำเสียชีวิตสูงถึง 197 คน ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุข จึงได้กำหนดให้วันเสาร์แรกของเดือนมีนาคมของทุกปีเป็นวันรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ ซึ่งได้ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น และจิตอาสา จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2552และจากข้อมูลการเฝ้าระวังของสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค พบข้อมูลที่น่าเป็นห่วงว่ากลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี พบจมน้ำเสียชีวิตสูงเฉลี่ยถึงปีละ 192 คน คิดเป็นร้อยละ 21 ของกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีทั้งหมด ส่วนภาชนะที่มักพบว่าเด็กกลุ่มนี้จมน้ำบ่อย ได้แก่ ถังน้ำ ถังสี กะละมัง กระติกน้ำ โอ่ง และอ่างอาบน้ำในห้องน้ำ ภายในบ้าน และในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือแม้แต่สระว่ายน้ำภายในบ้านของตนเอง การจมน้ำเป็นสิ่งที่สามารถป้องกันได้ เด็กไทยจึงไม่ควรเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ดังนั้น กรมควบคุมโรคจึงได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ภายในปี 2565 "เด็กจมน้ำเสียชีวิตต้องเท่ากับศูนย์" โดยได้กำหนดกลยุทธ์ "ทีมผู้ก่อการดีดำเนินงานแบบสหสาขา ครอบคลุมทุกมาตรการและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ เพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนเกิดการตื่นตัวและร่วมกันปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็กไทย ไม่เฉพาะช่วงปิดเทอม แต่ต้องดำเนินงานตลอดทั้งปี ซึ่งสอดคลองกับการดำเนินงานของเทศบาลตำบลบางแก้ว ที่ได้เข้าร่วมทีมผู้ก่อการดีกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอบางแก้ว ในปี 2560 ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหูแร่ จึงได้จัดทำโครงการ รณรงค์ "บ้านเริ่ม หมู่บ้าน/ชุมชน ร่วมป้องกันเด็กจมน้ำ" ขี้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารให้ประชาชนทราบว่า ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก และประชาชนทั่วไปของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหูแร่ จะต้องดุแลเด็กในความปกครองของตนอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพังแม้เพียงเสี้ยววินาทีเดียวและแหล่งน้ำที่มีน้ำเพียงเล็กน้อยก็สามารถจมน้ำเสียชีวิตได้ ซึ่งในกลุ่มเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี เด็กจะต้องอยู่ในระยะที่มองเห็น เข้าถึงและคว้าถึง รวมทั้งการใส่เสื้อชูชีพขณะที่เดินทางทางน้ำหรือทำกิจกรรมทางน้ำ โดยมีแนวคิดให้ครอบครัว(บ้าน) เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความปลอดภัยทางน้ำ และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดควาเข้มแข็งและชุมชนพึ่งตนเองได้ โดยการป้องกันเด็กจมน้ำสามารถเริ่มทำได้จากที่บ้าน เพราะเด็กเล็กจะจมน้ำในภาชนะที่อยู่ภายในบ้าน ทีี่มีน้ำสูงเพียง 1-2 นิ้ว จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค พบว่าเกือบครึ่งหนึ่งของเด็กที่จมน้ำจะเสียชีวิตได้ดังนั้นการป้องกันก่อนเกิดเหตุจึงสำคัญที่สุด อย่างไรก็ตาม เมื่อตกน้ำจมน้ำแล้ว มีหลายกรณีที่เราพบว่า คนจมน้ำรอดชีวิตเพราะได้รับการช่วยเหลือและปฐมพยาบาลที่เร็วและถูกวิธี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสื่อสารให้ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก และประชาชนทั่วไป รับรู้ว่า ต้องดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด การหันไปทำกิจกรรมต่างๆเพียงเสี้ยววินาที และปล่อยเด็กตามลำพังก็อาจทำให้เด็กจมน้ำเสียชีวิตได้ และการใส่เสื้อชูชีพ ขณะเดินทางทางน้ำหรือทำกิจกรรมทางน้ำเป็นสิ่งที่จำเป็น

 

2 2.เพื่อสื่อสารให้ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กและประชาชนทั่วไป รับรู้ว่า กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี เด็กต้องอยู่ในระยะที่คว้าถึง และหากเป็นกลุ่มเด็กอายุ 3-5 ปี เด็กต้องอยู่ในระยะที่มองเห็นและเข้าถึงทันเวลา

 

3 3.เพื่อสื่อสารให้ประชาชนทั่วไป รับรู้เกี่ยวกับความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ

 

4 4.เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก และประชาชนทั่วไป ได้ถ่ายทอดแนวคิด ทัศนคติ และวิสัยทัศน์ในการป้องกันการจมน้ำ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 32,000.00 1 32,000.00
1 ก.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 โครงการรณรงค์ "บ้านเริ่ม หมู่บ้าน/ชุมชนร่วมป้องกันเด็กจมน้ำ" 0 32,000.00 32,000.00

1.สำรวจข้อมูลเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหูแร่ 2.จัดทำและเสนอโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบางแก้ว 3.แต่งตั้งคณะทำงานโครงการ 4.ดำเนินการตามโครงการ -จัดอบรมให้ความรู้การป้องกันเด็กจมน้ำเสียชีวิตแก่ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ผู้นำหมู่บ้าน อสม. และประชาชนทั่วไป -ประชาสัมพันธ์ สาธิต และฝึกปฏิบัติการใช้วัสดุอุปกรณ์ในการช่วยเหลือเด็กกรณีจมน้ำ กลุ่มเป้าหมายโครงการ รวมจำนวน 200 คน ดังนี้ 1)เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหูแร่ จำนวน81 คน 2)ผู้ปกครองของเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหูแร่จำนวน 81 คน 3)ครู ผู้ดูแลเด็ก อสม.ผู้นำหมู่บ้าน และคณะกรรมการสถานศีกษาฯจำนวน38คน 5.ประเมินและรายงานผลโครงการ 3.ระยะเวลาดำเนินการ กรกฎาคม - กันยายน2560 4.สถานที่ดำเนินการ ณศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหูแร่ หมู่ที่ 5 ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง 5.งบประมาณ จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบางแก้ว จำนวน32,000 บาท รายละเอียด ดังนี้ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายโครงการ จำนวน2มื้อ /30 บาท/200 คน -ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายโครงการ จำนวน1มื้อ/50บาท/200 คน -ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท -ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.0 X 3.0 เมตร ตารางเมตรละ 200 บาท จำนวน 1ผืน -ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการช่วยเหลือเด็กตกน้ำจมน้ำ -ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เช่น แฟ้ม ปากกา สมุด ฯลฯ จำนวน 119 ชุด(เฉพาะผู้ปกครองของเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนของศูนย์ฯ -ค่าเช่าเครื่องขยายเสียงจำนวน 1 วัน -

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก และประชาชนทั่วไปได้มีความรู้เกี่ยวกับปัญหาเด็กจมน้ำและมีมาตรการในการปัองกัน 2.ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก และประชาชนทั่ไปมีแนวคิด ทัศนคติ และวิสัยทัศน์ในการป้องกันการจมน้ำ 3.อัตรการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นศูนย์ หรือลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2017 16:18 น.