กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง ในกลุ่มเสี่ยง
รหัสโครงการ 60-L3332-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านนาปะขอ
วันที่อนุมัติ 11 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเกรียงไกร ไชยวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.435,100.197place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคที่เกิดจากการปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีสาเหตุจากการกินอาหารที่มันจัดเค็มจัดหวานจัด รวมทั้งกินผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ มีภาวะเครียด การสูบบุหรี่ และการดื่มสุราการออกกกำลังกายที่ไม่เพียงพอทำให้ประชาชนเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและต้องเสียค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมากและพบว่าอัตราป่วยต่อแสนประชากรในโรคมะเร็งทุกชนิด ๑๓๔.๒๑ โรคความดันโลหิตสูง ๘๖๐.๕๓ โรคเบาหวาน ๖๗๕.๗๔โรคหัวใจและหลอดเลือด ๙๐๑.๓๑ สำหรับอัตราการตายต่อแสนประชากรมีดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิด ๘๕.๐๔ โรคความดันโลหิตสูง ๓.๙๐ โรคเบาหวาน ๑๒.๒๒ โรคหัวใจและหลอดเลือด ๕๖.๐๐ (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๕๑)จากผลการเฝ้าระวังการออกกำลังกายและการบริโภคอาหารของประชาชนอายุ ๑๕-๖๐ ปี จำนวน ๑,๕๒๐ คนทั่วประเทศโดยกองสุขศึกษากรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๑ พบว่า ประชาชนที่ออกกำลังกายถูกต้องมีเพียงร้อยละ ๓๒.๖การบริโภคผักและผลไม้ไม่น้อยกว่าวันละครึ่งกิโลกรัมมีเพียงร้อยละ ๒๓.๗ และกินอาหารไขมันสูงเป็นประจำร้อยละ ๑๔.๐

จากข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขออัตราการป่วยและอัตราการตายของประชากรในเขตรับผิดชอบ ปี ๒๕๕๕พบอัตราป่วยโรคเบาหวาน ๒,๗๐๓.๗๐ ต่อแสนประชากร โรคความดันโลหิตสูง อัตราป่วย ๙,๐๗๔.๐๗และอัตราตายโรคหัวใจและหลอดเลือด๑๓๔.๙๕ ต่อแสนประชากร โรคมะเร็ง อัตราตาย ๓๓.๗๔ ต่อแสนประชากร และจากการคัดกรองโรคปี ๒๕๕๙ (ตุลาคม ๒๕๕๘- ธันวาคม ๒๕๕๙)ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอ พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานร้อยละ ๒๓.๘๘ และความดันโลหิตสูงร้อยละ ๔๖.๘๖ ประกอบกับประชาชนมีการออกกำลังกายน้อยกว่า ๓ วัน /สัปดาห์ทั้งยังบริโภคอาหารมันอาหารเค็มและหวานจัดแต่รับประทานผักน้อยจึงจำเป็นต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกระดับ รวมทั้งประชาชนอย่างจริงจัง เพื่อให้ประชาชนมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ ๓ - ๕ วันๆ ละอย่างน้อย ๓๐ นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สด อย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไปหรือกินผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่ง และลด ละ เลิกอาหารมันจัด เค็มจัด และหวานจัด ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง ได้ร้อยละ ๒๐ – ๓๐ และโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้อย่างมาก
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอตำบลนาปะขอ ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่พฤติกรรมที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงสูง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

 

2 ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

 

3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเอง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมคณะกรรมการฯ 2.เสนอโครงการ 3.ประสานวิทยากรและสถานที่ฝึกอบรม 4.จัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพการป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงเจาะเบาหวานและตรวจสุขภาพซักประวัติชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงวัดความดันโลหิต 5.ประเมินผลโครงการ ดังนี้ 1.ระดับความรู้ของผู้เข้าอบรมประเมินจากแบบสอบถาม เรื่องการดูแลสุขภาพด้านการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร และสุขภาพจิตก่อนและหลังอบรมเกณฑ์ร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น 2.พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้เข้าอบรมประเมินจากแบบสอบถาม เรื่อง พฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านโภชนาการการออกกำลังกายเกณฑ์ร้อยละ 80 มีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องติดตาม หลังการอบรม 3 เดือน 3. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันลดลงมาเป็นกลุ่มปกติ จำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 50

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง 2.ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนได้
3.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ได้รับการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2560 09:25 น.