กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ประจำปี 2564
รหัสโครงการ L336325641004
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านลำใน
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 มกราคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 15,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนันทา ด้วงวงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ รพ.สต.บ้านลำใน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนตามสภาพจากเดิม ทำให้พฤติกรรมของแต่ละคนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น พฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองอันนำไปสู่ระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายเริ่มจะเสื่อมโทรมลงและมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคเรื้อรัง Metabotic ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและโรคไขมันในเลือดปกคิ โรคหลอดเลือดหัวใจ ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะทนทุกข์ทรมาน และทำให้เกิดความสูญเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิต การดูแลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนั้นไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะโดยแพทย์เท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับการดูแลตนเองของผู้ป่วย และการตรวจป้องกันภาวะแทรกซ้อน จอกจากยังควรมีการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านเพื่อจะได้ทราบถึงปัญหาของการดูแลตนเองและร่วมหารือ และแนะนำการแก้ไขปัญหาสุขภาพกับผู้ป่วยแต่ละราย ปัจจุบันผู้ป่วยที่มารับบริการดูแลรักษาโรคเรื้อรังดังกล่าวมีเป็นจำนวนมาก และมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้รับบริการดูแลภาวะแทรกซ้อนได้อย่าง ทำให้ไม่เกิดความยั่งยืนในระบบการดูแลสุขภาพ ผู้ป่วยและครอบครัวมีศักยภาพในการดูแลตนเองน้อย ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งแพทย์ พยาบาล และทีมงานเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงการที่สามารถให้ประชาชน กลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วย ได้ตระหนักในการดูแลตนเอง มีความรู้ สร้างทัศนคติ จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และปฏิบัติตัวให้ห่างจากการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย เพื่อลดงบประมาณในการรักษาผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมาก
    ดังนั้นเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง Metabolic ได้แก่โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำใน จึงได้จัดทำโครงการเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ประจำปี 2564 ป้องกันภาวะแทรกซ้อนขึ้น เพื่อดูแลส่งเสริมสุขภาพและป้องกันกลุ่มป่วยมีสุขภาพที่ดี ไม่มีโรคแทรกซ้อนซึ่งจะทำให้สูญเสียชีวิตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้ปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องในการดูแลตนเองได้

เพิ่มขึ้นร้อยละ 50

90.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ในการเลือกบริโภคอาหารที่ถูกต้องเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรค

เพิ่มขึ้นร้อยละ 60

90.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยที่ควบคุมโรคได้ดีเป็นต้นแบบและมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังด้วยกัน

เพิ่มขึ้นร้อยละ 70

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้กับผู้ป่วยที่รับยาในคลินิกเติมยา กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 90 15,300.00 0 0.00
11 มี.ค. 64 - 8 เม.ย. 64 จัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่ผู้ป่วยเรื้อรัง โดยแบ่งเป็น 2 รุ่นๆ ละ 1 วัน 90 15,300.00 -
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 0 0.00
8 เม.ย. 64 กิจกรรมที่ 2 ติตดามผลการประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 เดือน จากผลสุขภาพค่าระดับน้ำตาลในเลือด/ค่าความดันโลหิตในเลือด หลังจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 0 0.00 -
  1. ประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการ แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุข
  2. สำรวจข้อมูลผู้ป่วยเรื้อรังในเขตรับผิดชอบ
  3. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้กับผู้ป่วยที่รับยาในคลินิกเติมยา จำนวน 90 คน จำนวน 2 รุ่นๆ ละ 1 วัน วันที่ 11 มีนาคม 2564 และวันที่ 8 เมษายน 2564
  4. สาธิตเกี่ยวกับเมนูอาหารเพื่อสุขภาพให้แก่ผู้ป่วยและผู้ดูและผู้ป่วย
  5. ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและติดตามผลใน 3 เดือน
  6. สรุปและประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติในการบริโภคอาหารได้ดีขึ้น
  2. ผู้ป่วยมีความรู้ในการเลือกบริโภคอาหารที่ถูกต้องเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรค
  3. ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเรื้อรังให้น้อยลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2564 15:02 น.