กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ บ้านน่าอยู่ ชุมชนน่ามอง ประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 12 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มีนาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2564
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูหะหมัด วันสุไลมาน
พี่เลี้ยงโครงการ นางซำซียะห์ ดือราแม
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านท่าด่าน ตำบลดอนรัก อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 103 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินชีวิตของมนุษย์ทั้งในเมืองและชนบทที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ทุกคนต้องเผชิญกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกันเช่น น้ำดื่มและอาหารที่ไม่สะอาด ความเป็นอยู่ที่แออัดหรืออยู่อย่างไม่ถูกสุขลักษณะ จำนวนพาหะนำโรคและแหล่งเพาะพันธ์ยุงเพิ่มมากขึ้นและกำจัดยากขึ้น น้ำในแม่น้ำลำคลองเน่าเสีย ทำให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ต้องเสี่ยงกับโรคติดต่อหลายชนิด ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการดำเนินการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม คือ ที่พักอาศัย ขยะ แมลงสัตว์พาหะนำโรค น้ำเสีย
    การดำเนินการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม คือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเราให้อยู่ในสภาพดี ปราศจากการติดต่อของเชื้อโรคและสิ่งเป็นพิษต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ และการดำรงชีวิตของมนุษย์   ดังนั้น กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลดอนรักร่วมกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนรัก และชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลดอนรัก มีแนวคิดจะกระตุ้นการกำจัดระบบสุขาภิบาลที่ดี และสิ่งแวดล้อมที่ปราศจากแหล่งแพร่กระจายของโรคและพาหะนำโรค แหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย จึงจัดทำโครงการประกวดบ้านน่าอยู่ในตำบลดอนรัก อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เพื่อยกระดับสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน การเข้ามีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านสุขภาพชุมชน ใช้ความพยายามของชุมชนเองเป็นหลัก เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายสูงสุด คือ สุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี ยังยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างสุขนิสัยที่ดีของประชาชนในท้องถิ่น

ร้อยละ 80 ของประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการมีสุขนิสัยที่ดีในการรักษาความสะอาด

50.00 100.00
2 เพื่อเป็นการกระตุ้น และปลูกฝังสร้างจิตสำนึก ในการรักษาความสะอาด

ร้อยละ 80 ของประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการ มีจิตสำนึก ในเรื่องความสะอาดและการรักษาความสะอาด

30.00 100.00
3 เพื่อป้องกันและควบคุมโรคระบาดในชุมชน

ร้อยละ 80 ของประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการสามารถป้องกันและควบคุมโรคระบาดในชุมชนได้

40.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 103 25,000.00 0 0.00
17 มี.ค. 64 - 31 พ.ค. 64 1.ประชาสัมพันธ์โครงการ และรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ 0 0.00 -
1 - 31 พ.ค. 64 2.กิจกรรมรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ 0 0.00 -
1 มิ.ย. 64 - 31 ส.ค. 64 3.กิจกรรมย่อย กิจกรรมลงพื้นที่ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคและกิจกรรมประกวดบ้านสร้างสุข 103 25,000.00 -

กิจกรรมเตรียมความพร้อม 1. จัดประชุมคณะกรรมการ และคณะทำงานสุขภาพชุมชนเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ 2. ประชาสัมพันธ์ รับสมัครเด็กและเยาวชนมุสลิมเข้าร่วมโครงการ 3. จัดตารางเวลา กำหนดการเพื่อให้บริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชนมุสลิม กิจกรรมให้บริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม 1. กิจกรรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ (การป้องกันโรคติดต่อ) แก่เด็กและเยาวชนเป้าหมาย รวมทั้งผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรค 2. กิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision)

กิจกรรมการประเมินผล         1. การติดตามและประเมินอาการหลังการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย และความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็ก         2. สรุปผลการดำเนินโครงการในภาพรวม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในตำบลดอนรักสามารถมีสุขนิสัยที่ดีในการรักษาความสะอาด
  2. สามารถกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจในการส่งเสริมการรักษาสภาพบริเวณบ้านให้สะอาด
  3. ประชาชนในชุมชนสามารถป้องกันและควบคุมแหล่งเพาะพันธ์และพาหะนำโรค
  4. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และโรคชิกุนกุนยาลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2564 11:56 น.