กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19)
รหัสโครงการ 64-L8423-5-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ แกนนำสุขภาพชุมชนหมู่ที่ 1 ตำบลบาโงสะโต
วันที่อนุมัติ 22 ตุลาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 กุมภาพันธ์ 2564 - 17 กุมภาพันธ์ 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มีนาคม 2564
งบประมาณ 9,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซารียะ สะมะแอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.277,101.691place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) คาดการณ์ว่าการแพร่ระบาดระลอกใหม่ในไทยครั้งนี้ อาจจะรุนแรงมากกว่าเดิม เพราะหากดูจากสถิติการแพร่ระบาดรอบ2 จาก 75 ประเทศ พบว่า ร้อยละ90 เป็นเช่นนั้น ดูจากจำนวนผู้ติดเชื้อสูงสุดต่อวันจะเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่าตัว และต้องใช้ระยะเวลาในการควบคุมการระบาดนานขึ้นถึง 2 เท่า หากไทยเข้าสู่การแพร่ระบาดระลอก 2 อย่างเต็มตัว ก็อาจจะมีผู้ติดเชื้อต่อวันสูงถึงกว่า 900 คน และต้องใช้เวลาควบคุมสถานการณ์นานถึง 3 เดือน สาเหตุที่ทำให้การแพร่เชื้อโควิด-19 ระลอก 2 รุนแรงขึ้น มีอยู่หลายปัจจัย ตั้งแต่การตัดสินใจแก้ปัญหาช้า เช่น ล็อกดาวน์ช้า รวมถึงระบบตรวจคัดกรองเชิงรุกที่ไม่ทั่วถึง เพราะมีคนจำนวนมากที่ไม่แสดงอาการ ซึ่งการตรวจเฉพาะผู้ที่แสดงอาการ จะไม่ทันต่อการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ปัจจัยต่อมาคือสภาพอากาศที่ไม่ถ่ายเท เช่น การแพร่เชื้อจากตลาด และอีกปัจจัยสำคัญคือ การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส ซึ่งปัจจุบันที่กระจายอยู่ทั่วโลกแทบจะไม่ใช่สายพันธุ์อู่ฮั่นแล้ว แต่เป็นสายพันธุ์ G ที่ระบาดจาก จ.สมุทรสาคร ในบ้านเราเช่นกัน ซึ่งปัจจุบันตามข้อมูลพบว่าไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ไปแล้ว 8 สายพันธุ์ทั่วโลก แต่สายพันธุ์ G มีสัดส่วนมากที่สุดในการระบาดระลอกนี้ ลักษณะของมัน แม้ความรุนแรงของอาการจะไม่มากไปกว่าเดิม แต่ในแง่ของการแพร่กระจาย จะรวดแร็วกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม 8-9 เท่าตัว ประเทศไทยพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ทั้งสิ้น 12,052 ราย เสียชีวิต 70 ราย รักษาตัว 2,969 ราย รักษาหาย 9,015 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 17 มกราคม 2564) ดังนั้น เพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) แก่ประชาชนมิให้เสี่ยงต่อการสัมผัสโรค มาตรการในการป้องกันที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการระบาดของโรค และตามหนังสือด่วนที่สุดที่ นธ 0023.3/ว 1102 ลงวันที่  มีนาคม 2563 เรื่องการดำเนินการขับเคลื่อน “โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ” นั้น ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรื่องหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 ข้อ 10 (5) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ นั้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการและเสนอโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ตำบลบาโงสะโต เพื่อพิจารณาอนุมัติ
  2. ประชุมคณะกรรมการชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบาโงสะโต
  3. วางแผนกำหนด วัน เวลา สถานที่ ในการจัดโครงการ
  4. ติดต่อประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดต่อวิทยากร
  5. ดำเนินโครงการตามวัน เวลา ที่กำหนด   - กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19)
    • กิจกรรมตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายให้กับประชาชนที่มีความเสี่ยงและในสถานที่ที่มีการรวมกลุ่มของประชาชนจำนวนมาก เช่น การจัดประชุม/อบรม งานบุญ งานศพ และในพื้นที่ประกอบศาสนกิจ (มัสยิด)
    • กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และคำแนะนำแก่ประชาชนทั่วไปและประขาชนกลุ่มเสี่ยง
  6. เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อสรุปและประเมินผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) 2.ประชาชนสามารถป้องกันโรคระบาดด้วยตนเอง 3.ประชาชนตระหนักในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2564 14:43 น.