กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริม และเฝ้าระวังสุขภาวะทันตสุขภาพเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
รหัสโครงการ L1527-64-03-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 กุมภาพันธ์ 2564 - 10 มีนาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มีนาคม 2564
งบประมาณ 3,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยุวลักษณ์ ศิริพลบุญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาขาว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.811,99.618place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 36 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 36 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวได้ดำเนินโครงการส่งเสริม และเฝ้าระวังสุขภาวะทันตสุขภาพเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว เมื่อปีการศึกษา 2562 และจากการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพช่องปากของเด็กปฐมวัยจากผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการ พบว่าส่วนใหญ่เป็นผู้ปกครองที่เลือกขนมให้เด็กทานเอง คิดเป็นร้อยละ 52.50 รองลงมาเป็นเด็กเลือกเองคิดเป็นร้อยละ 47.50 และส่วนใหญ่เด็กได้ทานขนมเพราะเด็กร้องขอมากถึงร้อยละ 77.50 โดยเด็กจะมีความถี่ในการทานขนมเฉลี่ยใน 1 วัน มากที่สุดคือ มากกว่า 3 ครั้งต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 60.00 รองลงมา คือ 1-2 ครั้งต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 40.00 ในจำนวนผู้ปกครอง 40 คน ที่ได้ตอบแบบสอบถาม มีเด็กปฐมวัยของศูนย์ฯ จำนวน 7 คน ที่ยังไม่เลิกขวดนมและใน 7 คนนี้ได้รับนมขวดหรือของเหลวที่ใส่ในขวดนมเป็นนมผสม ร้อยละ 100.00 โดยไม่เคยหลับคาขวดนม ร้อยละ 100.00 และไม่เคยดื่มน้ำตามหลังจากดูดนม คิดเป็นร้อยละ 71.44 จากข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพช่องปากของเด็กปฐมวัยที่ได้รับส่วนใหญ่ที่ยังไม่เลิกขวดนมเรียนอยู่ในระดับชั้นเตรียมปฐมวัย ซึ่งจะศึกษาต่อในระดับปฐมวัยชั้นปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2563 ทางศูนย์ฯ ได้แนะนำให้ผู้ปกครองหมั่นดูแลรักษาสุขภาพเด็กในปกครองให้พยายามเลิกขวดนม เพื่อก้าวข้ามสู่ระดับชั้นที่สูงขึ้นในลำดับต่อไป และแนะนำให้ทานขนมเฉพาะในมื้ออาหารเท่านั้น เนื่องจากฟันผุในเด็กเริ่มพบได้ตั้งแต่อายุ 9 เดือน และพบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปี ฟันที่ผุทำให้เกิดปัญหาตามมาหลายอย่าง เช่น เด็กไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ นอนไม่หลับ และสูญเสียพลังงานเพิ่มขึ้นจากการติดเชื้อในช่องปาก ส่งผลให้เด็กเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เกิดภาวะเตี้ยแคระแกร็น และมีเส้นรอบวงสมองเล็กกว่าเด็กปกติได้ ประกอบกับพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 (แก้ไขเพิ่มเติม ถึง ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562) หมวด 2 ส่วนที่ 3 อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล มาตรา 67 ภายใต้ข้อบังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล (5) จัดการ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและการฝึกอบรม ให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็กตามแนวทางที่เสนอแนะจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (9) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่จัดการศึกษา ต้องดำเนินการตามความพร้อมและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับให้การศึกษาเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย จึงเป็นอีกภารกิจหนึ่งที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องรับผิดชอบ ร่วมกับผู้ปกครองของผู้เรียน


                                /งานการศึกษา...
      งานการศึกษา สังกัดสำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว มีหน้าที่สนับสนุนและส่งเสริม        ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริม และเฝ้าระวังสุขภาวะทันตสุขภาพเด็กปฐมวัย ขึ้นเพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับการบริการด้านสุขภาวะทันตสุขภาพต่อเนื่องทุกปี และเพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมและเฝ้าระวังสุขภาวะทันตสุขภาพของนักเรียนได้อย่างถูกต้อง แต่ทั้งนี้จะต้องร่วมมือกันหลายฝ่าย เช่น ครู ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขรวมถึงหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อให้การดำเนินการส่งเสริมและเฝ้าระวังสุขภาวะทันตสุขภาพประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับการบริการด้านสุขภาวะทันตสุขภาพต่อเนื่องทุกปี

2.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน  76  คน 1. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว จำนวน   36  คน 2.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ       1. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว ได้รับการบริการด้านสุขภาวะทันตสุขภาพต่อเนื่องทุกปี

0.00
2 2. เพื่อให้ครู ผู้ดูแลเด็ก บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมและเฝ้าระวังสุขภาวะทันตสุขภาพของนักเรียนได้อย่างถูกต้อง

2.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน  76  คน 2. ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว จำนวน    36  คน 3. ครู ผู้ดูแลเด็ก นักวิชาการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ จำนวน      4  คน 2.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ 2. ครู ผู้ดูแลเด็ก บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมและเฝ้าระวังสุขภาวะทันตสุขภาพของนักเรียนได้อย่างถูกต้อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. ประชุมครู ผู้ดูแลเด็กและผู้เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางในการดำเนินการโครงการ
  2. จัดทำ และขออนุมัติโครงการและขอความร่วมมือในการดำเนินงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    1. ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ)0405.2/ว119 ลงวันที่ 7 มีนาคม 2561 เรื่อง แนวทางการปฏิบัติในการดำเนินการจัดหาพัสดุที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมของหน่วยงานของรัฐ
  3. จัดกิจกรรมที่จะดำเนินการตามโครงการ ดังนี้
    4.1 กิจกรรมบรรยายให้ความรู้ แก่ผู้เข้าร่วมโครงการในหัวข้อ
      - ความสำคัญ ประโยชน์ในการส่งเสริม และเฝ้าระวังสุขภาวะทันตสุขภาพนักเรียน   - อาหารที่มีผลในการส่งเสริมและเฝ้าระวังสุขภาวะทันตสุขภาพนักเรียน   - สาเหตุ การรักษา และการป้องกันโรคในช่องปากของนักเรียนและวิธีการดูแลรักษาสุขภาวะทันต     สุขภาพนักเรียน 4.2 กิจกรรมตรวจสุขภาพภายในช่องปาก และฟัน และเคลือบฟลูออไรด์
    1. ประเมินผลการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการ งบประมาณดังนี้ ขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเขาขาว จำนวน 3,700.- บาท                (สามพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน)  มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 6.1 ค่าป้ายตกแต่งสถานที่ “โครงการส่งเสริม และเฝ้าระวังสุขภาวะทันตสุขภาพเด็กปฐมวัย”
      ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 1 ผืน        เป็นเงิน  500 บาท 6.2 ค่าโฟมบอร์ดประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ผู้ปกครอง
      ขนาด 1 x 1 เมตร จำนวน 2 แผ่น ๆ ละ 500 บาท        เป็นเงิน 1,000 บาท   6.3 ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คน ๆ ละ 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท    เป็นเงิน 1,200 บาท   6.4 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท จำนวน 40 คน      เป็นเงิน 1,000 บาท ...ขอถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ... กำหนดการ โครงการส่งเสริม และเฝ้าระวังสุขภาวะทันตสุขภาพเด็กปฐมวัย ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว วันศุกร์ ที่ 5 มีนาคม 2564


เวลา  08.00-09.00 น.  ลงทะเบียน และผู้ปกครองนักเรียน ทำแบบทดสอบก่อนรับการ                             อบรม เวลา  09.00-11.00 น.  กิจกรรมบรรยายให้ความรู้ แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
                            พร้อมแนะนำวิธีการแปรงฟันที่ถูกต้อง
เวลา  11.00-11.30 น.  พักรับประทานอาหารว่าง และผู้ปกครองนักเรียน
                            ทำแบบทดสอบหลังรับการอบรม เวลา  13.30-15.00 น.  กิจกรรมตรวจสุขภาพภายในช่องปาก และฟัน
                            พร้อมเคลือบฟลูออไรด์สำหรับเด็กปฐมวัย     ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กปฐมวัยได้รับการบริการด้านสุขภาวะทันตสุขภาพต่อเนื่องทุกปี
  2. ครู ผู้ดูแลเด็ก บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมและเฝ้าระวังสุขภาวะทันตสุขภาพของนักเรียนได้อย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2564 08:59 น.