กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดอาการชาเท้าในผู้ป่วยเบาหวานด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
รหัสโครงการ L1527-64-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2564
งบประมาณ 13,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวเนตรชนก จันทร์พุ่ม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาขาว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.811,99.618place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล
โรคเบาหวาน เป็นปัญหาด้านสุขภาพและปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของหลายประเทศ สำหรับประเทศไทยและประเทศทางแถบเอเชียนั้น ผู้เป็นเบาหวานร้อยละ 99 เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ มากมายทั้งชนิดเฉียบพลัน เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และการติดเชื้อ ภาวะแทรกซ้อนชนิดเรื้อรังได้แก่ ไตวาย แผลเรื้อรังที่เท้า ต้อกระจกและตาบอด โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง เป็นต้น และภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญมากของโรคเบาหวานที่ต้องให้ความสนใจไม่น้อยไปกว่าภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ นั่นก็คือ แผลที่เท้า แผลที่เท้าเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีมักก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบประสาทรับความรู้สึกส่วนปลาย ทำให้บริเวณเท้าชา ไม่รู้สึกเจ็บปวด ไม่รับรู้แรงกดดัน หรืออาจสูญเสียการรับรู้ร้อนหนาวได้ สิ่งเหล่านี้ทำให้ง่ายต่อการเกิดอุบัติเหตุ หรือแม้แต่เมื่อมีแผลเกิดขึ้นที่เท้าก็จะไม่รู้สึกเจ็บทำให้แผลนั้นลุกลาม ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว มีกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งมีจำนวนหนึ่งที่เป็นเรื้อรังมานาน ส่งผลให้เกิดการอักเสบของเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการต่างๆตามที่เส้นประสาทไปเลี้ยง ได้แก่ ชาปลายมือปลายเท้า นำไปสู่การเกิดแผลที่เท้าได้ง่าย ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย หลอดเลือดแดงตีบทำให้การอักเสบลุกลามง่าย แผลหายยากเมื่อเกิดเนื้อตาย โอกาสตัดเท้าสูง ทั้งยังส่งผลกระทบด้านการเงิน เวลา การทำงาน ความทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ได้เห็นถึงความสำคัญในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจมีปัญหาอาการแทรกซ้อนจากการที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง การปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการเสื่อมถอยทางด้านสมรรถภาพทางด้านร่างกายจึงจัดให้มีการส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูร่างกายในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการชาเท้าด้วยการแช่เท้าลดอาการเท้าชา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 80 ได้รับการดูแลเท้าด้วยการแพทย์แผนไทย

1.กลุ่มเป้าหมายได้รับ การดูแลเท้าด้วยการแพทย์แผนไทย ร้อยละ 80

0.00
2 2.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ชาเท้าร้อยละ 80 ของ ได้รับการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดส่วนปลาย อาการชาเท้าลดลง

2.กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดส่วนปลาย  มีอาการชาปลายเท้าลดลง ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ/ขั้นตอนดำเนินงาน

กิจกรรม เดือน ตค. 63 พย. 63 ธค. 63 มค. 64 กพ. 64 มีค.64 เมย.64 พค.64 มิย.64 กค.64 สค.64 กย.64 1. จัดทำโครงการ

2. เสนอโครงการเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการ

3. ชี้แจงโครงการและระยะเวลาดำเนินงาน

4. ขออนุมัติโครงการ/จัดซื้อตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560

5. ดำเนินโครงการ ขั้นเตรียมการ 1. เขียนโครงการ เสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ 2. กำหนดแผนร่วมกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 3. ประชุมชี้แจงโครงการให้แก่สมาชิก อสม. เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์โครงการแก่ผู้ป่วยเบาหวานเพื่อเชิญชวนเข้าร่วมโครงการ 4. จัดทำเอกสาร เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือที่เกี่ยวข้องในการจัดอบรม ขั้นดำเนินการ 1. เชิญกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ 2. เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือที่เกี่ยวข้องในการจัดอบรม 3. อบรมให้ความรู้เรื่องอาการแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน 4. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับท่าบริหารร่างกายด้วยฤาษีดัดตนลดอาการชาปลายเท้า 5. กิจกรรมสาธิตการรักษาอาการชาเท้าด้วยการแช่เท้าสมุนไพรตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย

6. สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงานโครงการ
งบประมาณ 1. ระบุกิจกรรมอบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาชาปลายเท้า จำนวน 50 คน ค่าอาหาร 1) ค่าอาหารว่างผู้เข้ารับการอบรม 25 บาท x 2 มื้อ x 50 คน    เป็นเงิน 2,500 บาท 2) ค่าอาหารกลางวันผู้เข้ารับการอบรม 50บาท x 1 มื้อ x 50 คน  เป็นเงิน 2,500 บาท ค่าวัสดุสำนักงาน - ค่าแผ่นป้ายไวนิลโครงการขนาด 1x3 เมตร จำนวน 1 แผ่น    เป็นเงิน 500 บาท   3. กิจกรรมสาธิตการรักษาอาการชาปลายเท้า เป็นเงิน 2,850 บาท เป็นค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ ค่าวัสดุสาธิต มะกรูด เป็นเงิน  600 บาท ขมิ้น  เป็นเงิน  800 บาท ไพล  เป็นเงิน  450  บาท
ใบบัวบก  เป็นเงิน  400 บาท ใบย่านาง  เป็นเงิน  400  บาท ใบมะขาม เป็นเงิน  200  บาท 4. กะละมัง 50ใบๆ ละ 30 บาท                เป็นเงิน 1,500 บาท 5.ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท            เป็นเงิน  3,600 บาท วันที่ 1 มีนาคม 2564 – วันที่ 31 สิงหาคม 2564 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น .......13,450.......บาท (....หนึ่งหมื่นสามพันสี่ร้อยห้าสิบบาทถ้วน....)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. กลุ่มเป้าหมายได้รับ การดูแลเท้าด้วยการแพทย์แผนไทย ร้อยละ 80 2. กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดส่วนปลาย มีอาการชาปลายเท้าลดลง ร้อยละ 80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2564 10:29 น.