กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการติดตาม เฝ้าระวัง การเกิดภวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการติดตาม เฝ้าระวัง การเกิดภวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ L336325641007
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.ศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ)
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 27,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอรวรรณ์ ทวีโชติ
พี่เลี้ยงโครงการ รพ.ศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ)
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรค NCDs (non-communicable diseases) เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่แพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรม ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคคือ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม และการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ (STEMI) และโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
    สถานการณ์ในปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (์NCDs) เป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลกและของประเทศไทย ประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ถือเป็นภัยเงียบหรือวิกฤตการณ์ทางสุขภาพ โดยกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหากไม่มีการติดตาม เฝ้าระวัง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อาจส่งผลให้เกิดกลุ่มป่วยได้ ซึ่งอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและเสียชีวิตได้ สัดส่วนของผู้เป็นเบาหวานที่ไม่ทราบว่าตนเองเป็นเบาหวาน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 31.2 ในปี 2552 เป้ฯร้อยละ 43.1 ในปี 2557 และผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง ไม่ทราบว่าตนเองเป็นความดันสูง จากร้อยละ 50.3 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 44.7 ในปี 2557 (วิชัย เอกพลากร, 2557) แสดงให้เห็นว่าผู้ใหญ่ไทยที่เป็นเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูงมากกว่าร้อยละ 40 ไม่ได้รับการวินิจฉัย ดังนั้น แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2562 จึงได้กำหนดวิธีการคัดกรอง วินิจฉัย ขึ้นทะเบียนและรักษา เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว และที่สำคัญการติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงก็มีความสำคัญในการลดการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ และป้องกันอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนของโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเข้าถึงบริการของกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน และได้รับการติดตามระดับน้ำตาลในเลือดซ้ำ โดยให้ระบบ HosXp ในการบันทึกข้อมูล

เพิ่มขึ้นร้อยละ 30

160.00
2 เพื่อการเข้าถึงบริการของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง และได้รับการติดตามระดับความดันที่บ้าน โดยใช้ระบบ HosXp ในการบันทึกข้อมูล

เพิ่มขึ้นร้อยละ 60

160.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 กิจกรรมที่ 1 การติดตาม เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 160 27,000.00 0 0.00
1 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 การติตดาม เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวาน 3 ระยะ 160 27,000.00 -
  1. ขั้นเตรียมการ
    • จัดทำแผนงานโครงการ เสนอโครงการ
    • จัดทำแผนปฏิบัติงานกำหนดตารางดำเนินโครงการ
    • เตรียมวัสดุอุปกรณ์
    • เผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการฯ ผ่านการประชุมหมู่บ้าน การประชุม อสม.
  2. ขั้นดำเนินการ
    • วัดความดันโลหิตที่บ้าน 7 วัน
    • วัดระดับน้ำตาลในเลือด
    • ให้สุขศึกษารายกลุ่มที่มารับบริการ
  3. ขั้นการติดตามประเมินผล
    • ติดตามระยะ 1 เดือน (ติดตามกลุ่มสงสัยป่วย) พบแพทย์ที่โรงพยาบาล
    • ติดตามระยะ 3 เดือน (ติดตามกลุ่มเสี่ยงสูง) กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง ติดตามโดยเจ้าหน้าที่/อสม. โดยวัดความดันที่บ้าน 7 วัน กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ติดตามระดับน้ำตาลในเลือด
    • ติดตามระยะ 6 เดือน (ติตดามกลุ่มเสี่ยง) ติดตามโดย อสม. อย่างต่อเนื่อง
  4. ขั้นตอนการสรุปผลการดำเนินโครงการ
    • การรวบรวมข้อมูลโดยใช้ระบบ (HosXp)
    • วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินผลการดำเนินงานโครงการฯ เป็นรายหมู่บ้าน
  5. จัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ความครอบคลุมการเข้าถึงบริการของกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน และความดันโลหิตสูง
  2. ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน/เสียชีวิตในกลุ่มเสี่ยงฯ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2564 11:25 น.