กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ดูแลกันวันละนิด พิชิตฟันสวย
รหัสโครงการ 64-L5295-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านทุ่งดินลุ่ม
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2564
งบประมาณ 14,994.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสะบัน สำนักพงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าแก่บ่อหิน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.048,99.817place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 42 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 41 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคฟันผุสูงในกลุ่มเด็กเล็กนับเป็นปัญหาที่สำคัญ จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของประชาชนตามกลุ่มอายุในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งดินลุ่ม ประจำปี 2563  พบว่าในกลุ่มเด็กอายุ 3 ปี ร้อยละของเด็กฟันผุ เท่ากับ 59.10 ซึ่งนับว่าสูงมากเมื่อเทียบกับระดับประเทศ(ร้อยละ 48.2) และระดับจังหวัด (ร้อยละ 60.79) ในกลุ่มเด็กอายุ 12 ปี ในเขต มีร้อยละของเด็กฟันผุ เท่ากับ 41.33 เทียบกับระดับประเทศ (ร้อยละ 64.25) และระดับจังหวัด (ร้อยละ 54.06) ซึ่งสะท้อนว่า การดำเนินงานโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กวัยเรียนที่ผ่านมา ซึ่งมีกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การให้ทันตสุขศึกษาแก่หญิงมีครรภ์ที่มาฝากครรภ์ การให้ทันตสุขศึกษาแก่มารดาหรือผู้ปกครองที่พาเด็กมารับวัคซีนในคลินิกเด็กดี การตรวจฟันเด็ก รวมถึงการมอบแปรงสีฟันอันดับแรกของหนูแก่เด็กที่มารับวัคซีนนั้นไม่เพียงพอในการแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากเด็กเล็กหรือเด็กวัยเรียนได้ แสดงว่าการทำงานแบบตั้งรับของทันตบุคลากร การป้องกันโรคที่มีรูปแบบตายตัวและเหมือนๆ กันในทุกพื้นที่ไม่สามารถเข้าถึง และไม่สอดคล้องกับการดำรงชีวิตของประชาชน ทำให้ประสิทธิผลของโครงการที่ได้ค่อนข้างต่ำ ดังนั้น การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากควรให้ความสำคัญกับโลกทัศน์ของตัวบุคคลนั้นๆและผู้มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงดูเด็กเพื่อการดูแลที่เหมาะสมต่อบริบทที่หลากหลายมิใช่เพียงการใช้มุมมองของทางการแพทย์ รวมถึงการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง เป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยทาให้เกิดการดูแลสุขภาพได้ยั่งยืนและมีความเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ด้วย
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งดินลุ่มจึงได้ทำโครงการ “ดูแลกันวันละนิด พิชิตฟันสวย” ประจำปี 2564 ขึ้นโดยให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาฟันผุในทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการดำเนินงาน และส่งผลให้ประชากรมีสภาวะทันตสุขภาพที่ดีในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและได้รับทันตสุขศึกษา

กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ไม่น้อยกว่าร้อยละ  85

85.00
2 กลุ่มเป้าหมายได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี

กลุ่มเป้าหมายมีทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธีหลังจากการประเมินทุกๆ 3 เดือน

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 167 14,994.00 2 14,994.00
10 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 อบรมให้ความรู้ทันตสุขภาพ 42 7,574.00 -
16 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมเสริมทักษะกลุ่มเป้าหมาย 125 7,420.00 -
2 ส.ค. 64 อบรมให้ความรู้ทันตสุขภาพ 0 0.00 8,074.00
4 ส.ค. 64 เสริมทักษะกลุ่มเป้าหมาย 0 0.00 6,920.00

1.จัดทำโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ 2.ชี้แจงโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง 3.จัดตั้งคณะกรรมการ 4.ประชาสัมพันธ์โครงการ 5.ดำเนินกิจกรรมตามแผน 6. ประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง
    1. กลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ได้รับคำแนะนำ ได้รับบริการทางทันตกรรม และส่งต่อมารับการรักษาที่จำเป็นที่โรงพยาบาล
  2. กลุ่มเป้าหมายสามารถแปรงฟันของตนเองได้อย่างถูกวิธี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2564 14:00 น.