กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการอนามัยโรงเรียนกิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้นำเด็กและเยาวชนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคต่างๆที่เกิดจากยุงเป็นพาหะ (อสม.จิ๋วแต่แจ๋ว) ปีงบประมาณ 2564

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอนามัยโรงเรียนกิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้นำเด็กและเยาวชนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคต่างๆที่เกิดจากยุงเป็นพาหะ (อสม.จิ๋วแต่แจ๋ว) ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5166-3-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดเลียบ
วันที่อนุมัติ 10 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 15,312.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวิลาวรรณ แก่นจันทร์
พี่เลี้ยงโครงการ นายอดินันต์ ยามาสัน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โครงการอนามัยโรงเรียน เป็นโครงการหลักของทุกโรงเรียน ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บริการความรู้  ที่ถูกต้องตามหลักการป้องกันการเกิดโรค หรือดูแลรักษาเบื้องต้นกรณีเกิดอุบัติเหตุเล็กน้อย ตลอดจนการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนตามหลักโภชนาการ ส่งเสริมให้นักเรียนและบุคลากรมีสุขภาพดี สมบูรณ์พร้อมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม  อันเป็นการพัฒนาคนตามนโยบายของทางราชการ สำหรับระดับโรงเรียนนอกจากการให้บริการให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพของตนเองและสมาชิกในครอบครัว นอกจากนี้โรงเรียนยังส่งเสริมให้นักเรียนมีความเป็นผู้นำ มีจิตอาสา และมีทัศนคติด้านสุขอนามัยที่ถูกต้อง โครงการอนามัยโรงเรียนจึงเป็นโครงการต่อเนื่อง เป็นผลมาจาก สามารถจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้มีประสบการณ์ในการพัฒนาตนเองในทุกด้านตลอดจนสามารถพัฒนาครอบครัว ชุมชน ได้อย่างต่อเนื่อง       ปัจจุบันพบว่า มีโรคติดต่อจำนวนมากเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องมีความรู้ในการดูแลตนเองและครอบครัว การป้องกันภัยจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมและสร้างกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ จึงเห็นว่าการให้ความรู้กับเยาวชน/นักเรียนในโรงเรียนจะสามารถลดอัตราการเกิดโรคต่างๆได้ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้แกนนำ ( อสม.จิ๋วแต่แจ๋ว) มีความรู้และรับผิดชอบในส่วนของ โรงเรียน บ้าน วัด เพื่อสร้างเสริมและป้องกันโรคในพื้นที่ หากกิจกรรมดังกล่าวดำเนินได้เป็นอย่างดีจะพัฒนาไปสู่การส่งเสริมและป้องกันโรคติดต่อ และไม่ติดต่อในอนาคตจึงจัดทำ โครงการอนามัยโรงเรียน กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้นำเด็กและเยาวชนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคต่างๆที่เกิดจากยุงเป็นพาหะ (อสม.จิ๋วแต่แจ๋ว)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3-6 มีความรู้ความเข้าใจโรคติดต่อและไม่ติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ
  1. ร้อยละ 90 นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3-6 มีความรู้ความเข้าใจโรคติดต่อและไม่ติดต่อที่มียุงเป็นพาหะโดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
90.00
2 ที่ 2. เพื่อให้ค้นหานักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3-6 มีความรู้ความเข้าใจโรคติดต่อและไม่ติดต่อที่มียุงเป็นพาหะและสามารถเป็นแกนนำ ( อสม.จิ๋วแต่แจ๋ว) ของโรงเรียน
  1. ร้อยละ 100 เจ้าหน้าที่สามารถค้นหานักเรียนเป็นแกนนำ (อสม.จิ๋วแต่แจ๋ว) ของโรงเรียนได้ตามเป้าหมาย (จำนวน 10 คน)
100.00
3 3.เพื่อให้โรงเรียนเป็นเขตปลอดยุง
  1. ร้อยละ 100 โรงเรียนเป็นเขตปลอดยุงและได้รับรางวัลสถานศึกษาปลอดยุง ระดับ ดีเยี่ยม
100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรม พัฒนาศักยภาพผู้นำเด็กและเยาวชนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคต่างๆที่เกิดจากยุงเป็นพาหะ (อสม.จิ๋วแต่แจ๋ว) 1. ประชุมคณะครูชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ 2. ติดต่อประสานงานทางโรงพยาบาลคลองหอยโข่ง เพื่อขอบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจโรคติดต่อ และไม่ติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ เบื้องต้น 3. แจ้งนักเรียน คณะครูและเจ้าหน้าที่ รับทราบ วัน เวลา สถานที่ ประชาสัมพันธ์ผู้ปกครอง 4. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับนักเรียน และคัดเลือก อสม.จิ๋วแต่แจ๋ว โรงเรียนวัดเลียบ 7. ให้รางวัลนักเรียนที่มีได้รับคัดเลือกจากการคัดเลือกของเจ้าหน้าที่ 8. ลงพื้นที่บริเวณโรงเรียนเพื่อฝึกปฏิบัติจริง 9. สรุปผลการจัดกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3-6 มีความรู้ความเข้าใจโรคติดต่อและไม่ติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ
  2. กลุ่มกลุ่ม(อสม.จิ๋วแต่แจ๋ว) มีการพัฒนาศักยภาพในการจัดการทางสุขภาพ
  3. กลุ่ม(อสม.จิ๋วแต่แจ๋ว) เกิดการบูรณาการร่วมกันในการทำงานของหน่วยงาน กลุ่มองค์กร จิตอาสา ในการดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัว และในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2564 00:00 น.