กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมโภชนาการและอาหารปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุุ
รหัสโครงการ 64-L1542-2-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลตะเสะ
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 กุมภาพันธ์ 2564 - 24 กุมภาพันธ์ 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มีนาคม 2564
งบประมาณ 16,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจินตนา สามทอง
พี่เลี้ยงโครงการ นายกิตติศักดิ์ บุญทอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะเสะ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.033,99.449place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 18 ก.พ. 2564 18 ก.พ. 2564 16,200.00
รวมงบประมาณ 16,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุมีปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ ปัจจัยทางกรรมพันธุ์ และปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม พบว่าสภาพแวดล้อมที่มีความสำคัญก็คือ ภาวะโภชนาการ และวิถีทางดำเนินชีวิต การที่ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือได้มากเกินไป มีผลซ้ำเติมอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งมีแนวโน้มจะเสื่อมอยู่แล้วให้เสื่อมยิ่งขึ้น การส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุ จึงต้องคำนึงถึงความต้องการสารอาหาร โดยเน้นความสมดุลความพอเหมาะพอดี และความหลากหลายของอาหาร นอกจากนี้การออกกำลังกาย การผ่อนคลายทางกาย ทางจิต และการหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นพิษ ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับพื้นฐานการมีสุขภาพดีของผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ เนื่องจากระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทำงานด้อยลง การรับรู้รสและกลิ่นน้อยลง ทำให้ความอยากอาหารลดลงด้วย ประกอบกับมีปัญหาเรื่องเหงือกและฟัน และระบบการย่อย การดูดซึมอาหารไม่ดี จึงทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ บางทีก็ท้องผูกมีโอกาสเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย ปัญหาของผู้สูงอายุในเรื่องอาหารการกิน จึงมีปัญหาทั้งกินไม่ได้และกินไม่พอจนทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร เช่น การขาดแร่ธาตุแคลเซียม เหล็ก และขาดวิตามินต่างๆ ถ้าผู้สูงอายุได้อาหารบางอย่างมากไปไม่ถูกส่วน หรือไม่ได้ครบ 5 หมู่ ก็อาจเกิดปัญหาโรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ไขมันอุดตันในหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะชะลอหรือป้องกันได้ถ้าผู้ที่อยู่ใกล้ชิดหรือมีความเกี่ยวข้องต่างๆ ให้ความเอาใจใส่ แนะนำเกี่ยวกับเรื่องการบริโภคอาหาร  จากวิถีชีวิตของชุมชน การดูแลด้านโภชนาการของผู้สูงวัย ควรคำนึงถึงสภาพการณ์ต่างๆ เช่น อาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุในแต่ละสภาวะ และทรัพยากรธรรมชาติที่เรามีอยู่ ซึ่งสามารถดัดแปลงให้เหมาะสมโดยพิจารณาถึงคุณภาพและเศรษฐกิจของครอบครัวเป็นหลัก พร้อมกันนั้นควรต้องยอมรับด้วยว่า อาหารที่เหมาะสมสำหรับคนสูงอายุคนหนึ่ง อาจจะไม่เหมาะสมสำหรับอีกคนหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหน้าที่ทางกายภาพ สภาพของระบบอวัยวะของแต่ละคน ซึ่งโภชนาการที่ดีจะช่วยป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ทั้งนี้ การเตรียมอาหารที่มีคุณภาพ ควรให้ผู้สูงอายุรับประทานได้ครบ 5 หมู่ กินผลไม้มากกว่าขนมหวาน ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องไขมันในเลือดสูง เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ควรลดอาหารที่ไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน เบเกอรี่ และควรหันไปเลือกไขมันเชิงเดี่ยวที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งมีอยู่ในน้ำมันมะกอก น้ำมันคาโบลา น้ำมันรำข้าวแทน ควรจะดูแลน้ำหนักให้สอดคล้องกับอายุและสภาพร่างกายด้วย ขณะที่คนที่เป็นโรคความดันและโรคหัวใจ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีความเค็มหรือมีโซเดียมสูง  ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลตะเสะ จึงเห็นความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งที่กลุ่มผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ตำบลตะเสะ ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม ปรุงอาหารที่สะอาดปลอดภัย ถูกหลักโภชนาการและสุขาภิบาลอาหาร

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการเลือกรับประทานอาหาร ที่เหมาะสม ข้อที่ 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร

ร้อยละ 80  ผู้เข้าร่วมมีความรู้ในการเลือกรับประทานอาหาร  ที่เหมาะสม
ร้อยละ 80  ผู้เข้าร่วมมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
24 - 26 ก.พ. 64 โครงการส่งเสริมโภชนาการและอาหารปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ 60 16,200.00 16,200.00
รวม 60 16,200.00 1 16,200.00

1.เสนอโครงการฯ เพื่อขอรับการสนับสนุน
2. งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ 3. 2 ประสานงานกับผู้ใหญ่บ้าน/ผู้สูงอายุทั้ง 6หมู่บ้าน เพื่อชี้แจงการจัดกิจกรรมตามโครงการฯ 4. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับโภชนาการในผู้สูงอายุ 5. 4.สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. 1.ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมตามวัย
  2. 2.ผู้สูงอายุสามารถเลือกรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการเหมาะสมตามวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2564 10:01 น.