กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูงหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปี 2564

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูงหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L5238-01-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชุมพล
วันที่อนุมัติ 29 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 - 31 พฤษภาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 8,440.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรรณฤดี พฤกษศรี
พี่เลี้ยงโครงการ นางเพียงขวัญ กาญจนเพ็ญ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.603,100.385place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นโรคเรื้อรัง และเป็นปัญหาใหญ่ด้านสาธารณสุขของโลก และของประเทศไทย กลุ่มโรคเรื้อรังเหล่านี้รวมเรียกว่า Metabolic Syndrome ซึ่งเป็นกลุ่มโรคที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตของมนุษย์มากที่สุดในปัจจุบัน  โรคเบาหวานนอกจากจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายแล้ว ยังเชื่อมโยงไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่น อีกมากมาย เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานคือ “ กรรมพันธุ์” และ “สิ่งแวดล้อม” ในส่วนของกรรมพันธุ์นั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญขึ้น เมื่อมีอายุมากขึ้น แม้กรรมพันธุ์จะเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ แต่ก็สามารถควบคุมปัจจัยเรื่องอาหารและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการออกกำลังกายเป็นประจำ ส่งผลโดยตรงต่อการป้องกันโรคเบาหวาน โดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงสูงทางกรรมพันธุ์ อีกทั้งยังพบว่า อายุเฉลี่ยของการเริ่มต้นป่วยเป็นโรคเบาหวานนั้นน้อยลง และมีแนวโน้มจะลุกลามไปถึงเด็กในอนาคตอันใกล้ด้วยวิถีการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป จากผลการคัดกรองโรคความดันและเบาหวาน พบกลุ่มเสี่ยงเพิ่มขึ้นทุกปี การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคดังกล่าว ทั้งในรูปแบบการอบรมเป็นรายกลุ่ม และรายบุคล โดยเฉพาะ ความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรม ต่าง ๆ เช่น ค่ายเบาหวานหรือกิจกรรมชมรมอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะต้น ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเช่นคนปกติ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จึงมีความสำคัญมากในการที่จะลดการเกิดโรคในกลุ่ม Metabolic Syndrome    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชุมพลได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูงหัวใจและหลอดเลือด เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงจากโรคความดันโลหิต และ เบาหวาน ไม่ให้เกิดโรคดังกล่าวในกลุ่มเสี่ยงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หัวใจและหลอด

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.กลุ่มเสี่ยงฯได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 2. กลุ่มเสี่ยงมีอัตราการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 5 3. กลุ่มเสี่ยงมีอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 5
4. กลุ่มเสี่ยงมีความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับปกติหลังเข้าร่วมโครงการ 6 เดือน มากกว่า ร้อยละ 25

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงาน ต่าง ๆ และประชาชน ในพื้นที่ได้รับทราบ     2.กำหนดกลุ่มเป้าหมายจากผลการคัดกรองกลุ่มโรคเสี่ยงรายใหม่     3.จัดการอบรมตามหลักสูตรปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพ ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2564 โดยมีเนื้อหาการอบรมปรับเปลี่ยนฯ ดังนี้     -ด้านความรู้และฝึกปฏิบัติการออกกำลังกาย     -ด้านโภชนาการ     -การหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา สูบบุหรี่
    4.ติดตามให้ความรู้และส่งเสริมกลุ่มเสี่ยงที่ไม่ได้เข้ารับการอบรมอื่น ๆตามภาวะเสี่ยงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่บ้านโดย จนท.ที่รับผิดชอบหมู่บ้าน/อสม.     5.ติดตามกลุ่มเป้าหมายเพื่อประเมินความก้าวหน้า ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการลดโรค 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน รวม 3 ครั้ง และประเมินผล เมื่อครบ 3 ครั้ง     6.สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีความรู้ในการดูแลตัวเองไม่ให้กลายเป็นกลุ่มป่วย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2564 10:39 น.