กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลสุคิริน
รหัสโครงการ 64-L8281-3-22
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ
วันที่อนุมัติ 18 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 46,930.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนูน หลงราม
พี่เลี้ยงโครงการ นายอายิ หะมาดุลลาห์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.952206,101.712545place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 46,930.00
รวมงบประมาณ 46,930.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละ 30 ผู้สูงอายุยังขนาดความรู้ในเรื่องของการดูแลสุขภาพ (คน)
197.00
2 ร้อยละ 50 ผู้สูงอายุขาดการออกกำลังกาย (คน)
328.00
3 ร้อยละ 50 ของผู้สูงอายุขาดความรู้ในเรื่องสิทธิประโยชน์ของตนเอง
328.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 โดยใช้เวลาเพียง 20 ปี ซึ่งเร็วกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนใหญ่ใช้เวลาเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ประมาณ 60 ปีขึ้นไป ประชากรสูงอายุไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยในปี พ.ศ.2548 มีผู้สูงอายุจำนวน 6.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 10.3 และจะเพิ่มเป็นอีก 2 เท่าตัวในปี พ.ศ.2568 เป็น 14 ล้านคน หรือร้อยละ 20 ของประชากร และในปี พ.ศ.2573 ไทยจะมีประชากรสูงอายุประมาณ 1 ใน 4 ของประชากร หรือกว่าร้อยละ 25 ของประชากร การที่อายุยืนยาวขึ้นของผู้สูงอายุส่งผลกระทบทั้งในด้านปัญหาสุขภาพ ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม โดยปัญหาสุขภาพที่พบมากในผู้สูงอายุได้แก่ปัญหา การได้ยินและการมองเห็น การสื่อสาร การเคลื่อนไหวร่างกายและอุบัติเหตุ ปัญหาในการขบเคี้ยวอาหารและการขับถ่าย ปัญหาสภาพจิตใจ โรคสมองเสื่อมและปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง  การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2550 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าโรคเรื้อรังที่คุกคามภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทยมากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงพบถึงร้อยละ 31.7 โรคเบาหวานร้อยละ 13.3 และโรคหัวใจร้อยละ7 ผู้สูงอายุหญิงมีสัดส่วนการเป็นโรคเรื้อรังสูงกว่าผู้ชายยกเว้นในโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และพบว่าผู้สูงอายุที่มีอายุอยู่ในช่วง 70-79 ปี มีสัดส่วนป่วยเป็นโรคเรื้อรังสูงกว่ากลุ่มอายุ 60-69 ปีและกลุ่มอายุ 80 ปี ขึ้นไปทุกโรค แต่ผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต มีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น อายุ 60-69 ปี ร้อยละ 1.8 , อายุ 70-79 ปี ร้อยละ 3.1 และอายุ 80 ปีขึ้นไปร้อยละ 4.8 ตามลำดับ
โรงเรียนผู้สูงอายุ เป็นรูปแบบหนึ่งในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การจัดการศึกษา การพัฒนาทักษะเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และกิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุจะเป็นเรื่องที่ผู้สูงอายุสนใจและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ช่วยเพิ่มพูนความรู้ ทักษะชีวิตที่จำเป็น โดยวิทยากรจิตอาสาหรือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขณะเดียวกันก็เป็นพื้นที่ที่ผู้สูงอายุจะได้แสดงศักยภาพ โดยการถ่ายทอดภูมิความรู้ประสบการณ์ ที่สั่งสมแก่บุคคลอื่น เพื่อสืบสานภูมิปัญญาให้คงคุณค่าคู่กับชุมชนโรงเรียนผู้สูงอายุหลายแห่งตั้งขึ้นโดยใช้อาคารเรียนเก่าของโรงเรียนที่เลิกกิจการหรือตั้งอยู่ในชมรมผู้สูงอายุ
อย่างไรก็ตามการมารับความรู้ในโรงเรียนผู้สูงอายุ รวมถึงการทำกิจกรรมนันทนาการ การฝึกอาชีพ พร้อมกับการออกกำลังกาย การเรียนรู้ถึงวิธีการดูแลสุขภาพ และการดูแลตัวเองนี้จำเป็นต้องจัดให้เหมาะสมกับร่างกาย เช่น เพศ และความแข็งแรงที่มีอยู่ เนื่องจากการออกกำลังกายมากเกินไป หรือหักโหมจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายได้ การออกกำลังกายเป็นประจำจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ รวมถึงการเรียนรู้ถึงการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และเหมาะกับผู้สูงอายุการมีสุขภาพกาย ใจ ที่แข็งแรง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้

มีผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้เหมาะสมตามช่วงวัย

197.00 10.00
2 ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น

มีผู้สูงอายุที่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขในบั้นปลายชีวิต

328.00 20.00
3 ผู้สูงอายุมีศักยภาพ มีความรู้ในสิทธิต่างๆของตนเอง

ผู้สูงอายุสามารถเรียนรู้ในสิทธิประโยชน์ของตนเอง

328.00 40.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : ผู้สูงอายุมีศักยภาพ มีความรู้ในสิทธิต่างๆของตนเอง

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

12 พ.ค. 64 การให้ความรู้เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) และการใช้ชีวิตแบบ New Normal 4,400.00 -
12 พ.ค. 64 - 8 ก.ย. 64 รถรับส่งผู้สุงอายุ 6,400.00 -
19 พ.ค. 64 อบรมการสร้างสุขภาพจิต การพัฒนาจิต กิจกรรม Body Scan 1,775.00 -
2 มิ.ย. 64 การให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง สอนวิธีการทำปุ๋ยหมัก 1,775.00 -
16 มิ.ย. 64 การทำผ้าพันคอจากกระดานตะปู 8,600.00 -
16 มิ.ย. 64 สอนการทำขนมชั้น 2,277.00 -
23 มิ.ย. 64 การเต้นประกอบจังหวะ เต้นบาสโลบ 1,775.00 -
30 มิ.ย. 64 การเต้นประกอบจังหวะ เต้นบาสโลบ 1,775.00 -
7 ก.ค. 64 การเต้นประกอบจังหวะ เต้นบาสโลบ 1,775.00 -
14 ก.ค. 64 การเต้นประกอบจังหวะ เต้นบาสโลบ 1,775.00 -
21 ก.ค. 64 การออกกำลังกายโดยใช้ไม้พลอง 1,775.00 -
4 ส.ค. 64 การฝึกอาชีพการทำเงาะอบแห้ง 2,028.00 -
11 ส.ค. 64 กีฬาผู้สูงอายุ 2,875.00 -
25 ส.ค. 64 การออกกำลังกายโดยใช้ผ้าขาวม้า 5,275.00 -
1 ก.ย. 64 การใช้โทรศัพท์ในชีวิตประจำวัน 1,775.00 -
8 ก.ย. 64 เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง 875.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1 จัดทำโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อเสนอของบประมาณ เพื่อพิจารณาลงนามอนุมัติ 2 ประชุมชี้แจง ทีมงาน เตรียมงานและวางแผนการจัดโรงเรียนผู้สูงอายุ 3 ประชุมชี้แจงการทำหลักสูตรในโรงเรียนผู้สูงอายุ 4 รับสมัครผู้สูงอายุเข้าโรงเรียนผู้สูงอายุ 5 จัดกิจกรรมในโรงเรียนผู้สูงอายุ 6 สรุปประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) ร้อยละ80ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความสุข มีรอยยิ้ม มีกำลังใจไม่เป็นโรคซึมเศร้า และสุขภาพดี 2) ร้อยละ 90 สูงอายุสุขภาพแข็งแรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
3) ผู้สูงอายุห่วงใยไม่ทอดทิ้งกันมีการรวมกลุ่มช่วยเหลือกันและกัน

4) ผู้สูงอายุสามารถเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายให้แก่ครัวเรือนได้ 5) ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสุขภาพของตัวเองและสมาชิก่ในครอบครัว

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ