กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาการเฝ้าระวังโรคมะเร็งปากมดลูก
รหัสโครงการ 64-L3018-01-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.รูสะมิแล
วันที่อนุมัติ 26 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 50,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.รูสะมิแล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.864,101.207place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งของโรคมะเร็งทั้งหมดในผู้หญิงไทย มะเร็งปากมดลูกสลับกันเป็นอันดับ 1 กับ นอกจากนี้อุบัติการณ์มะเร็งปากมดลูกของคนไทย มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากรายงานของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ.2550 พบว่าอัตราอุบัติการณ์ปรับมาตรฐานตามอายุ หรือ Age-Standardized Incidence Rate (ASR)=24.7 ต่อประชากร 100,000 คน/ปี และจะมีผู้ป่วยรายใหม่ที่เป็นมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นประมาณ 6,000 รายในแต่ละปี ผู้หญิงไทยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกประมาณ 5,200 คน หรือเฉลี่ยวันละ 14 คน ผู้ป่วยกว่าร้อยละ 80 มีอายุ 35 ปีขึ้นไป และพบว่าข้อมูลจากองค์กรอนามัยโลกปี2553พบผู้ป่วยโรครายใหม่ 13,000 และเสียชีวิต 4,600 คน โดยเฉลี่ยเสียชีวิต 12 คนต่อวันส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ยปี ประมาณ 45 – 50 ปี และมักพบในชนบทมากกว่า ผู้ที่อยู่ในเขตเมือง มะเร็งปากมดลูกมีการดำเนินโรคที่ช้า ต้องใช้ระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงเพื่อเป็นมะเร็งระหว่าง 2 – 15 จึงเป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันได้ และสามารถ “ตรวจคัดกรอง” (screening) หาความผิดปกติได้ก่อน โดยเฉพาะหากตรวจพบในระยะก่อนมะเร็งหรือระยะก่อนลุกลาม โอกาสในการรักษาให้หายขาดมีได้สูง แต่ที่น่าเสียดายที่ผู้หญิงไทยจำนวนมาก คิดว่าตนเองไม่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก กลัวการตรวจ อายต่อการตรวจภายใน ไม่สนใจและไม่มีเวลาไปตรวจ ทำให้สูญเสียโอกาสที่จะค้นพบโรคในระยะเริ่มแรก ดังนั้นถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคในระยะเริ่มแรก ก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งดังกล่าวลดลง           จากการปฏิบัติงานสาธารณสุขทางด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล พบว่าที่ผ่านมาจำนวนผู้มารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกของสตรีวัยเจริญพันธุ์กลุ่มเป้าหมายยังไม่ได้ผลตามเป้าหมายที่กำหนด ในปี พ.ศ.2558 ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 147 คน จาก ๓,915 คน คิดเป็นร้อยละ 3.75 พ.ศ.2559 ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 272 คน จาก ๓,915 คน คิดเป็นร้อยละ 6.94 พ.ศ. ๒๕60 ได้ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 54 คน จาก ๓,918 คน คิดเป็นร้อยละ 1.37 พ.ศ.๒๕61 ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 65 คน จาก ๓,964 คน คิดเป็นร้อยละ ๑.63 พ.ศ.๒๕62 ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 29 คนจาก 3,945 คน คิดเป็นร้อยละ 0.73 รวม ๕ ปี คิดเป็นร้อยละ 14.37 และประกอบกับได้ผลเห็นผู้ป่วยที่ป่วยด้วย โรคมะเร็งปากมดลูกและโรคได้รับความทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วย รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกและโรค ในการนี้ถ้ากลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์มารับการตรวจเฝ้าระวังโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคอยู่อย่างสม่ำเสมอ ก็จะสามารถค้นหาโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้น สามารถให้การช่วยเหลือดูแลรักษาได้ ผู้ป่วยก็จะไม่ต้องทุกข์ทรมานมากและก็จะสามารถมีอายุที่ยืนยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการวิเคราะห์ตามสถานการณ์พบว่า งานการเฝ้าระวังการตรวจคัดกรอง  โรคมะเร็งปากมดลูกและโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่เกิดขึ้นในพื้นที่ หญิงวัยเจริญพันธุ์กลุ่มเป้าหมายไม่ค่อย มารับบริการ ทั้งนี้เพราะสตรีเป็นเพศที่มีความละอาย และคิดว่าตนเองไม่มีอาการผิดปกติ จึงไม่จำเป็นต้อง ไปตรวจ ทีมสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล มีความตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงเกิดแนวคิดในการทำงานโดยนำรูปแบบการทำงานเชิงรุกมาใช้โดยการใช้ศักยภาพของชุมชนที่มีอยู่อย่างเต็มที่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ผสมผสานกับวิทยาการทางการแพทย์สอดแทรกเสริมให้กับกลุ่มพลังมวลชน การที่คนได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพให้สมกับความเป็นมนุษยชาติ สามารถช่วยเหลือดูแลตนเอง ช่วยเหลือดูแลบุคคลในครอบครัวและบุคคลอื่นในชุมชนให้พ้นจากพิษภัยของโรคมะเร็งปากมดลูกและโรค จะทำให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอายุยืนยาว สามารถอยู่ในสังคมได้ด้วยความปกติสุข ไม่เป็นภาระของประเทศชาติ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก

 

0.00
2 2. เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายเกิดการตระหนักถึงพิษภัยของโรคมะเร็งปากมดลูก

 

0.00
3 3. เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

 

0.00
4 4. เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ได้รับการติดตามดูแลอย่างถูกต้อง ทั่วถึง เมื่อค้นพบภาวะของโรคมะเร็งปากมดลูก สามารถให้การดูแลรักษาได้ตั้งแต่ต้น ไม่เกิดภาวะลุกลามและอยู่ในสังคมได้ด้วยความสุข

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

1.ขั้นเตรียมการ   1.1 เตรียมบุคคล ดังนี้ -ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ สตรีกลุ่มอายุ 30-60 ปี ในตำบลรูสะมิแล -ผู้สนับสนุนวิชาการ ได้แก่ ทีมบุคลากรจากหน่วยงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล    รูสะมิแล พยาบาลวิชาชีพ ที่ดูแลงานคัดกรองและคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นทีมที่จะส่งเสริมสนับสนุนวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพ ความเชื่อมั่นความศรัทธา       1.2 เตรียมจัดทำเอกสาร     - แผ่นพับให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและ จำนวน 300 ชุด
  1.3 เตรียมการประชาสัมพันธ์ ไปยังหอกระจายข่าวในหมู่บ้าน ทีมประชาสัมพันธ์ของอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลรูสะมิแล

2.ขั้นดำเนินการตามแผนกำหนดการ   2.1 จัดประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลรูสะมิแล ชี้แจงเป้าหมาย วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดียวกัน   2.2 บริการให้ความรู้ในหมู่บ้าน เรื่องการตรวจมะเร็งปากมดลูกและแก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย   2.3 ให้ความรู้สตรีกลุ่มเป้าหมายในตำบลรูสะมิแลก่อนการตรวจ เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก พร้อมทั้งให้ความรู้ก่อการตรวจคัดกรอง และดูแลแนะนำบุคคลในครอบครัว ชุมชน ให้ได้รับการเฝ้าระวังตรวจคัดกรองโรคได้ โดยทีมทีมบุคลากรจากหน่วยงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล พยาบาลวิชาชีพ ที่ดูแลงานคัดกรอง และคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้สตรีในพื้นที่ได้เกิดความตระหนักถึงพิษภัยและอันตรายของโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคพร้อมทั้งเกิดแรงขับเคลื่อน        ที่มีประสิทธิภาพในการที่จะชักชวนกลุ่มเป้าหมายให้ไปรับบริการได้อย่างดีเยี่ยม (จัดการอบรม 2 รอบๆ ละ 15๐ คน รวม 300 คน) 2.4 ให้บริการตรวจมะเร็งปากมดลูกและให้สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 – 60 ปี ในตำบลรูสะมิแล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก
  2. สตรีกลุ่มเป้าหมายเกิดการตระหนักถึงพิษภัยของโรคมะเร็งปากมดลูก
  3. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
  4. สตรีกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ได้รับการติดตามดูแลอย่างถูกต้อง ทั่วถึง เมื่อค้นพบภาวะของโรคมะเร็งปากมดลูก สามารถให้การดูแลรักษาได้ตั้งแต่ต้น ไม่เกิดภาวะลุกลามและอยู่ในสังคมได้ด้วยความสุข
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2564 15:50 น.