กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาท พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนสุขภาพตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลปุยุด
วันที่อนุมัติ 25 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 มีนาคม 2564 - 11 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 11 กันยายน 2564
งบประมาณ 99,303.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ว่าที่ ร.ต.อนรรฆ อิสเฮาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมูฮำหมัดนาเซร์ ดอเลาะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปุยด อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นโยบายรัฐบาลปัจจุบันภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2562 ข้อ 8 ของนโยบายหลัก 12 ด้าน กำหนดให้มีการพัฒนาคนไทยให้มีความพร้อมในการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้คนไทยในอนาคตเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้ก้าวไปข้างหนิอย่างมีแบบแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์(Human capital) จะส่งผลต่อการขับเคลื่อนประเทศไทยให้บรรลุ “ประเทศไทย 4.0” ดังนั้นการพัฒนาคนไทยให้สอดรับกับนิยามของคนไทยในศตวรรษที่ 21 เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง การพัฒนาคนไทยเพื่อให้ได้คนไทย 4.0 ที่มีสติปัญญาดี มีทักษะสูง มีสุขภาพแข็งแรง และมีจิตใจที่งดงาม ต้องเริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิ การตั้งครรภ์จนถึงการคลอด และเติบโตต่อเนื่องอย่างมีคุณภาพจนอายุ 2 ปีบริบูรณ์ 1000 วันแรกของการดูแลอย่างเอาใจใส่และทุ่มเทของมารดา ครอบครัวและชุมชนตั้งแต่ในช่วงการตั้งครรภ์ (270 วัน) จนถึงอายุ 2 ขวบ (730วัน) จะเป็นตัวกำหนดสำคัญตัวหนึ่ง ที่จะบอกถึงขีดความสามารถ สติปัญญา ศักยภาพและความสำเร็จของลูกในอนาคต     จากสถานการณ์ในปี 2563 จำนวนหญิงตั้งครรภ์ตำบลปูยุด จำนวน 138 ราย มีภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 35 ราย คิดเป็นร้อยละ 25.36) การมีภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ส่งผลทำให้ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม คิดเป็นร้อยละ 12.90 เกิดการแท้งบุตร และคลอดก่อนกำหนด ได้ ทางกองสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลปูยุด ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในช่วง 1,000 วันแรกของชีวิต จึงจัดทำโครงการมหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาท พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ปี 2564 เพื่อพัฒนาระบบการดูแลสตรีตั้งครรภ์ ให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา และเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ครอบครัว ชุมชน และสังคม มีความตระหนักการดูแลสตรีตั้งครรภ์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

-ทารกแรกเกิดน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม คิดเป็น 95% -คลอดก่อนกำหนด คิดเป็น 95% -ไม่มีการแท้งบุตร

0.00
2 เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์สามารถลดปัจจัยเสี่ยงของภาวะโลหิตจาง

ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ลดลง 10%

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์สามารถลดปัจจัยเสี่ยงของภาวะโลหิตจาง

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

24 ก.พ. 64 3.ผู้ดูแลมีการเยี่ยมบ้านเพื่อควบคุม กำกับ ส่งเสริมการรับประทานอาหาร และยา 30.00 52,500.00 -
11 มี.ค. 64 1.ประชุมจัดทำแผนการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง (Care plan) และอบรมการใช้เครื่องมือติดตาม แก่ผู้ดูแล 30.00 6,300.00 -
12 มี.ค. 64 - 11 ส.ค. 64 2.ส่งเสริมการรับประทานนม ไข่ แก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง จำนวน 150 วัน/ราย 30.00 40,503.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. การประเมินกาย จิต สังคม และค้นหาปัญหาหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง
  2. จัดทำแผนการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง (Care plan)
  3. อบรมการใช้เครื่องมือติดตาม แก่ผู้ดูแล
  4. นำแผนการดูแลไปดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
  5. ผู้ดูแลมีการเยี่ยมบ้านเพื่อควบคุม กำกับ ส่งเสริมการรับประทานอาหาร และยา
  6. สรุปผล และประเมินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีตั้งครรภ์มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
  2. สตรีตั้งครรภ์สามารถลดปัจจัยเสี่ยงของภาวะโลหิตจาง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2564 12:13 น.