กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ตำบลสนามชัย อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปี 2564

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ตำบลสนามชัย อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L5244-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสนามชัย
วันที่อนุมัติ 5 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 35,237.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุณิภัค สัญจร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสนามชัย อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สำคัญซึ่งมีการแพร่ระบาดของโรคในทุกภาคของประเทศและมีแนวโน้มในการระบาดถี่ขึ้นและมีความรุนแรงมากขึ้น จากการระบาดของโรค ปีเว้นสองปีปีเว้นปี ปัจจุบันมีการระบาดของโรคเป็นประจำทุกปี โดยพบผู้ป่วยได้ในทุกฤดูกาลโรคไข้เลือดออกจึงเป็นปัญหาระดับประเทศ ในแต่ละปีมีผู้ป่วยและตายเป็นจำนวนมากส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม รัฐบาลจึงได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้นำปัญหาโรคไข้เลือดออกมากำหนดเป็นนโยบายหลักในการดำเนินงาน โดยที่สถานบริการสุขภาพทุกแห่งจะต้องร่วมมือกับองค์กรชุมชนต่างๆดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างต่อเนื่อง การป้องกันโรคไข้เลือดออกนั้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็น อสม. อปท. ผู้นำชุมชน ครูและนักเรียน รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค โดยได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยเน้นให้ อสม. ร่วมกับผู้นำชุมชนดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควรเนื่องมาจากผู้นำชุมชนไม่ให้ความสำคัญและไม่เป็นตัวอย่างในการกำจัดลูกน้ำยุงลายอสม.ขาดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีการกำจัดลูกน้ำยุงลายเป็นช่วงๆขาดความสม่ำเสมอประชาชนขาดความร่วมมือในการควบคุมลูกน้ำยุงลายในบ้านเรือนตนเอง ไม่เห็นความจำเป็นของการกำจัดลูกน้ำยุงลายเพราะถือเป็นบทบาทของ อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขซึ่งขอมูลเฝาระวังโรค ตั้งแตวันที่ 1มค256๒ - 31 ส.ค. 6๒ประเทศไทย มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (Dengue fever : DF, Dengue hemorrhagic fever : DHF, Dengue shock syndrome : DSS) สะสมรวม 77,575 ราย อัตราป่วย 117.43 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ๘๑รายในพื้นที่จังหวัดสงขลา ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ถึง 2 กันยายน ๒๕62พบผู้ป่วยจำนวน 1882 ราย 133.58ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 1 ราย อัตราตาย ๐.0๕ ต่อ ประชากรแสนคน จากข้อมูลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสนามชัย ย้อนหลัง 5ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 255๙ – พ.ศ. 2563 พบจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวนทั้งสิ้น 10 ราย ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต โดยแยกผู้ป่วยเป็นรายปีดังนี้ ในปี พ.ศ.255๙ มีผู้ป่วยทั้งหมด 3ราย คิดเป็นอัตราป่วย 82.01 ต่อประชากรแสนคนในปี พ.ศ.2560มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 3ราย คิดเป็นอัตราป่วย 107.10ต่อประชากรแสนคน และในปี พ.ศ.2561 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 4ราย คิดเป็นอัตราป่วย 114.61 ต่อประชากรแสน และปี พ.ศ.256๒ และถึงปีปัจจุบันเดือนตุลาคม พ.ศ.2563ไม่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในตำบลสนามชัยที่ยืนยันผลชัดเจนและไม่รายงานเข้าระบบจากการคัดกรองค้นหาจากผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับไข้เลือดออกโดยอสม.ในขณะพื้นที่รอบๆตำบลสนามชัยยังพบว่าผู้ป่วยทุกตำบล ตำบลสนามชัยจึงยังมีภาวะที่เสี่ยงและมีแนวโน้มเกิดการระบาดของโรคถ้าหากไม่มีการควบคุมและป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเป็นการยากที่จะดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพหากจะอาศัยเพียงแต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพียงอย่างเดียวเนื่องจากแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายมีอยู่ทั่วไปทั้งในชุมชนและในโรงเรียน ดังนั้นการที่จะป้องกันและควบคุมโรคให้ได้ผลเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน อสม. โรงเรียนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสนามชัยได้เห็นถึงความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาของโรคไข้เลือดออก จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลสนามชัยลดลงเมื่อเทียบกับค่า MEDIAN ย้อนหลัง 5 ปี/เมื่อเทียบกับปีก่อน

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ30 ของค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี

0.00
2 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมของการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในสถานที่สาธารณะและในชุมชน

สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ทุกหมู่บ้านและไม่มีผู้ป่วยเกิดขึ้นหลังจากเกิดโรคไข้เลือดออกรายแรกก่อนหน้านี้แล้ว28 วัน

0.00
3 เพื่อลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายในสถานที่สาธารณะและในชุมชน

ค่า HI CIในชุมชนวัด โรงเรียนและสถานที่ราชการไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน

0.00
4 เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กร ชุมชน และประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก.

หน่วยงานในชุมชน เช่น วัด  โรงเรียน  ศพด.  อบต. และประชาชนป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ ร้อยละ 100.

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 35,237.00 0 0.00
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 อสม. สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทั้งในชุมชนและสถานที่สาธารณะ 4 ครั้ง/เดือน และ อสม.ส่งรายงานผลการสำรวจทุกเดือนโดยใช้แบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย 0 20,550.00 -
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ควบคุมโรคขณะเกิดโรคไข้เลือดออก 0 11,100.00 -
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 0 3,587.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ภาคีเครือข่ายอบต. อสม. วัดโรงเรียนศพด. และประชาชนทั่วไป มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในสถานที่สาธารณะและในชุมชนครอบคลุมร้อยละ ๑๐๐ ทำให้อัตราความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายลดลงอย่างต่อเนื่องส่งผลให้อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงทุกปี จนเกิดเป็นหมู่บ้าน/ตำบลปลอดไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2564 00:00 น.