กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแม่ลูกตำบลบาราโหม ปลอดภัยและมีสุขภาพดี ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L3014-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาราโหม
วันที่อนุมัติ 25 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 มีนาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2564
งบประมาณ 21,465.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางแวกรือซง ดาเสะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาราโหม อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.873,101.317place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโต แข็งแกร่ง ยั่งยืนในทุกด้าน ประการสำคัญมุ่งเน้นการพัฒนาคนเป็นหลัก เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต โดยมารดาและเด็กจะได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอด เมื่อเกิดแล้วต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม เพื่อให้เติบโตสมวัยและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต ปัจจุบัน ข้อมูลอนามัยและเด็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาราโหม ยังมีปัญหาหลายอย่างที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่น พฤติกรรมการดูแลด้านสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของหญิงตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ไม่ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์มาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์มารับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์มากกว่า ๑๒ สัปดาห์ และคลอดที่บ้านผดุงครรภ์โบราณ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่ก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงสูงต่อการทำให้เกิดปัญหาการป่วย และการตายของมารดาจากการตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดได้ จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาราโหม ของปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มา ฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ ๗๔.๑๗ (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๗๐) หญิงตั้งครรภ์รายใหม่มาฝากครรภ์ครั้งแรกครรภ์น้อยกว่า ๑๒ สัปดาห์ ร้อยละ ๘๕.๔๙(เกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๘๐) มารดาคลอดที่บ้าน ร้อยละ ๑.๖๗ (เกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ ๕)
การฝากครรภ์เป็นสิ่งที่สำคัญและมีประโยชน์มากในทางสูติศาสตร์ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มาฝากครรภ์ ไม่ได้รับการดูแลขณะตั้งครรภ์ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จะมีโอกาสเกิดภาวะเสี่ยงหรือได้รับอันตรายจากการตั้งครรภ์ และการคลอดมากกว่า และรุนแรงกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจครรภ์และดูแลครรภ์อย่างถูกต้องและทันเวลา และต่อเนื่องสม่ำเสมอ ภาวะเสี่ยงต่างๆ อาจมีระดับของอันตรายถึงชีวิตของมารดาหรือทารกได้หากหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลครรภ์ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อย และได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ รวมไปถึงสามีและญาติผู้อยู่ใกล้ชิดกับหญิงตั้งครรภ์ได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับหญิงตั้งครรภ์ ก็จะสามารถดูแลหญิงตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เข้าใจและเห็นความสำคัญของการคลอดในสถานพยาบาลของรัฐ ซึ่งมีความพร้อมทั้งทางด้านเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ก็จะสามารถลดอัตราเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ได้ ช่วยลดปัญหามารดาตายคลอดจากการตกเลือดหลังคลอด ทารกตายปริกำเนิด รวมถึงการติดเชื้อหลังคลอด ที่ส่งผลกระทบถึงชีวิตของมารดาและทารกได้ จะเห็นได้ว่าหญิงตั้งครรภ์จะสามารถ ดูแลครรภ์และคลอดได้อย่างปลอดภัย มีบุตรที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องประกอบกับปัจจัยหลายๆด้าน จากสถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บาราโหม พบว่ายังมีปัญหาอีกหลายอย่าง ที่หญิงตั้งครรภ์ ยังไม่ทราบหรือไม่เห็นความสำคัญ เช่น ความสำคัญของการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ หากหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ล่าช้าและผลเลือดที่เจาะคัดกรองมีผลผิดปกติในบางตัว เช่น การติดเชื้อ HIV หากไม่ได้รับประทานยาต้านเชื้อแต่เนินๆ เชื้อก็สามารถแพร่กระจายไปยังลูกในครรภ์ได้ หรือภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ขณะตั้งครรภ์ตลอดจนภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นขณะคลอด และหลังคลอด เช่น ภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ ภาวะเด็กดิ้นผิดปกติ ภาวะเลือดออกทางช่องคลอด ภาวะคลอดยาก และภาวะตกเลือดหลังคลอด การปฏิบัติตัวของหญิงตั้งครรภ์ ความสำคัญของการตรวจหลังคลอด การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ทารก และความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การไม่มาฝากครรภ์ตามนัดหมาย จึงส่งผลให้ไม่สามารถดุแลครรภ์ได้ตามเกณฑ์คุณภาพของการฝากครรภ์ ปัญหาเหล่านี้หากไม่ได้รับการแก้ไขจะส่งผลกระทบถึง คุณภาพชีวิตของมารดาและทารกตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์ จนถึงระยะหลังคลอด รวมไปถึงพัฒนาการของเด็กหลังคลอด และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นการที่จะทำให้ชุมชน บุคคลใกล้ชิดและหญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลครรภ์ให้มีคุณภาพและคลอดบุตรที่มีคุณภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่หญิงตั้งครรภ์และทุกคนที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้องรับรู้เกี่ยวกับการดูแลหญิงตั้งครรภ์ การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ และการดูแลตนเองและบุตรเมื่อคลอดอย่างถูกวิธี         ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาราโหม ได้เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์จึงได้จัดทำโครงการแม่ลูกตำบลบาราโหม ปลอดภัยและมีสุขภาพดี ปีงบประมาณ 2564    เพื่อแก้ปัญหาให้กับกลุ่มเป้าหมายที่กล่าวมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 21,465.00 0 0.00
1 - 30 มี.ค. 64 โครงการแม่ลูกตำบลบาราโหม ปลอดภัยและมีสุขภาพดี ปี 2564 50 21,465.00 -

1 ประชุมชี้แจงคณะทำงาน เพื่อค้นหาหญิงตั้งครรภ์เร็ว ฝากครรภ์ไว้ก่อน 12 สัปดาห์ 2 อบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และสมาชิกในครอบครัว เกี่ยวกับการดูและสุขภาพขณะตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยมีเนื้อหาสำคัญดังนี้
– การปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ – ความรู้ด้านโภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์ - ความรู้เรื่องภาวะโลหิตจางกับการตั้งครรภ์
3 กิจกรรมการเยี่ยมดูแล เฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยง - เจ้าหน้าที่ร่วมกับ อสม.ทบทวนทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ เพื่อวางแผนการออกเยี่ยม
- แจ้งหญิงตั้งครรภ์ถึงวัตถุประสงค์ของการเยี่ยมบ้าน
- การเยี่ยมดูแล การเฝ้าระวัง ติดตาม 4 สรุปผลเพื่อนำไปเป็นประโยชน์ต่อไป ประชุมถอดบทเรียนเพื่อสรุปผลความสำเร็จและหาอุปสรรคการทำงานแล้วนำไปแก้ไขในการดำเนินโครงการครั้งต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงตั้งครรภ์พร้อมทั้งสามีและญาติ มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และขณะคลอดรวมไปถึงระยะเวลาหลังคลอด 2. หญิงตั้งครรภ์สามารถประเมินตนเองได้ในการป้องกันภาวะเสี่ยงและอาการแทรกซ้อน 3. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูและครรภ์โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตามเกณฑ์คุณภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2564 14:28 น.