กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการนวดฟื้นฟูเท้าและการแช่เท้าด้วยสมุนไพรในผู้ป่วยเบาหวาน ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L4147-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอสม.บาโงยซิแน
วันที่อนุมัติ 22 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 19,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาซ๊ะ อาลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาการปวดเมื่อยมักเกิดขึ้นกับบุคคลทุกเพศทุกวัย โดยอาการปวดเมื่อยมักเกิดจากความเจ็บป่วย การเสื่อมในระบบกล้ามเนื้อ การใช้งานกล้ามเนื้อเป็นเวลานาน การเปลี่ยนอิริยาบถไม่เหมาะสมหรือแม้แต่ท่านั่ง ท่านอนที่ไม่ถูกต้องมักทำให้เกิดอาการปวด รวมถึงในปัจจุบันการรับประทานอาหารจานด่วนกำลังเข้ามาแทนที่วิถีการรับประทานอาหารของคนในหมู่บ้าน พฤติกรรมการบริโภคและการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมทางสังคม ส่งผลกระทบและชักนำให้เกิดโรคไม่ติดต่อ เช่นเบาหวาน ความดันโลหิต และมะเร็งซึ่งโรคดังกล่าวหากไม่ได้รับการดูแลและการป้องกันส่งเสริมการปรับตัวที่ถูกก็จะส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองและเกิดความพิการตามมาได้ ตำบลบาโงยซิแนของเราซึ่งในพื้นที่เขตรับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน มีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นส่วนมาก จากการรณรงค์ตรวจคัดกรองโรคในประชากรกลุ่มเสี่ยงซึ่งมีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไปในแต่ละปีพบจำนวนผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี และในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง บางคนไม่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกวิธี บางส่วนลองผิดลองถูก ซื้อยาสมุนไพรมากินเอง บางคนเอคำชักจูงของเพื่อนบ้านทดลองกินยาลูกกลอน ยาสมุนไพร จนก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตตามมา จึงได้นำภูมิปัญญาพื้นบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างปลอดภัยทั้งทางด้านส่งเสริมสุขภาพ การ รักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชนผู้รับบริการ กระทรวงสาธารณสุขมีการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาด้านการแพทย์แผนไทยมาอย่างต่อเนื่อง เริ่มแรกโดยการนำสมุนไพรมาใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน มุ่งหวังให้ประชาชนพึ่งตนเองด้านสุขภาพ จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 ได้ระบุไว้ว่า การส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีจะต้องให้การส่งเสริมให้มีการดำเนินการพัฒนา ภูมิปัญญาทางด้านการรักษาพยาบาลแบบพื้นบ้าน เช่น การแพทย์แผนไทย สมุนไพร และการนวด ประสาน เข้ากับระบบบริการการแพทย์แผนปัจจุบัน ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลก็มีการสนับสนุนให้มีการ ผสมผสานการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร เข้ากับระบบบริการสาธารณสุขอย่างเหมาะสม ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการการแพทย์แผนไทยอย่างทั่วถึงและครอบคลุมมีการพัฒนางานการแพทย์แผนไทยในชุมชน ส่งเสริมให้ประชาชนได้รับการอบรมนวดแผนไทยเพื่อให้บริการให้กับประชาชนในชุมชน และให้ประชาชนได้รับการเรียนรู้การใช้พืชสมุนไพรท้องถิ่น ในการรักษาโรคเบื้องต้น และมีการสร้างเครือข่ายหมอนวดแผนไทยในชุมชน ดังนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน จึงได้จัดทำโครงการนวดฟื้นฟูเท้าและการแช่เท้าด้วยสมุนไพรในผู้ป่วยเบาหวาน โดยใช้รูปแบบการอบรมการนวดแผนไทยสู่ชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลภาวะแทรกซ้อนของเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย เช่นการนวด การประคบ การแช่เท้าด้วยสมุนไพรการดูแลสุขภาพเบื้องต้น กับประชาชนทั่วไปและอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามารถดูแลภาวะแทรกซ้อนของเท้าได้

50.00
2 2.เพื่อลดลดอัตราการตัดเท้า และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการชาปลายเท้า ได้รับการดูแลเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อและไหลเวียนโลหิตโดยวิธีการแพทย์แผนไทย

50.00
3 3.เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการชาปลายเท้า ได้รับการดูแลเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อและไหลเวียนโลหิตโดยวิธีการแพทย์แผนไทย

ผู้ป่วยเบาหวานสามารถใช้สมุนไพรในการป้องกันและรักษาพยาบาลเบื้องต้นได้

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 19,500.00 0 0.00
22 พ.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 1. การอบรมเชิงปฏิบัติการ 0 19,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับการอบรม มีความรู้ในเรื่อง การนวดฝ่าเท้า และสมุนไพรที่ใช้ในการแช่เท้าได้ในระดับดี
  2. กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานมีการใช้สมุนไพร ในการป้องกัน และรักษาพยาบาลเบื้องต้น
  3. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการชาปลายเท้าได้รับการดูแลเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อและไหลเวียนโลหิตโดยวิธีการแพทย์แผนไทย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2564 00:00 น.