กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยนักเรียน
รหัสโครงการ 64-L1515- 02 –04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรุณี ศรีทองช่วย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองปรือ อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.9,99.669place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต การพัฒนาเด็กให้ได้รับความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา จึงนับเป็นภารกิจสำคัญของโรงเรียนที่จะต้องตระหนัก และให้ความสำคัญ เพื่อให้การพัฒนาเด็กเป็นไปอย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐานเหมาะสมกับวัย พร้อมที่จะเปิดกว้างในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดี การพัฒนางานส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียนจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการดูแลสุขภาพของเด็กในวัยเรียน โดยโรงเรียนจะต้องดำเนินการให้ความรู้ แนวปฏิบัติ เสริมสร้าง และแนวทางแก้ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ ให้นักเรียนรู้จักดูแลสุขภาพ รู้จักเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ รู้จักออกกำลังกาย เพื่อสร้างให้ร่างกายแข็งแรงมีพลานามัยสมบูรณ์ และรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้เจ็บป่วย และมีสุขภาพจิตที่ดี ซึ่งการที่ผู้เรียนมีสุขภาพที่ดีและสุขภาพจิตที่ดีจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างสูงสุด
ในปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อยได้ชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูงนักเรียนทุกคน โดย เปรียบเทียบตามเกณฑ์ของกรมอนามัยตามเกณฑ์อายุและเพศของนักเรียนปรากฏว่า มีนักเรียนที่มีปัญหา ภาวะทุพโภชนาการ และนักเรียนที่มีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการส่งเสริมด้านโภชนาการให้กับนักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ และส่งเสริมให้นักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการเกินเกณฑ์ได้ออกกำลังกาย อันเป็นการส่งเสริมพัฒนาทางด้านร่างกายให้แก่นักเรียนให้ได้รับการพัฒนาตนตามมาตรฐานการศึกษาของชาติที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้เก่ง ดี มีความสุขทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ และสติปัญญาต่อไป
โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อยจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยนักเรียนขึ้น เพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ของกรมอนามัย อันเป็นรากฐานที่จะทำให้นักเรียนมีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดีพร้อมที่จะเปิดกว้างเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ของ กรมอนามัย
  1. ร้อยละ 90 ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีภาวะ     โภชนาการตามเกณฑ์ของกรมอนามัย
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 135 14,450.00 2 6,450.00
1 พ.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมดื่มนมเพื่อสุขภาพ ห่างไกลภาวะทุพโภชนาการ 20 8,000.00 0.00
1 พ.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมสูงดีสมส่วนได้ด้วยกีฬาเพื่อสุขภาพ 115 6,450.00 6,450.00
  1. ขั้นเตรียมการ (P) 1.1 ศึกษาผลการดำเนินโครงการในปีที่ผ่านมา 1.2 ศึกษาบริบทและสภาพความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการ 1.3 ประชุมวางแผนจัดทำโครงการ และเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. ขั้นดำเนินการ (D) 2.1 ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงโครงการ และมอบหมายภาระงาน 2.2 ดำเนินงานตามโครงการดังนี้ 2.2.1 กิจกรรมดื่มนมเพื่อสุขภาพ ห่างไกลภาวะทุพโภชนาการ
    1) ชั่งน้ำหนัก – วัดส่วนสูงของนักเรียนทุกเดือน 2) นำข้อมูลน้ำหนัก – ส่วนสูงของนักเรียนมาวิเคราะห์เปรียบเทียบตามเกณฑ์ของ กรมอนามัย 3) จัดซื้ออาหารเสริมนมให้กับนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการน้ำหนัก – ส่วนสูงต่ำ กว่าเกณฑ์และนักเรียนที่มีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ 4) จัดกิจกรรมออกกำลังกายตอนเช้าทุกวันจันทร์ พุธและศุกร์ 2.2.2 กิจกรรมสูงดีสมส่วนได้ด้วยกีฬาเพื่อสุขภาพ 1) จัดตั้งชุมนุมกีฬาเพื่อสุขภาพ 2) จัดซื้ออุปกรณ์สำหรับเล่นกีฬาและออกกำลังกาย 3) ดำเนินกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของชุมนุม
  3. ขั้นนิเทศติดตามผล (C) 3.1 ผู้รับผิดชอบโครงการนิเทศติดตามผลการดำเนินงาน และคอยอำนวยความสะดวกในการดำเนิน   กิจกรรมให้เป็นไปตามภาระงาน
  4. ขั้นประเมินผลและรายงานผล (A) 4.1 ประเมินโครงการ 4.2 สรุปผลการดำเนินโครงการ และจัดทำรายงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ของกรมอนามัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2564 14:57 น.