กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการจัดการขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2564 ในชุมชน หมู่ที่ 11 บ้านน้ำใต้บ่อ
รหัสโครงการ L336325642008
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 11 บ้านน้ำใต้บ่อ
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 9,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรรณดี ปิยะพงค์
พี่เลี้ยงโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 11 บ้านน้ำใต้บ่อ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญที่อยู่คู่กับสังคมไทยมานาน และนับวันยิ่งมีแรวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี มีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกของมนุษย์มากขึ้น ทำให้ลักษณะการใช้ชีวิตประจำวันเปลี่ยนแปลงไปก่อให้เกิดปริมาณของเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก จากการสำรวจสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย กรมควบคุมมลพิษ พบว่าปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในทุกปี ในปี 2562 มีขยะมูลฝอยเกิดขึ้นประมาณ 28.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ร้อยละ 3 ซึ่งแม้ประเทศไทยมีมาตรการต่างๆ กระตุ้นให้มีการลดขยะในพื้นที่แต่ปริมาณขยะก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกปี มีขยะตกค้างเป็นจำนวนมากในแต่ละวันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ในชุมชนมากมาย ได้แก่ บ้านเมืองสกปรกไม่น่ามอง เสียทัศนียภาพ ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ และพาหะนำโรคต่างๆ เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน ยุง ทั้งยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโดยตรง เช่น อหิวาตกโรค อุจจาระร่วง บิด โรคผิวหนัง บาดทะยัก โรคทางเดินหายใจ เกิดการปนเปื้อนของสารพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท ลงสู่พื้นดิน และแหล่งน้ำ แหล่งน้ำเน่าเสีย ท่อระบายน้ำอุดตัน อันเป็นสาเหตุของปัญหาน้ำท่วม เป็นแหล่งกำหนดมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง เขม่า ควัน จากการเผาขยะ เกิดก๊าซมีเทนจากการฝังกลบขยะ และขยะบางชนิดไม่ย่อยสลาย และกำจัดได้ยาก เช่น โฟม พลาสติก ทำให้ตกค้างสู่สิ่งแวดล้อม และปัญหาขยะในชุมชน
ปัจจุบันพื้นที่ ม.11 ต.บ้านนา อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง ก็เป็ฯอีกพื้นที่ ที่มีปัญหาการเพิ่มขึ้นของขยะใรชุุมชน พบว่าส่วนใหญ่ไม่มีการจัดการคัดแยกขยะที่ต้นทาง บวกกับสภาพแวดล้อม สภาพอากาศเอื้อต่อการเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งโรคไข้เลือดออกถือเป็นโรคประจำถิ่นที่มีการระบาดมากในช่วงฤดูฝนของทุกปี แต่หากประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักในการดูแลจัดการสิ่งแวดล้อม ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ก็ถือเป็นการป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อีกทางหนึ่ง และยังทำให้ทัศนีภาพของชุมชนสะอาด ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างความตระหนักให้ครัวเรือนมีการจัดการสิ่งแวดล้อม มีการจัดการขยะที่เหมาะสม จึงได้จัดทำโครงการการจัดการขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ เข้าใจ และร่วมมือจัดการ และคัดแยก "ขยะ" อย่างเหมาะสมโดยชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครัวเรือนมีการคัดแยะขยะ

เพิ่มขึ้นร้อยละ 70

60.00
2 เพื่อให้ครัวเรือนมีการใช้ประโยชน์จากขยะ

เพิ่มขึ้นร้อยละ 30

60.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลง

ลดลงร้อยละ 60

60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อม การคัดแยกขยะ และโรคที่มาจากการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 120 4,150.00 0 0.00
17 ก.พ. 64 อบรมให้ความรู้ ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ 60 680.00 -
17 ก.พ. 64 คืนข้อมูลเรื่องขยะและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชนพร้อมอบรมให้ความรู้การจัดการสิ่งแวดล้อม 60 3,470.00 -
2 กิจกรรมที่ 2 ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมการจัดสิ่งแวดล้อม การคัดแยกขยะในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 120 5,400.00 0 0.00
13 พ.ค. 64 ติดตามผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 1 ระยะ 4 เดือน 60 2,100.00 -
17 ก.ย. 64 ติดตามผลการดำเนิน ครั้งที่ 2 ระยะ 8 เดือน 60 3,300.00 -
  1. ขั้นเตรียมการ
    • จัดทำแผนงานโครงการเสนอโครงการ
    • จัดทำแผนปฏิบัติงานและกำหนดตารางการดำเนินโครงการ
    • ติดต่อประสานวิทยากร/เตรียมวัสดุอุปกรณ์
    • เผยแพร่ประชาสัมพันธ์รับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ สร้างกระแสการดำเนินงานโครงการผ่านสื่อท้องถิ่น เช่น การประชุมหมู่บ้าน เสียงตามสาย
    • รับสมัครผู้สนใจเข้ารว่มโครงการ
  2. ขั้นดำเนินการจัดการสิ่งอวดล้อมในชุมชน
    • อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 11 บ้านน้ำใต้บ่อ ประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจโครงการ พร้อมวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน และรวบรวมข้อมูลสภาพปัญหาขยะในชุมชน พื้นที่ที่รับผิดชอบ
    • คืนข้อมูลเรื่องขยะ และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชนพร้อมอบรมให้ความรู้การจัดการสิ่งแวดล้อม สร้างความตระหนักในการคัดแยกขยะ และให้ความรู้เรื่องโรคที่มาจากการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีในชุมชน
  3. ขั้นตอนกิจกรรมติดตามผลการดำเนินงาน
    • ติดตาม ครั้งที่ 1 ระยะ 4 เดือน
    • ติดตาม ครั้งที่ 2 ระยะ 8 เดือน
  4. กิจกรรมสรุปผลการดำเนินโครงการ
    • สรุปผลการดำเนินโครงการ เปรียบเที่ยบข้อมูลปริมาณขยะในชุมชน และสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในชุมชน
  5. จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ทัศนคติที่ดีในการจัดการสิ่งแวดล้อม คัดแยกขยะในครัวเรือน และชุมชน
  2. ชุมชนสะอาด ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2564 15:13 น.