กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเครือข่ายติดตามค้นหาและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงปี 2560
รหัสโครงการ 60-l5237-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลจะทิ้งพระ
วันที่อนุมัติ 6 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศิริลักษณ์ช่วงมี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.469,100.437place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีเด็กหญิงอายุ 10 ขวบ คลอดบุตรปีละประมาณ 60-70 คน เนื่องจากเข้าไม่ถึงบริการทางเลือกและหากต้องการยุติการตั้งครรภ์ก็เข้าไม่ถึงบริการที่ปลอดภัย หรือถูกเจ้าหน้าที่แนะนำให้ตั้งครรภ์ต่อ วัยรุ่นหรือผู้หญิงที่มีภาวะเสี่ยง ตั้งครรภ์ไม่พร้อม จะมีความเครียดสูงกว่าการตั้งครรภ์ในหญิงที่มีความพร้อมหลายเท่าตัว ส่งผลต่อสุขภาพเด็ก เช่นน้ำหนักตัวน้อย ขาดสารอาหาร เนื่องจากแม่ขาดการเอาใจใส่ดูแล นอกจากนี้ ยังพบปัญหาการทำแท้ง โดยร้อยละ 40 เป็นนักเรียนนักศึกษา และร้อยละ 60 อายุต่ำกว่า 25 ปี และไม่ได้คุมกำเนิดสูงถึงร้อยละ 70 มีแนวโน้มยุติการตั้งครรภ์ด้วยตัวเองสูงขึ้น โดยซื้อยาทำแท้งจากร้านขายยา หรืออินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดปัญหาตามมา เช่นใช้ยาผิดขนาด อาจเสี่ยงอันตรายเสียชีวิตได้ จึงเป็นเรื่องที่ทุกหน่วยงานต้องร่วมมือกันป้องกันแก้ไขศ.นายแพทย์รัชตะกล่าวต่อว่า รัฐบาลชุดนี้ ได้ให้ความสำคัญการส่งเสริมการเกิดที่มีคุณภาพ และเร่งจัดระบบป้องกันแก้ไขปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ เน้นการบูรณาการทำงานใกล้ชิด 7 กระทรวง เนื่องจากปัญหาและการแก้ไขต้องเชื่อมโยงกัน ได้แก่ สาธารณสุข พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ศึกษาธิการ วัฒนธรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาดไทย กระทรวงแรงงาน และองค์กรเอกชน โดยได้จัดทำยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแบบบูรณาการ พ.ศ. 2558-2567 มี 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1.การเสริมสร้างทักษะชีวิตและเพศศึกษารอบด้านแก่วัยรุ่น 2.การเสริมสร้างบทบาทครอบครัวและชุมชนร่วมป้องกันและแก้ไขปัญหา 3.จัดให้มีระบบบริการสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่มีคุณภาพและเป็นมิตร โดยกระทรวงสาธารณสุขเปิดคลินิกวัยรุ่นในโรงพยาบาล 541 แห่ง ให้บริการให้คำปรึกษา ระบบการส่งต่อ บริการคุมกำเนิดฟรี เมื่อวัยรุ่นมีความจำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์จะได้รับสิทธิ์ในการรักษาพยาบาลเช่นเดียวกับผู้มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาตรฐานสากล จะขยายให้ครอบคลุมทั่วประเทศและขยายลงถึงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเพื่อบริการในชุมชน

ในตำบลจะทิ้งพระในรอบปีที่ผ่านมา พบมีหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงมีอายุน้อยและมาฝากครรภ์ล่าช้าจำนวน 4 รายเป็นผลให้เด็กทีคลอดออกมา น้ำหนักน้อย สุขภาพไม่แข็งแรงดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นซ้ำอีก จำเป็นต้องสร้างเครือข่ายทีมีความรู้ความเข้าใจเพื่อเป็นเครือข่ายในการค้นหาช่วยดูแลในกลุ่มเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ใกล้ๆบ้านในชุมชนแก้ไข ด้วยโครงการสร้างเครือข่ายติดตามค้นหาและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงปี 2560

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายทีมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการตั้งครรภ์และการดูแลครรภ์เบื้องต้น

1.มีภาคีเครือข่ายอยู่ทุกหมู่บ้านร้อยละ100 2.ภาคีเครือข่ายทีมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการตั้งครรภ์และการดูแลครรภ์เบื้องต้นมากกว่าร้อยละ80

2 เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาและลดการตั้งครรภ์ในการตั้งครรภ์ในกลุ่มเสี่ยง

การตั้งการตั้งครรภ์ในกลุ่มเสี่ยง ลดลงอย่างน้อยร้อยละ 50

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1…สำรวจกลุ่มเสี่ยง 2…ประชาสัมพันธ์ หาเครือข่ายจิตอาสา 3…จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแก่เครือข่ายและจิตอาสา โครงการสร้างเครือข่ายติดตามค้นหาและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงปี 2560 4…ให้เครือข่ายไปดำเนินค้นหา ป้องกัน ในกลุ่มเสี่ยง 5…ประเมินผลโครงการ3 เดือน 6 เดือน1 ปี

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีภาคีเครือข่ายอยู่ทุกหมู่บ้านร้อยละ100 2.ภาคีเครือข่ายทีมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการตั้งครรภ์และการดูแลครรภ์เบื้องต้นมากกว่าร้อยละ80 3.การตั้งครรภ์ในกลุ่มเสี่ยง ลดลงอย่างน้อยร้อยละ 50

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2560 14:47 น.