กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองและค้นหาภาวะเสี่ยงโรคเรื้อรัง และโรคที่เป็นปัญหาในชุมชน กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด
รหัสโครงการ 61-l5237-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชน รพ.สทิงพระ
วันที่อนุมัติ 1 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 8,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศิริลักษณ์ ช่วงมี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.469,100.437place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 320 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 320 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 320 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในแต่ละปีมีคนไทยเสียชีวิตจากโรคเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular diseases) นี้มากกว่า 54,000 รายและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ในจำนวนนี้มากกว่าร้อยละ 80 เป็นผู้สูงอายุ สาเหตุของโรคกลุมนี้เกิดจากวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพที่ไมถูกตองเหมาะสม ไดแก การรับประทานที่มากเกินพอดี ไมสมดุล รับประทานอาหารรสหวาน มัน เค็ม รับประทาน ผักผลไมนอย ใชเครื่องอํานวยความสะดวกมากขึ้น มีกิจกรรมทางกายนอยลง ไมออกกําลังกาย เครียด และพักผอนไมเพียงพอ ประกอบกับการสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล ซึ่งปจจัยเสี่ยงดานพฤติกรรมสุขภาพดังกลาวสงผลใหเกิดภาวะนํ้าหนักเกิน อวน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน และนําไปสูการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด จากการสำรวจสถานการณ์ปัญหาสุขภาวะของผู้สูงอายุโดยกรมอนามัย (พ.ศ.2556) พบว่าผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพด้วยโรคความดันโลหิตสูง 41% โรคเบาหวาน 18% และโรคซึมเศร้า 1% ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมากกว่า95% ได้รับการดูแลรักษา แต่ก็มีผู้สูงอายุมากถึง 55% ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และ43% ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิต พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ที่ผู้สูงอายุไทยปฏิบัติตัวได้น้อยที่สุดเรียงตามลำดับ ได้แก่ ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 วันวันละ 15-30 นาทีเป็นประจำ (57%) ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้วเป็นประจำ (65%) รับประทานผักและผลไม้เป็นประจำ (66%) ไม่ดื่มสุรา/เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (83%) และไม่สูบบุหรี่ (84%) ส่งผลให้ผู้สูงอายุไทยมีปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพที่สำคัญคือ ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ซึ่งพบความชุกสูงถึง 43% ในเพศชาย และ50% ในเพศหญิง โดยปัจจัยป้องกันที่สำคัญ ได้แก่ การออกกำลังกายเป็นประจำและการกินอาหารที่เหมาะสม นอกจากนั้นการสำรวจของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (พ.ศ.2556) พบว่าผู้สูงอายุยังมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหวร่างกาย (58%) ด้านการมองเห็น (19%) และด้านจิตใจ (3%)
ในตำบลจะทิ้งพระปัจจุบัน พบว่าประชาชนยังไม่ได้รับการตรวจสุขภาพครบ ทุกคนและยังมีความรู้ความเข้าใจในโรคเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular diseases) ยังน้อยอยู่ เป็นผลให้มีประชาชนมีสาเหตุการเสียชีวิตลำดับต้นอำเภอสทิงพระตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน การดำเนินมาตรการเชิงรุกการตรวจคัดกรองสุขภาพโดยค้นหาปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วยการประเมินปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยพร้อมๆ กัน กับการให้ความรู้เรื่องโรคเรื้อรัง โรคหัวใจ หลอดเลือด เพื่อให้ประชาชนมีการปรับพฤติกรรมสุขภาพใหถูกตองเหมาะสม ในเกณฑปกติ จะช่วยให้ผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยมีคุณภาพชีวิตและลดภาระสังคม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจคัดกรองสุขภาพตรวจภาวะเสี่ยงโรคหัวใจ หลอดเลือด

1กลุ่มเสี่ยง/ผู้สูงอายุในตำบล/หมู่บ้าน ได้รับการตรวจสุขภาพและตรวจคัดกรองโรคมีการส่งต่อและการรักษาในรายที่เจ็บป่วยหรือมีความเสี่ยงสูงมากกว่าร้อยละ80

2 . เพื่อส่งเสริมกลุ่มเสี่ยง/ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องโรคเรื้อรัง โรคหัวใจ หลอดเลือด

กลุ่มเสี่ยง/ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคเรื้อรัง โรคหัวใจ หลอดเลือด และมีพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ80

3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง/ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงจำเป็นต้องรักษา ได้รับการส่งต่อไปรักษาต่อเนื่อง

กลุ่มเสี่ยง/ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงจำเป็นต้องรักษา ได้รับการส่งต่อไปรักษาร้อยละ100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดทำข้อมูลกลุ่มเสี่ยง/ผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องได้รับการคัดกรอง
2.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วย 3 อ. เพื่อ ลดภาวะเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองด้วยการออกกำลังกาย การกินผักผลไม้มากขึ้น การลดและควบคุมน้ำหนักแก่ กลุ่มเสี่ยง/ ผู้สูงอายุ 3.ตรวจสุขภาพเชิงรุกกลุ่มเสี่ยง/ ผู้สูงอายุ ในชุมชน 4หมู่บ้าน 4.สรุปผลการตรวจสุขภาพเชิงรุกกลุ่มเสี่ยง/ ผู้สูงอายุ ในชุมชน 4หมู่บ้าน 5. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลจะทิ้งพระ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยง/ผู้สูงอายุในตำบล/หมู่บ้าน ได้รับการตรวจสุขภาพและตรวจคัดกรองโรคมีการส่งต่อและการรักษาในรายที่เจ็บป่วยหรือมีความเสี่ยงสูง
  2. กลุ่มเสี่ยง/ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคเรื้อรัง โรคหัวใจ หลอดเลือด และมีพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพเพิ่มขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2560 15:34 น.