กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
รหัสโครงการ 64-L3344-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.หนองธง
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสิทธิพงศ์ เรืองแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองธง อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.246301569,100.1100527place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลกรมอนามัยรายงานการคลอดในประเทศไทย พบว่าในปี 2559 มีจำนวนเด็กที่คลอดจากแม่วัยรุ่น อายุ 10-19 ปี คิดเป็นร้อยละ 15 ของการคลอดทั้งหมด สูงเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียน คิดเป็น 13 เท่าของสิงคโปร์ สืบเนื่องจากส่วนใหญ่เยาวชนไม่มีความรู้เรื่องการคุมกำเนิด ขาดทักษะชีวิต ไม่รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจของตนเอง และสาเหตุที่สำคัญที่สุดคือความเจริญของเทคโนโลยี สื่อที่ทันสมัย ที่เอื้อต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ประกอบกับระบบขัดเกลาทางสังคมระดับครอบครัวอ่อนศักยภาพลง เพราะพ่อแม่ผู้ปกครองต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประกอบอาชีพ และคาดหวังว่าระบบการขัดเกลาของสถาบันการศึกษาสามารถทำหน้าที่ทดแทนครอบครัวได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ครอบครัวยังคงมีบทบาทสำคัญที่ต้องดูแลและขัดเกลาบุตรหลานและปัญหาดังกล่าวยังเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันหาแนวทางป้องกันและแก้ไข ปัจจุบันพบว่าเด็กและเยาวชนมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย คือประมาณ 12 ปี ซึ่งเด็กในวัยนี้ยังขาดวุฒิภาวะและความรับผิดชอบของตัวเอง ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงด้านต่างๆ เช่น เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (HIV) การทำแท้ง การคลอดบุตรแล้วนำไปทิ้ง มีน้ำหนักเด็กแรกเกิดต่ำกว่า 2,500 กรัม และยังมีผลต่อการออกจากโรงเรียนกลางคัน รวมทั้งการไม่พร้อมต่อการเลี้ยงลูก กระทำความรุนแรงในครอบครัว เป็นแรงงานราคาถูก ครอบครัวแตกแยก และยังอาจจะเกิดปัญหาสังคมอื่นๆตามมาอีกมากมาย
สำหรับตำบลหนองธง พบว่าได้มีกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ประสบปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ปีพ.ศ. 2561 อัตราการเกิดมีชีพ 15.38 ต่อพันประชากร ปีพ.ศ. 2562 อัตราการเกิดมีชีพ 16.45 ต่อพันประชากร ปีพ.ศ. 2563 อัตราการเกิดมีชีพ 16.78 ต่อพันประชากร แนวโน้นการตั้งครรภ์ในกลุ่มเด็กและเยาวชนเพิ่มจำนวนมากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีของการสื่อสารที่ทันสมัยทำให้กลุ่มเด็กและเยาวชนใช้สื่อดังกล่าวในทางที่ไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้มีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาดังกล่าวมากขึ้น ประกอบกับเยาวชนส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาแค่ระดับมัธยมตอนต้นไม่ศึกษาต่อ และออกมาประกอบอาชีพ เช่น ลูกจ้าง เกษตรกรรม และทำงานในประเทศเพื่อนบ้านทำให้ขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องทั้งยังไม่สามารถยับยั้งการกระทำที่ขัดกับหลักศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะปูแนวทางหรือกำหนดชีวิตคนเราให้รู้จักผิดชอบ ชั่วดีได้ จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งการดำเนินงานแบบบูรณาการในบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันปัญหาอันอาจจะเกิดขึ้นในเด็กและเยาวชนในอนาคตดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองธง จึงร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลหนองธง ในพื้นที่ จึงจัดทำโครงการป้องการการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ประจำปี 2564 ขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้าง ค่านิยมใหม่ให้กับวัยรุ่นไทย ให้รู้จัก และเห็นคุณค่าของตัวเอง เป็นการป้องกันและแก้ไข้ปัญหาโรคที่มาจากเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นให้ลดน้อยลง และให้เยาวชนได้ซึมซับเรื่องหลักศาสนาอิสลามเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตที่ถูกต้องห่างไกลปัญหาดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กวัยเรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร 2. เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและป้องกันโรคที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่นเอช-ไอวี (HIV) ซิฟิลิส เป็นต้น ฯลฯ 3. เพื่อให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องหลักคำสอนและนำหลักคำสอนดังกล่าวไปปฏิบัติเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและป้องกันโรคที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่น เอชไอวี (HIV) ซิฟิลิส เป็นต้น ฯลฯ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
  3. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องหลักคำสอนของศาสนาและนำหลักคำสอนดังกล่าวไปปฏิบัติเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. ประชุมชี้แจงการดำเนินงานแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
  3. สำรวจกลุ่มเป้าหมาย
  4. ประชาสัมพันธ์เข้าร่วมโครงการ ตามวัน เวลา ที่กำหนด
  5. กิจกรรม ละลายพฤติกรรมเพื่อสร้างความคุ้นเคยให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม   - กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเข้าถึงสื่อเรื่องเพศ   - กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สถานการณ์ในเรื่องเพศและวิธีการปฏิเสธเรื่องเพศ
  6. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับกลุ่มเป้าหมาย
  7. สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กและเยาวชนทั่วไปมีทักษะ และภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ
    2.เด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลบ้านหนองธงห่างไกลจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และลดจำนวนการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 3.เด็กและเยาวชนในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องหลักคำสอนของศาสนาอิสลามและนำหลัก คำสอนดังกล่าวไปปฏิบัติเพื่อป้องกันการ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2564 10:33 น.