กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ
รหัสโครงการ 64-L3344-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.หนองธง
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสิทธิพงศ์ เรืองแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองธง อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.246301569,100.1100527place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายในการส่งเสริมสุขภาพ และการดูแลสุขภาพเกษตรกร เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพให้กับกลุ่มเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ซึ่ง พื้นที่ของอำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐ และเกษตรกรในพื้นที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากการรบกวนผลผลิตของแมลง ศัตรูพืช และด้วยรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นการเกษตรเพื่อการบริโภค มาเป็นการเกษตรเพื่อเศรษฐกิจ เกษตรกรต้องเพิ่มผลผลิต จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการใช้สารเคมีในการเร่งการเจริญเติบโต ซึ่งส่งผลก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค ซึ่งในปีงบประมาณ 2563 เกษตรกร/ผู้บริโภค กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจเลือดหาสารโคลีนเอสเตอเรสและมีความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อลดอันตรายจากการใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น ซึ่งผลการตรวจเลือดหาสารโคลีนเอสเตอเรส ครั้งที่1 และครั้งที่2 ตามลำดับ ดังนี้ กลุ่มปกติ ร้อยละ 0.00 และร้อยละ 11.40 กลุ่มปลอดภัย ร้อยละ 3.00 และร้อยละ 27.19 กลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 22.25 และร้อยละ 32.46 กลุ่มไม่ปลอดภัย ร้อยละ 74.75 และร้อยละ 28.95 ซึ่งจากผลการตรวจในปีงบประมาณ 2563 พบว่า เกษตรกร/ผู้บริโภค ส่วนใหญ่ยังมีพฤติกรรมการใช้/การสัมผัสสารเคมี ที่ไม่ถูกต้องจึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนั้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกัน และลดอันตราย จากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองธง อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง จึงได้นำสมุนไพรชาชงรางจืด มาเป็นตัวอย่างในการช่วยล้างสารพิษในร่างกายให้กับเกษตรกร/ผู้บริโภคกลุ่มเสี่ยง จึงได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ ปีงบประมาณ 2564 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้เกษตรกร/ผู้บริโภค กลุ่มเสี่ยง มีความรู้ ในการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และเรื่องสมุนไพร/การใช้สมุนไพรเพื่อล้างพิษ 2. เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง อันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรและในกลุ่มผู้บริโภค
  1. เกษตรกร/ผู้บริโภค กลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัย ได้รับการให้ความรู้การดูแลตนเองเพื่อลดอันตรายจากสารเคมีและการนำสมุนไพร (โดยเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.หนองธง) มาใช้ในการดูแลตนเองไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  2. เกษตรกร/ผู้บริโภค กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจเลือดหาสารโคลีนเอสเตอเรส ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. เขียนโครงการและขออนุมัติ ๒. ประสานงานกับเครือข่ายอสม. ในเขต หมู่ที่ ๑,๒,๓,๔,๕,๗,๘,๙  ตำบลหนองธง อำเภอป่าบอน
๓. สำรวจรายชื่อกลุ่มเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ๔. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆสำหรับใช้ในการดำเนินกิจกรรม ๕. ตรวจเลือดหาสารโคลีนเอสเตอเรส ในเกษตรกร/ผู้บริโภค กลุ่มเสี่ยง จำนวน ๔๐๐ คน
๖. ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัว แก่เกษตรกรและประชาชน ที่ตรวจเลือดทุกรายเพื่อลดสารพิษ
๗. อบรมให้ความรู้ในการป้องกันการลดอันตรายจากสารเคมีในเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่มีผลการตรวจเลือดไม่ปลอดภัยและมีความเสี่ยง ๘. มีการจัดหาสมุนไพรรางจืดและสาธิตการชงชารางจืด เพื่อล้างพิษหรือสมุนไพรอื่นๆ สำหรับเกษตรกรที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยจากการตรวจระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ๙. ตรวจเลือดหาสารโคลีนเอสเตอเรส ซ้ำ ในเกษตรกร/ผู้บริโภค กลุ่มเสี่ยง หลังจากเข้ารับการอบรม
๑๐. สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • เกษตรกร/ผู้บริโภค กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจเลือดหาสารโคลีนเอสเตอเรสและมีความรู้ในการดูแลตนเองและการนำสมุนไพรมาใช้เพื่อลดอันตรายจากการใช้สารเคมี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2564 10:38 น.