กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเครือข่ายเข้มแข็ง ชุมชนร่วมใจ ต้านภัยไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 64-L001-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลพิเทน
วันที่อนุมัติ 8 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 31 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 21,380.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรอิสล์ หะยีแวเด็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.679,101.467place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 94 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชนพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนักยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ตำบลพิเทน เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าในปี ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ และ ๒๕๖๓ พบอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ๑๒.๔๙ ๑๘๖.๔๗ และ ๑๓๓.๑๙ ต่อแสนประชากร ตามลำดับ การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับช่วงเวลาเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดี และนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุก โดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชน ให้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก ก่อเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยวิธีหนึ่งที่สามารถป้องกันและควบคุมการเกิดโรคได้นั่นคือ การสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และร่วมมือกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ดังกล่าวเพื่อตัดวงจรการเกิดและการระบาดของโรค ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพิเทน เล็งเห็นถึงความสำคัญของกิจกรรมดังกล่าวและต้องเร่งดำเนินการแก้ไข จึงได้จัดทำโครงการเครือข่ายเข้มแข็ง ชุมชนร่วมใจ ต้านภัยไข้เลือดออก ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

๑. ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนแก่อสม. เจ้าหน้าที่รพ.สต. อบต.
๒. ติดตามและประเมินคุณภาพการสุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลาย ๓. อบรมให้ความรู้ผู้ปฏิบัติการพ่นยุง ๔.ประเมินผลการดำเนินงานและสรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนมีความรู้และตระหนักในเรื่องโรคไข้เลือดออก
๒. ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินงานควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน ๓. การดำเนินงานควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนเป็นไปตามมาตราการที่วางไว้ ๔. ทำให้อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2564 11:55 น.