กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ สมาร์ทคิดส์ ๗ หมู่บ้าน
รหัสโครงการ 64-L001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชมุชนตำบลพิเทน
วันที่อนุมัติ 8 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 31 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 19,940.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฮาสือม๊ะ เจะเด่น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.679,101.467place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – ๕ ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต
อาหารและภาวะโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ การเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนม ทำให้เด็กไม่สามารถรับประทานอาหารได้อย่างเต็มที สูญเสียฟันน้ำนมก่อนวัยอันควร ทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหาร จึงส่งผลให้เด็กเกิดภาวะทุพโภชนาการ และมีพัฒนาการที่ล่าช้าในที่สุด
นอกจากนี้การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก โดยการป้องกันควบคุมโรคด้วยวัคซีนเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่ามากที่สุด แต่ทั้งนี้ก็ยังมีผู้ปกครองที่ปฏิเสธการรับวัคซีนของเด็ก การพาเด็กมาฉีดวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ ทำให้ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ จากการดำเนินงานตามนโยบาย เด็กปัตตานีสมาร์ทคิดส์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ทีมงานได้มีการประชาสัมพันธ์นโยบายแก่ภาคีเครือข่ายต่างๆในชุมชน โดยเฉพาะผู้ปกครองเด็ก ร่วมกับมีการทำงานเชิงรุกในการติดตามเด็กในพื้นที่เพื่อให้เข้าถึงการบริการให้ครอบคลุมทุกด้าน โดยผลการดำเนินงาน ในปีงบประมาณ ๒๕๖๓ พบว่า เด็กกลุ่มเป้าหมายสมาร์ทคิดส์ในตำบลพิเทนทั้งหมด ๑๑๐ คน ผ่านเกณฑ์สมาร์ทคิดส์ ๒๗ คน  คิดเป็นร้อยละ ๒๔.๕๔ โดยปัญหาที่ยังประสบอยู่นั่นคือ เด็กเริ่มมีฟันน้ำนมผุ จากสาเหตุการแปรงฟันไม่สะอาดและแปรงไม่สม่ำเสมอจากผู้ปกครอง โดยเด็กอายุ ๓ ปี มีฟันผุคิดเป็นร้อยละ ๕๓.๘๕ เด็กอายุ ๐-๕ ปี  ผ่านเกณฑ์  สูงดี สมส่วน คิดเป็นร้อยละ ๔๕.๒๐ มีพัฒนาการล่าช้าทั้งหมด ๑๒ ราย คิดเป็นร้อยละ ๒.๘๗ เด็กอายุ ๙ เดือน- ๓ ปี ฉีดวัคซีน ไม่ครบตามเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ ๕๖ .๐๙๐๐ จากปัญหาดังกล่าวย่อมส่งผลต่อพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันทั้งหมด
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพิเทน ได้เล็งเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาข้างต้น  เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง  มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย ได้รับวัคซีนครบและมีฟันไม่ผุ เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการสมาร์ทคิดส์ ๗หมู่บ้าน ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๒.๑ กิจกรรมเชิงรุกในหมู่บ้าน -ประชุมชี้แจงโครงการแก่คณะทำงานที่เกี่ยวข้อง - ติดตามเด็กกลุ่มเป้าหมายทั้ง ๗ หมู่ ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ Smart Kids - ตั้งจุดให้บริการด้านสุขภาพทั้ง ๔ ด้าน แก่กลุ่มเป้าหมายที่ไม่ผ่านเกณฑ์ Smart Kids โดยมีกิจกรรมดังนี้ ได้แก่ - ให้ความรู้เรื่องวัคซีนแต่ละชนิดและบริการฉีดวัคซีน ในเด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์   - ให้บริการการตรวจฟันและเคลือบฟลูออไรด์ ในเด็กที่เริ่มมีฟันน้ำนมขึ้น - ให้บริการการตรวจพัฒนาการ พร้อมให้คำแนะนำการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัย - การสอนกราฟโภชนาการแก่ผู้ปกครองเด็ก เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และสามารถนำไปปฏิบัติได้ การคัดกรองด้านโภชนาการโดยอสม. ได้แก่ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบศีรษะ และให้คำแนะนำด้านโภชนาการ พร้อมติดตามภาวะโภชนาการอย่างต่อเนื่องทุก ๓ เดือน ๒.๒ กิจกรรมในคลินิก WBC ที่ รพ.สต. -ติดตามกลุ่มเป้าหมายให้ได้รับบริการครบทั้ง ๔ ด้าน (ฉีดวัคซีน ตรวจฟันและเคลือบฟลูออไรด์ ตรวจพัฒนาการ และคัดกรองภวะโภชนาการ) ณ รพ.สต.พิเทน ให้มาตามนัด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กก่อนวัยเรียนมีพัฒนาการทางด้านร่างกายและสมองตามเกณฑ์ เจริญเติบโตสมวัย และเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการส่งต่อให้พบแพทย์ มีการติดตามอย่างต่อเนื่องโดยเจ้าหน้าที่
๒. เด็กก่อนวัยเรียนได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์และสามารถลดอัตราการเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ๓. เด็กก่อนวัยเรียนมีค่าปราศจากฟันผุเพิ่มขึ้น ทำให้ลดอัตราการสูญเสียฟันน้ำนมก่อนวัยอันควร ๔. เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการคัดกรองอย่างครอบคลุม และในรายที่เสี่ยงต่อการมีภาวะ    ทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวัง ติดตาม และแก้ไขอย่างเหมาะสม ๕. เครือข่ายมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และดำเนินกิจกรรมทุกขั้นตอน ทำให้เกิดการถอดบทเรียนและองค์ความรู้ต่อการพัฒนางาน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2564 12:01 น.