กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการเปลี่ยนขยะแลกไข่ อิ่มท้อง อิ่มใจ พัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อตำบลโคกสักอำเภอบางแก้วจังหวัดพัทลุง ปี 2560

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก


“ โครงการเปลี่ยนขยะแลกไข่ อิ่มท้อง อิ่มใจ พัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อตำบลโคกสักอำเภอบางแก้วจังหวัดพัทลุง ปี 2560 ”

ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ

ชื่อโครงการ โครงการเปลี่ยนขยะแลกไข่ อิ่มท้อง อิ่มใจ พัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อตำบลโคกสักอำเภอบางแก้วจังหวัดพัทลุง ปี 2560

ที่อยู่ ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 60-L3330-2-17 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 10 สิงหาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2560


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการเปลี่ยนขยะแลกไข่ อิ่มท้อง อิ่มใจ พัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อตำบลโคกสักอำเภอบางแก้วจังหวัดพัทลุง ปี 2560 จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการเปลี่ยนขยะแลกไข่ อิ่มท้อง อิ่มใจ พัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อตำบลโคกสักอำเภอบางแก้วจังหวัดพัทลุง ปี 2560



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการเปลี่ยนขยะแลกไข่ อิ่มท้อง อิ่มใจ พัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อตำบลโคกสักอำเภอบางแก้วจังหวัดพัทลุง ปี 2560 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 60-L3330-2-17 ระยะเวลาการดำเนินงาน 10 สิงหาคม 2560 - 30 กันยายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 65,600.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือในการแก้ไขกันอย่างเต็มความสามารถเพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนทุกระดับและนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรตลอดจนพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคของคนเราได้เปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยใช้ตะกร้าเวลาไปจ่ายตลาดใช้ปิ่นโตใส่อาหารใช้ใบบัวหรือใบตองห่ออาหารแต่ปัจจุบันมีการใช้สินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์จำพวกพลาสติก โฟมแก้ว กระดาษโลหะ อลูมิเนียมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทำให้เกิดมูลฝอยสูงขึ้นตามไปด้วยผลกระทบที่ตามมามีทั้งความสูญเสียทางด้านสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำดินเสื่อมสภาพความเสียหายจากเหตุรำคาญส่งกลิ่นเหม็นรบกวนรวมถึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์พาหนะนำโรคเสียหายต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจและสิ้นเปลืองงบประมาณของรัฐที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งประชาชนยังให้ความสนใจในการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพอนามัยไม่ดีเท่าที่ควร ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ที่มีปัญหาด้านสุขภาพอนามัยมักจะอยู่ในกลุ่มที่มีสถานะทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีพอ จึงทำให้เกิดโรคติดเชื้อทางอาหารและน้ำ เช่น โรคอุจจาระร่วง บิด อาหารเป็นพิษ ไทฟอยด์ และโรคที่เกิดจากสัตว์นำโรค เช่น โรคไข้เลือดออก เลปโตสไปโรซีส ปัญหาการเกิดโรคในชุมชนประกอบด้วยองค์ประกอบหลายด้าน เช่นสภาพแวดล้อมไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้มีแหล่งเพาะพันธุ์แมลงนำโรคและที่อยู่อาศัยสัตว์นำโรคกระจายอยู่ทั่วไปทั่วไป
ประกอบหน้าฝนถ้าชุมชนไม่มีความตระหนักและช่วยกันดูแลสภาพสิ่งแวดล้อมให้ดีจะทำให้ทั้งในบริเวณถนนภายในหมู่บ้าน ในบริเวณบ้านมีต้นหญ้าวัชพืชขึ้นรกมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดที่นำโดยแมลงตามมา เช่น โรคไข้เลือดออกโรคเลปโตสไปโรซีส ซึ่งปี 2559 ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ ได้ดำเนินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน เพื่อลดปัญหาขยะ และพัฒนาสิ่งแวดแล้ว โดยผลการดำเนินงานได้รับความสนใจชุมชนมีการกำจัดขยะได้ดีขึ้น ปัญหาแมลงนำโรคลดลง แต่ยังมีประชาชนบางส่วนที่ยังไม่ได้ร่วมดำเนินการ ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะและประชาชนบางส่วนต้องการความต่อเนื่องของโครงการเพื่อพัฒนาชมชุนให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดียิ่งขึ้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง จึงเห็นสมควรจัดทำโครงการเพื่อเตรียมความพร้อมของชุมชน ให้ชุมชนมีส่วนร่วมคิดหาแนวทาง สร้างแบบแผนการปฏิบัติร่วมกัน เพื่อรักษาสภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมป้องกันการเกิดโรคติดต่อในชุมชนและลดอัตราป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหารและโรคที่แมลงและสัตว์เป็นพาหะนำโรคต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิดขยะโดยคัดแยกออกเป็นขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไปขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย และการใช้ประโยชน์จากขยะแต่ละประเภท
  2. เพื่อรักษาสภาพอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
  3. เพื่อป้องกันโรคติดต่อที่นำโดยสัตว์และแมลงเป็นสื่อ
  4. เพื่อความสะอาดเป็นระเบียบสวยงามในชุมชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมให้ความรู้ฯ ประกอบด้วย จนท. อสม. ผู้นำชุมชนและตัวแทนประชาชน
  2. กิจกรรมรณรงค์เก็บขยะแลพัฒนาสิ่งแวดล้อม ฯ ประกอบด้วย จนท. อสม. ผู้นำชุมชนและตัวแทนประชาชน จำนวน 4 หมู่บ้าน
  3. จัดกิจกรรมขยะแลกไข่ โดยใช้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการฯคัดแยกขยะและนำขยะที่คัดแยกมาแลกไข่ไก่

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิดขยะโดยคัดแยกออกเป็นขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไปขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และการใช้ประโยชน์จากขยะแต่ละประเภท 2. สภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้านดีขึ้น 3. โรคที่เกิดจากแมลงเป็นสื่อลดลงจนไม่เป็นปัญหาหรือไม่มีเกิด 4. ชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถนำไปขยายใช้ในงานอื่น ที่มีลักษณะงานใกล้เคียงกัน


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมชี้แจงจุดประสงค์โครงการฯประกอบด้วย จนท. อสม. ผู้นำชุมชน ตัวแทนประชาชน

วันที่ 10 สิงหาคม 2560 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

 

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต (out put) กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบจุดประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการฯ ผลลัพท์ (outcome) ที่เกิดขึ้นได้รับความร่วมมือจากกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการฯ หมายเหตุ : ภาพใบเสร็จรับเงินอยู่ในไฟล์โครงการ (ส่วนที่ 3) pdf ลำดับที่ 2

 

80 81

2. อบรมให้ความรู้ฯ ประกอบด้วย จนท. อสม. ผู้นำชุมชนและตัวแทนประชาชน

วันที่ 21 สิงหาคม 2560 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

 

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต (out put)กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมการอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิดขยะโดยคัดแยกออกเป็นขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไปขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และการใช้ประโยชน์จากขยะแต่ละประเภท
ผลลัพท์ (outcome) ที่เกิดขึ้นกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิดขยะโดยคัดแยกออกเป็นขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไปขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และการใช้ประโยชน์จากขยะแต่ละประเภท ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจ ก่อนการอบรม - หลังการอบรม ดังนี้ - หมู่ที่ 1 บ้านหลังสถานี ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจ ก่อนการอบรม คิดเป็นร้อยละ60 หลังการอบรม คิดเป็นร้อยละ 100ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 40
- หมู่ที่ 5 บ้านห้วยเนียง ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจ ก่อนการอบรม คิดเป็นร้อยละ60 หลังการอบรม คิดเป็นร้อยละ 100ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 - หมู่ที่ 6 บ้านหนองบ่อผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจ ก่อนการอบรม คิดเป็นร้อยละ50 หลังการอบรม คิดเป็นร้อยละ 100ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 - หมู่ที่ 12 บ้านทวดทองผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจ ก่อนการอบรม คิดเป็นร้อยละ65 หลังการอบรม คิดเป็นร้อยละ 100ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 หมายเหตุ : ภาพใบเสร็จรับเงินอยู่ในไฟล์โครงการ (ส่วนที่ 3) pdf ลำดับที่ 3-4

 

200 215

3. กิจกรรมรณรงค์เก็บขยะแลพัฒนาสิ่งแวดล้อม ฯ ประกอบด้วย จนท. อสม. ผู้นำชุมชนและตัวแทนประชาชน จำนวน 4 หมู่บ้าน

วันที่ 28 สิงหาคม 2560 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

 

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต (out put)  ประชาชนเข้าร่วมรณรงค์เก็บขยะและพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน ผลลัพท์ (outcome) ที่เกิดขึ้น พบว่า ประชาชนร่วมรณรงค์เก็บขยะและพัฒนาสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านดังนี้ - หมู่ที่ 1 บ้านหลังสถานี รณรงค์ให้บ้านเรือนมีความสะอาดลดขยะมูลฝอย จำนวน 113
หลังคาเรือน ขยะมูลฝอยที่เก็บได้ในวันรณรงค์ จำนวน 211 กิโลกรัม - หมู่ที่ 5 บ้านห้วยเนียง รณรงค์ให้บ้านเรือนมีความสะอาดลดขยะมูลฝอย จำนวน 198         หลังคาเรือน ขยะมูลฝอยที่เก็บได้ในวันรณรงค์ จำนวน 270 กิโลกรัม - หมู่ที่ 6 บ้านหนองบ่อ  รณรงค์ให้บ้านเรือนมีความสะอาดลดขยะมูลฝอย จำนวน 221         หลังคาเรือน ขยะมูลฝอยที่เก็บได้ในวันรณรงค์ จำนวน 290 กิโลกรัม - หมู่ที่ 12 บ้านทวดทอง  รณรงค์ให้บ้านเรือนมีความสะอาดลดขยะมูลฝอย จำนวน 146หลังคาเรือน ขยะมูลฝอยที่เก็บได้ในวันรณรงค์ จำนวน 245 กิโลกรัม หมายเหตุ : ภาพใบเสร็จรับเงินอยู่ในไฟล์โครงการ (ส่วนที่ 3) pdf ลำดับที่ 5-6

 

200 215

4. จัดกิจกรรมขยะแลกไข่ โดยใช้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการฯคัดแยกขยะและนำขยะที่คัดแยกมาแลกไข่ไก่

วันที่ 31 สิงหาคม 2560 เวลา 09:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

 

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต (out put) ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการฯคัดแยกขยะและนำขยะที่คัดแยกมาแลก ไข่ไก่ ผลลัพท์ (outcome) ที่เกิดขึ้น พบว่า
1.1กิจกรรมนำขยะที่คัดแยกมาแลกไข่ไก่
- หมู่ที่ 1 บ้านหลังสถานี ขยะที่นำมาแลกจำนวน286.9กิโลกรัม แลกไข่ไก่ไปจำนวน 1,001 ฟอง
- หมู่ที่ 5 บ้านห้วยเนียงขยะที่นำมาแลกจำนวน342.1กิโลกรัม แลกไข่ไก่ไปจำนวน 1,120 ฟอง
- หมู่ที่ 6 บ้านหนองบ่อ ขยะที่นำมาแลกจำนวน296.4กิโลกรัม แลกไข่ไก่ไปจำนวน 1,035 ฟอง
- หมู่ที่ 12 บ้านทวดทอง ขยะที่นำมาแลกจำนวน291.9กิโลกรัม แลกไข่ไก่ไปจำนวน 1,003 ฟอง
2.2 นำขยะที่ได้ไปขายให้แก่ผู้รับซื้อเพื่อนำไปรีไซเคิลและทำลาย โดยเงินที่ได้จากการขายขยะของแต่ ละหมู่จะนำมาทำบัญชีและเก็บไว้แต่ละหมู่เพื่อไว้ทำประโยชน์ให้กับชุมชนต่อไป
- หมู่ที่ 1 บ้านหลังสถานี ขยะทั้งหมดจำนวน286.9กิโลกรัม ขายได้เป็นเงิน 1,138 บาท - หมู่ที่ 5 บ้านห้วยเนียงขยะทั้งหมดจำนวน342.1กิโลกรัม ขายได้เป็นเงิน 1,139 บาท - หมู่ที่ 6 บ้านหนองบ่อขยะทั้งหมดจำนวน296.4กิโลกรัม ขายได้เป็นเงิน998 บาท - หมู่ที่ 12 บ้านทวดทอง ขยะทั้งหมดจำนวน291.9กิโลกรัม ขายได้เป็นเงิน 906 บาทหมายเหตุ : ภาพใบเสร็จรับเงินอยู่ในไฟล์โครงการ (ส่วนที่ 3) pdf ลำดับที่ 7-11

 

200 200

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  • กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมการอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิดขยะโดยคัดแยกออกเป็นขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป  ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และการใช้ประโยชน์จากขยะแต่ละประเภท
  • ประชาชนเข้าร่วมรณรงค์เก็บขยะและพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน
  • ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการฯคัดแยกขยะและนำขยะที่คัดแยกมาแลก ไข่ไก่
    • หมู่ที่ 1 บ้านหลังสถานี ขยะที่นำมาแลกจำนวน  286.9  กิโลกรัม แลกไข่ไก่ไปจำนวน 1,001 ฟอง
  • หมู่ที่ 5 บ้านห้วยเนียง  ขยะที่นำมาแลกจำนวน  342.1  กิโลกรัม แลกไข่ไก่ไปจำนวน 1,120 ฟอง
  • หมู่ที่ 6 บ้านหนองบ่อ  ขยะที่นำมาแลกจำนวน  296.4  กิโลกรัม แลกไข่ไก่ไปจำนวน 1,035 ฟอง
  • หมู่ที่ 12 บ้านทวดทอง ขยะที่นำมาแลกจำนวน  291.9  กิโลกรัม แลกไข่ไก่ไปจำนวน 1,003 ฟอง

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิดขยะโดยคัดแยกออกเป็นขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไปขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย และการใช้ประโยชน์จากขยะแต่ละประเภท
ตัวชี้วัด : 1 ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ 2 ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการรู้จักดัดแปลงประโยชน์จากขยะ

 

2 เพื่อรักษาสภาพอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
ตัวชี้วัด : ประชาชนมีส่วนร่วมในการรักษาสภาพแวดล้อม ดูจากความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน

 

3 เพื่อป้องกันโรคติดต่อที่นำโดยสัตว์และแมลงเป็นสื่อ
ตัวชี้วัด : 1 หมู่บ้านสะอาดปราศจากโรค 2 อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อลดลง

 

4 เพื่อความสะอาดเป็นระเบียบสวยงามในชุมชน
ตัวชี้วัด : หมู่บ้านสะอาด และเป็นต้นแบบหมู่บ้านอื่นๆ

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 200
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิดขยะโดยคัดแยกออกเป็นขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไปขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย และการใช้ประโยชน์จากขยะแต่ละประเภท (2) เพื่อรักษาสภาพอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน (3) เพื่อป้องกันโรคติดต่อที่นำโดยสัตว์และแมลงเป็นสื่อ (4) เพื่อความสะอาดเป็นระเบียบสวยงามในชุมชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมให้ความรู้ฯ ประกอบด้วย จนท. อสม. ผู้นำชุมชนและตัวแทนประชาชน (2) กิจกรรมรณรงค์เก็บขยะแลพัฒนาสิ่งแวดล้อม ฯ ประกอบด้วย จนท. อสม. ผู้นำชุมชนและตัวแทนประชาชน จำนวน 4 หมู่บ้าน (3) จัดกิจกรรมขยะแลกไข่ โดยใช้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการฯคัดแยกขยะและนำขยะที่คัดแยกมาแลกไข่ไก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการเปลี่ยนขยะแลกไข่ อิ่มท้อง อิ่มใจ พัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อตำบลโคกสักอำเภอบางแก้วจังหวัดพัทลุง ปี 2560 จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 60-L3330-2-17

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด