กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการตัวจิ๋วรวมพลังควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2560 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตัวจิ๋วรวมพลังควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2560 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 60-L3330-1-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ
วันที่อนุมัติ 13 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 สิงหาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,880.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ
พี่เลี้ยงโครงการ นางจุฑามาศ รัตนอุบล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.39,100.145place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย เนื่องจากเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล รวมถึงความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศตลอดมา ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด แต่ยังพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนักจากรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ปี ๒๕๕๔-๒๕๕๘พบว่าอำเภอบางแก้ว มีอัตราป่วย ๑๐๑.๐๑, ๒๙๐.๔๓, ๓๖๒.๔๗, ๑๕๖.๔ และ ๔๕.๕๐ ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต สำหรับปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม – ๓0 มิถุนายน๒๕๕๙ อำเภอบางแก้ว มีผู้ป่วย 9 รายคิดเป็นอัตราป่วย 34.13ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต และสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ พบว่าปี 2559 ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม – ๓0 ธันวาคม๒๕๕๙มีผู้ป่วย 7 รายคิดเป็นอัตราป่วย 207.9ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต

จากการวิเคราะห์ข้อมูลแนวโน้มการเกิดโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ พบว่ายังคงมีการระบาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมักจะเกิดการระบาดของโรคมากตั้งแต่ช่วงต้นปีและยังพบพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดของโรคในชุมชนและสถานศึกษาในโรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ ซึ่งมีโรงเรียนมัธยมของอำเภอ และโรงเรียนปอเนาะสอนศาสนาอิสลาม ที่มีนักเรียนจากหลายพื้นที่เข้ามาเรียนและเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้ง่าย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคให้มีประสิทธิภาพจึงได้จัดทำโครงการตัวจิ๋วรวมพลังควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2560 เพื่อเป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันต่างๆ ของโรงเรียน รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไป ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และร่วมมือกันเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดการระบาดซ้ำของโรคไข้เลือดออก และเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนและชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดในชุมชนของตนเองได้

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

2 เพื่อลดอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนในเขตพื้นที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ

อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในประชากรทั้งหมดและกลุ่มเด็กวัยเรียนลดลง

3 เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายโรงเรียน /ในชุมชนและพื้นที่สาธารณะ

ค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย (ค่า CI น้อยกว่า 10%)

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. วิเคราะห์สถานการณ์ โรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ ๒. สนับสนุนเตรียมความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ และเวชภัณฑ์ เช่น ยาทากันยุงทรายกำจัดลูกน้ำ แก่โรงเรียน และให้ตัวแทนกลุ่มเป้าหมายแจกให้แก่ชุมชน
  2. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ แก่กลุ่มเป้าหมาย 1 ครั้ง/โรงเรียน เพื่อสร้างความตระหนักและให้ความร่วมมือในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก และสามารถเป็นตัวแทนถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนให้ป้องกันการเกิดโรคได้
  3. รณรงค์สำรวจลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและประเมินค่า ดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย (ค่า CI) ทุกวันศุกร์ของสัปดาห์
  4. ประเมินผลการดำเนินงาน มอบเกียรติบัตรแก่นักเรียนแกนนำของโรงเรียน
  5. สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
    1. มีความร่วมมือจากตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย ในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดในชุมชนของตนเองให้ป้องกันการเกิดโรคได้
    2. อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในประชากรทั้งหมดและกลุ่มเด็กวัยเรียนลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2560 10:11 น.