กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก และโภชนาการสมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลคลองขุด
รหัสโครงการ L5300-64-3-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลคลองขุด
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 31 พฤษภาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2564
งบประมาณ 33,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางณัฐรินีย์ จิตต์หลัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 220 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะผอม
12.72
2 ร้อยละของเด็กเล็ก (0-6ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า
2.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญหาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ และจากการจัดโครงการพัฒนาการสมวัยในรอบปีที่ผ่านมาจากการเก็บข้อมูล การประเมินพัฒนาการเด็ก โดยใช้เครื่องมือ DSPM โดยมีผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมิน พบว่าเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลคลองขุด จำนวน 220 คน มีพัฒนาการสมวัย 216 คน คิดเป็นร้อยละ 98และต้องส่งเสริมพัฒนาการตามวัย จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 2 และจากการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเด็ก จำนวน 220 คน มีเด็กที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์ จำนวน 171 คน คิดเป็นร้อยละ 77.72 น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 28 คน คิดเป็นร้อยละ 12.72 น้ำหนักเกินเกณฑ์ 21 คน คิดเป็นร้อยละ 9.54
ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลคลองขุด จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กและโภชนาการสมวัยขึ้น เพื่อส่งเสริมพัฒนาการต่อเนื่องเกี่ยวกับพัฒนาการตามวัยและส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 2-5 ปี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่่อลด เด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะผอม

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะผอม  ลดลง

12.72 10.00
2 เพื่อลดภาวะพัฒนาการล่าช้าเด็กเล็ก (0-6 ปี) ลง

ร้อยละของเด็กเล็ก (0-6 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า

2.00 1.50
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 33,850.00 2 26,115.00
1 มี.ค. 64 - 31 พ.ค. 64 กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0 18,915.00 18,915.00
1 เม.ย. 64 - 31 พ.ค. 64 จัดกิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็ก 0 14,935.00 7,200.00
  1. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินโครงการ มีนาคม
  2. จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 2.1 อบรมให้ความรู้แก่ครูและผู้ปกครองเด็กอายุ 2 – 5 ปี   - พัฒนาการตามวัยเด็ก 2-5 ปี
      - การกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 2-5 ปี
      - การประเมินและคัดกรองพัฒนาการเด็กเบื้องต้น
      - ความผิดปกติเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก 2-5 ปี 2.2 ครูพี่เลี้ยงเด็กร่วมกับผู้ปกครองเฝ้าระวังประเมินพัฒนาการเด็กทุกเดือน หากสงสัยพัฒนาการล่าช้าให้ส่งพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อคัดกรอง 2.3 ครูพี่เลี้ยงเด็กร่วมกับผู้ปกครองกระตุ้นเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าอย่างต่อเนื่อง 1 เดือน และประสานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตรวจคัดกรองซ้ำ หากยังมีพัฒนาการล่าช้าได้รับการส่งต่อไปยังหน่วยบริการที่สูงกว่า 2.4 จัดทำฐานพัฒนาการเด็กอายุ 2 - 5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
    เมษายน 2564


เมษายน-กันยายน 2564





กิจกรรม ระบุวัน/ช่วงเวลา 3. จัดกิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็ก 3.1 ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็ก ทุก ๓ เดือน
3.2 บันทึกผลน้ำหนักและส่วนสูงในสมุดทะเบียนเด็ก พร้อมแจ้งผู้ปกครองทราบ 3.3 จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นการเฉพาะ 3.4 อบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง - ความสำคัญของอาหาร อาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กอ้วน อาหารที่ควรเพิ่มสำหรับเด็กผอม และอาหารที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละวัย - วิธีการปรับพฤติกรรมและนิสัยการกินของเด็ก - ความสำคัญของการเล่นและการออกกำลัง - วิธีการกระตุ้นให้เด็กเล่นและลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง - การเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก 4. ครูผู้ดูแลเด็กร่วมกับผู้ปกครองในการแก้ปัญหาเด็กน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอม โดย 4.1 ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  - ครูผู้ดูแลเด็ก กระตุ้นให้เด็กอ้วนลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และออกไปเล่นในสนามอย่างน้อยให้ได้วันละ 60 นาทีหรือมากกว่า กระตุ้นให้เด็กกินผักผลไม้มากขึ้น (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)   - กรณีเด็กผอม ครูผู้ดูแลแนะนำให้ผู้ปกครองเด็กเพิ่มอาหารเสริมให้เด็ก 1 มื้อ เช่น นมและไข่ กระตุ้นให้เด็กเล่นตามปกติ อย่างน้อยวันละ 60 นาที (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ) 4.2 ที่บ้าน - ผู้ปกครอง กรณีเด็กอ้วน ดูแลเรื่องการกินของเด็ก ลดการกินขนมกรุบกรอบ/ขนมหวาน กินโปรตีนเนื้อสัตว์ กระตุ้นให้เล่นเพิ่มเติม กรณีเด็กผอม กระตุ้นให้เด็กกินมากขึ้น เพิ่มอาหารที่มีไขมัน/โปรตีน (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ) เมษายน 2564 6. ประชุมรายงานผลการประเมินพัฒนาการเด็กและภาวะโภชนาการให้ผู้ปกครองทราบ
7. สรุปและรายงานผล ภายใน 30 วันหลังเสร็จสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต 1. ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริมพัฒนาการและ การส่งเสริมโภชนาการในเด็ก 2 – 5 ปีร้อยละ 100 2. เด็ก 2 – 5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการพร้อมทั้งการส่งเสริมภาวะ โภชนาการด้านสุขภาพอนามัยได้ถูกต้องและเหมาะสมตามวัย ร้อยละ 100 ผลลัพธ์ ๑. เด็ก 2 - 5 ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ๒. เด็ก 2 - 5 ปี ที่พัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการ รักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2564 16:02 น.