กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการ ชุมชนร่วมใจลดภัยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปี 2560 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ชุมชนร่วมใจลดภัยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปี 2560 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 60-L3330-1-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ
วันที่อนุมัติ 13 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 สิงหาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ
พี่เลี้ยงโครงการ นางจุฑามาศ รัตนอุบล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.39,100.145place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัวนิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงเช่นการเร่งรีบกับการทำงานบริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงขาดการออกกำลังกายเครียดทำให้มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้น และยังมีโรคแทรกซ้อน ทั้งไตวายเรื้อรั้ง หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง ส่งผลต่อครอบครัวตามมา
ในปีงบประมาณ 2559 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ มีผู้ป่วยเบาหวาน 115 รายควบคุมเบาหวานได้ดี ร้อยละ 17.42 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 367 ราย ควบคุมความดันโลหิตได้ดี ร้อยละ 17.71 จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่า มีผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมโรคได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคไตวายเรื้อรังตามมา และจากข้อมูลในปีงบประมาณ 2559 มีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังถึง 59ราย ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอย่างหนึ่ง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสร้างความตระหนักในการควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และเล็งเห็นว่าการดำเนินงานแก้ไขปัญหาสุขภาพโดยชุมชนมีส่วนร่วม จะประสบความสำเร็จ ซึ่งจะทำให้เกิดความยั่งยืนของระบบสุขภาพตามมา จึงเกิดโครงการ “ชุมชนร่วมใจต้านภัยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปี 2560”

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการในการอบรม มากกว่า 50 คน/หมู่บ้าน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,000.00 3 15,000.00
31 ส.ค. 59 จัดประชุมชี้แจงให้นำชุมชนเห็นความสำคัญของการควบคุมโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง 0 1,000.00 -
10 ส.ค. 60 ประชุมคณะทำงาน จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการ 0 0.00 0.00
5 - 6 ก.ย. 60 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการควบคุมโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงแก่ผู้ป่วยและญาติ โดยผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านหนองบ่อ 0 10,200.00 10,200.00
5 - 29 ก.ย. 60 ติดป้ายรณรงค์การควบคุมโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ร่วมกับผู้นำชุมชน 0 4,800.00 4,800.00
20 - 30 ก.ย. 60 ติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร การรับประทานยา การประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 0 0.00 -
  1. จัดทำแผนงาน/โครงการ
  2. นำเสนอโครงการเพื่อขอรับการพิจารณาอนุมัติ 3.ประชุมคณะทำงาน จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการ
  3. จัดประชุมชี้แจงให้นำชุมชนเห็นความสำคัญของการควบคุมโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง
  4. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการควบคุมโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงแก่ผู้ป่วยและญาติ โดย ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านหนองบ่อ
  5. ติดป้ายรณรงค์การควบคุมโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ร่วมกับผู้นำชุมชน
  6. ติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร การรับประทานยา
  7. ประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
  8. สรุป/ประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และญาติมีความรู้ และ ทัศนคติที่เหมาะสม ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มมากขึ้น 2. ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีมากกว่า ร้อยละ 40 3. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันได้ดีมากกว่า ร้อยละ 50
4.ผู้นำชุมชน /ญาติผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงเข้าร่วมกิจกรรมอบรม/รณรงค์การควบคุมโรค มากกว่าร้อยละ 40

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2560 11:18 น.