กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยเบาหวาน
รหัสโครงการ 64-L3329-1-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนควนเสาธง
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 31 พฤษภาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมหมาย วงค์อุทัย
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในรอบ ๕ ปีที่ผ่านมา คนไทยเจ็บป่วยด้วยโรควิถีชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวและมีแนวโน้มที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวข้องทั้งปัจจัยที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ได้แก่ พันธุกรรม อายุ ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ได้แก่ การออกกำลังกาย          การรับประทานอาหาร การจัดการกับความเครียด ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติจึงละเลยไม่สนใจรักษาและดูแลตนเอง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายร้ายแรงตามมาได้ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง        ไตวายเรื้อรังฯ ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพระยะยาวต่อผู้ป่วย ครอบครัว และรัฐบาลที่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น วิธีการปฏิบัติตนเพื่อควบคุมโรคเบาหวาน คือการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและเหมาะสม รับประทานยาตามแพทย์สั่ง แม้ผู้ป่วยจะมีความรู้ในเรื่องการควบคุมโรคเบาหวาน แต่ถ้าผู้ป่วย          ไม่ตระหนักในการดูแลตนเอง เป็นเรื่องยากที่ควบคุมโรคเบาหวานได้ ดังนั้นเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุข          ต้องหาวิธีการในการเสริมพลังหรือสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ป่วยและครอบครัว จำนวนผู้ป่วยเบาหวานในเขตรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนควนเสาธงเครือข่ายโรงพยาบาลตะโหมดทั้งหมด ๑๔๔ คน จำนวนที่ควบคุมน้ำตาลสะสมในเลือดได้ จำนวน ๔๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๘.๔๗ มีภาวะแทรกซ้อนทางตาที่ต้องส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลพัทลุง จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๕๒ ไตระยะที่ ๓ จำนวน ๑๘ คน      คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๕๐ ไตระยะที่ ๔ จำนวน ๒ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑.๓๘ ระยะที่ ๕ จำนวน ๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๖๙        (ล้างไตที่บ้าน) มีภาวะแทรกซ้อนทางเท้าจำนวน ๓ คน คิดเป็นร้อยละ๒.๐๘  ในจำนวนนี้ตัดเท้า ๑ คน        จากการศึกษาข้อมูลพบว่าคนที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดสูงมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากขึ้น ดังนั้น โรงพยาบาลตะโหมด (ศูนย์สุขภาพชุมชนควนเสาธง) จึงได้จัดทำโครงการลดภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยเบาหวาน          เพื่อควบคุมและลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน 2. เพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน 3. เพื่อสร้างทักษะในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นตอนการเตรียม     1. จัดทำทะเบียนผู้ป่วยเบาหวานแยกตามภาวะแทรกซ้อนและระดับน้ำตาลสะสมในเลือด     ๒. ชี้แจงรายละเอียดแก่อาสาสมัครสาธารณสุข     3. ประสานทีมวิทยากร

ขั้นตอนการดำเนินการ - จัดอบรมทบทวนความรู้และพัฒนาทักษะในการดูแลตนเอง จำนวน 1๐0 คน แบ่งเป็น ๒ รุ่น ขั้นสรุปผล 1. จัดประชุมเพื่อสรุปโครงการกับอาสาสมัครสาธารณสุข 2. จัดทำแบบสรุปโครงการเพื่อส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลควนเสาธง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะแทรกซ้อนน้อยลง
  2. ผู้ป่วยเบาหวานมีความตระหนักในการดูแลตนเอง
  3. ผู้ป่วยเบาหวานมีทักษะในการดูแลตนเอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2564 11:03 น.