กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 64-L3329-1-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนควนเสาธง
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 31 พฤษภาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมหมาย วงค์อุทัย
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาววาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวข้องทั้งปัจจัยที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แก่ พันธุกรรม อายุส่วนปัจจัยเสี่ยงที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ได้แก่ การออกกำลังกาย        การรับประทานอาหาร การจัดการกับความเครียด ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติจึงละเลยไม่สนใจรักษาและดูแลตนเอง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายร้ายแรงตามมาได้ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง            ไตวายเรื้อรังฯ ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพระยะยาวทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัว และรัฐบาลที่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เขตรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลตะโหมด ปี ๒๕๖3 จำนวน 134 คน ผู้ป่วยที่ค่าไต ระดับ3 จำนวน 1๐ คน และระดับ 4 จำนวน 2 คน ผู้ป่วยที่มีค่าความดันโลหิตเท่ากับหรือมากกว่า ๑๔๐/๙๐ มิลลิเมตรปรอท จำนวน 79 คน  ดังนั้นเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตและลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง ศูนย์สุขภาพชุมชนควนเสาธง (เครือข่ายโรงพยาบาลตะโหมด) จึงได้จัด      ทำโครงการลดภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 2. เพื่อสร้างความตระหนักในการดุแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 3. เพื่อสร้างทักษะในการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 1. เพื่อลดาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 2. เพื่อสร้างความตระหนักในการดุแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 3. เพื่อสร้างทักษะในการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นตอนการเตรียม     1. จัดทำทะเบียนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงแยกเป็น 2 รุ่นๆละ ๕0 คน     ๒. ชี้แจงรายละเอียดแก่อาสาสมัครสาธารณสุข     3. ประสานทีมวิทยากรและเตรียมเอกสาร

ขั้นตอนการดำเนินการ - จัดอบรมทบทวนความรู้และพัฒนาทักษะในการดูแลตนเอง จำนวน 100 คน แบ่งเป็น 2 รุ่นๆละ 50 คน เวลา 1 วัน

ขั้นสรุปผล 1. สรุปโครงการร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข 2. จัดทำแบบสรุปโครงการเพื่อส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีภาวะแทรกซ้อนน้อยลง
  2. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีความตระหนักในการดูแลตนเอง
  3. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีทักษะในการดูแลตนเอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2564 11:17 น.