กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน ห่วงใย ใส่ใจ ลดผลิตภัณฑ์สุขภาพอันตราย
รหัสโครงการ 64-L5273-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุง
วันที่อนุมัติ 6 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2564
งบประมาณ 37,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุดา นิยมเดชา
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.007,100.296place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2564 31 ส.ค. 2564 37,550.00
รวมงบประมาณ 37,550.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายดำเนินการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง รวมทั้งอาหารเสริมในร้านชำ วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคในชุมชน เนื่องจากพบว่าในหมู่บ้าน ยังมีร้านค้าในชุมชนหรือรถเร่นำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ไม่มีฉลากภาษาไทยมาจำหน่ายแก่ชาวบ้าน ประกอบกับในปัจจุบันมีการโฆษณาชวนเชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริง ผู้บริโภคที่ขาดความรู้ในการบริโภค อาจตกเป็นเหยื่อหรือเกิดอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานจากการหลงเชื่อโฆษณาดังกล่าว ดังนั้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลฉลุงจึงมีแผนที่จะให้มีโครงการคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน ตำบลฉลุง วัตถุประสงค์เพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน การโฆษณาชวนเชื่อ การเฝ้าระวังร้านชำขายยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อเฝาระวังความปลอดภัยของชาวบ้านในชุมชน เพื่อให้ชุมชนปลอดภัยจากบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อ 1.เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพของภาคีเครือข่ายในด้านการดำเนินง่านคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องไม่หลงเชื่อโฆษณาที่มีลักษณะโอ้อวดเกินจริง

0.00
2 ข้อ 2.เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวังและตรวจสอบร้านค้าและร้านจำหน่ายอาหารภายในเขตพื้นที่เป้าหมาย (ศูนย์แจ้งเตือนภัยในชุมชน/โรงเรียน)

เกิดภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน

0.00
3 ข้อ 3.เพื่อลดผลิตภัณฑ์สุขภาพอันตรายในชุมชน

ชุมชนลดการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอันตราย 50%

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 37,550.00 0 0.00
1 - 31 พ.ค. 64 1.จัดอบรมให้ความรู้ 50 16,800.00 -
1 พ.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 2.กิจกรรมการปฏิบัติตรวจสารปนเปื้อน 0 20,750.00 -
1 - 31 พ.ค. 64 3.จัดตั้งศูนย์แจ้งเตือนภัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพอันตรายในชุมชน 1 ชุมชน ฯ 0 0.00 -

กลวิธีที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แกนนำส่งเสริมสุขภาพ เรื่องอาหารปลอดภัย ขั้นเตรียมการ 1.ประสานงานกับบคุลากรที่เกี่ยวข้อง คือ คณะอาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหาร วิทยากรจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอหาดใหญ่ 2.จัดตั้งทีมเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหารประจำหมู่บ้าน ขั้นดำเนินการ 1.ทดสอบความรู้ก่อนการอบรม โดยใช้แบบสอบถาม 2.บรรยายให้ความรู้โดยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอหาดใหญ่ บรรยายเรื่องการตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร และเรื่องการตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ การใช้หน้าต่างเตือนภัยการใช้หน้าต่างเตือนภัย สุขภาพของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ฝึกการใช้หน้าต่างเตือนภัยในชุมชน 3.ฝึกปฏิบัติตรวจสารปนเปื้อนในอาหารและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีการสาธิตการตรวจสารปนเปื้อน 5 ชนิด และการตรวจผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์และยาโดยใช้ชุดทดสอบ ฝึกปฏิบัติการใช้ชุดทดสอบในการตรวจสารปนเปื้อน 5 ชนิด และการตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสำอางและยา 4.ทดสอบความรู้หลังอบรม โดยใช้แบบสอบถาม 5.สรุปผลการอบรม กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย จำหน่ายอาหาร ขั้นเตรียมการ 1.ประสานงานกับบคุลากรที่เกี่ยวข้อง คือ คณะอาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหาร วิทยากรจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอหาดใหญ่
ขั้นดำเนินการ 1.ทดสอบความรู้ก่อนการอบรม โดยใช้แบบสอบถาม 2.บรรยายให้ความรู้โดยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอหาดใหญ่ บรรยายเรื่องสุขาภิบาลอาหาร
3.ฝึกปฏิบัติตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ 4.ทดสอบความรู้หลังอบรม โดยใช้แบบสอบถาม 5.สรุปผลการอบรม กลวิธีที่ 2 กิจกรรมเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหาร ตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในชุมชน กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตรวจเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหาร ขั้นเตรียมการ 1.จัดทำแผนการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารร่วมกับแกนนำส่งเสริมสุขภาพ 2.เตรียมชุดตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร ขั้นดำเนินการ
1.แกนนำส่งเสริมสุขภาพเก็บตัวอย่างอาหารในชุมชน ตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร ทุก ๆ 3 เดือน 2.แจ้งผลการตรวจให้กับผู้ประกอบการทราบ 3.สรุปผลการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประเมินติดตามการเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหารตามเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร ขั้นเตรียมการ 1.จัดทำแผนการออกตรวจร้านอาหารร่วมกับแกนนำส่งเสริมสุขภาพ 2.เตรียมวัสดุอุปกรณ์และชุดตรวจ SI2 ขั้นดำเนินการ 1.ออกตรวจร้านอาหาร 2.แจ้งผลการตรวจให้กับผู้ประกอบการทราบกรณีที่ไม่ผ่านเกณฑ์ให้คำแนะนำและตรวจประเมินซ้ำ 3.สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีการดำเนินงานศูนย์แจ้งเตือนภัยสุขภาพ Single Window ในพื้นที่ตำบลฉลุงอย่างต่อเนื่อง 2.แกนนำและประชาชนผู้บริโภคมีความรู้เรื่องสารปนเปื้อนในอาหาร 3.ประชาชนผู้บริโภคมีภูมิคุ้มกัน รู้เท่ารู้ทัน ไม่เป็นเหยื่อ ถูกหลอกลวง 4.เกิดภาคีเครือข่ายชุมชนในหมู่บ้าน และโรงเรียนสามารถดำเนินการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2564 13:47 น.