กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดความหวานในอาหาร เพิ่มความหวานในรอยยิ้ม ปี 2564
รหัสโครงการ L2498-64-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลยี่งอ
วันที่อนุมัติ 28 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 มีนาคม 2564 - 13 พฤษภาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ยี่งอ โดย (นายนิตารมีซี แวดาโอะ)
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.382,101.703place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6985 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ตลอดจนส่งผลให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่าง เช่น โรคหัวใจวาย อัมพาต ไตวาย พิการ จนกระทั่งเสียชีวิตได้ ถึงแม้ว่าโรคทั้ง สองจะเป็นโรคที่สามารถควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดโรคและควบคุมไม่ให้เกิดอาการที่รุนแรงได้ แต่แนวโน้มของผู้ป่วยด้วยโรคทั้งสองกลับเพิ่มมากขึ้นทุกปี ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ครอบครัว และทรัพยากรบุคคลก่อนถึงเวลาอันสมควร ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาสําคัญทางด้านสาธารณสุข ด้วยปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขจึงได้บรรจุโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน เป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่สถานบริการต้องดําเนินงานตรวจคัดกรองค้นหาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ในชุมชน ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการควบคุมและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนตลอดจนให้ความรู้ให้คําปรึกษา เพื่อให้ ผู้ป่วยสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสมส่งผลให้ลดอัตราป่วยภาวะแทรกซ้อนและเสียชีวิตลงได้ และด้วยที่อําเภอยี่งอ เป็นแหล่งผลิตอาหารหวานที่ขึ้นชื่อในจังหวัดนราธิวาส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือน เทศกาลถือศีลอดของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม จะมีการผลิตและจําหน่ายอาหารคาว หวาน หลากหลายชนิด จึงจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการรณรงค์ในประชาชนทั่วไปของยี่งอด้วย จากสถานการณ์ปัญหาของโรคในพื้นที่ซึ่งมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี และตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข ข้างต้น ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตําบลยี่งอ ได้เล็งเห็นความสําคัญ จึงจัดทําโครงการลดความหวานในอาหาร เพิ่มความหวานในรอยยิ้ม อําเภอยี่งอ ปี 2564 ขึ้น เพื่อให้ความรู้และรณรงค์แก่ผู้ป่วยเบาหวาน โรคความ ดันโลหิตสูง ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย และประชาชนทั่วไปให้สามารถที่จะเลือกบริโภคอาหารอย่าง ถูกต้องเหมาะสม และเป็นการป้องกันการเพิ่มผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เช่น โรคเบาหวาน

 

0.00
2 เพื่อสร้างความตระหนักถึงภัยจากโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารแก่ประชาชนและ ผู้ประกอบการจําหน่ายอาหาร

 

0.00
3 เพื่อให้ร้านอาหารมีมาตรฐานตามหลักสุขาภิบาล

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 30 20,950.00 0 0.00
18 มี.ค. 64 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่องการปรุงอาหารให้ถูกหลักโภชนาการและหลักสุขาภิบาล 30 7,750.00 -
31 มี.ค. 64 - 5 เม.ย. 64 ออกตรวจร้านอาหารเพื่อให้คําแนะนําเพิ่มเติมนำไปสู่การปรับปรุงให้ถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร 0 3,000.00 -
12 เม.ย. 64 - 13 พ.ค. 64 รณรงค์และความรู้การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพผ่านสื่อระบบกระจายเสียงของอบต.ยี่งอ จํานวน 4 ครั้งในเดือนรอมฎอน (เดือนถือศีลอดในศาสนาอิสลาม) และผ่านป้ายไวนิลติดในหมู่บ้าน 0 10,200.00 -

5.1 ประชุมหารือกับผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้อง
5.2 เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
5.3 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่องการปรุงอาหารให้ถูกหลักโภชนาการและหลักสุขาภิบาล 5.4 รณรงค์และความรู้การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพผ่านสื่อระบบกระจายเสียงของอบต.ยี่งอ จํานวน 4 ครั้งในเดือนรอมฎอน (เดือนถือศีลอดในศาสนาอิสลาม) และผ่านป้ายไวนิลติดในหมู่บ้านฃ 5.5 ออกตรวจร้านอาหารเพื่อให้คําแนะนําเพิ่มเติมนำไปสู่การปรับปรุงให้ถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร 5.6 สรุปและรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

10.1 ผู้ประกอบการร้านอาหาร และแผงลอยมีความรู้เรื่องโภชนาการเพื่อป้องกันโรคเพิ่มขึ้น 10.2 อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหารลดลง 10.3 ร้านอาหารมีมาตรฐานตามหลักสุขาภิบาล

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2564 10:52 น.